Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59921
Title: การพัฒนาแบบฝึกระบบพลังงานของมวยสากลสมัครเล่นชายภายใต้กติกาใหม่
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF ENERGY SYSTEM TRAINING PROTOCOL FOR MALE AMATEUR BOXING UNDER NEW OFFICIAL RULES
Authors: อมรเทพ วันดี
Advisors: เบญจพล เบญจพลากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Benjapol.B@Chula.ac.th,benjapol1978@gmail.com
Subjects: มวยสากล
สมรรถภาพทางกาย
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Boxing
Physical fitness
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษารูปแบบการชกและความต้องการทางพลังงานขั้นต่ำของการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นชายภายใต้กติกาใหม่ และพัฒนารูปแบบการฝึกที่มีความสอดคล้องกับรูปแบบการชก และตอบสนองความต้องการของระบบพลังงานขั้นต่ำที่ใช้ในการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นภายใต้กติกาใหม่ โดยงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 การศึกษา ในการศึกษาที่ 1 ทำการวิเคราะห์รูปแบบการชกจากเทปบันทึกภาพการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นกีฬาโอลิมปิกปี 2012 ในรุ่นไลท์ ฟลาย เวท (Light Flyweight) รุ่นฟลายเวท (Flyweight) และรุ่นแบมตัมเวท (Bantamweight) และนำข้อมูลค่าเฉลี่ยของแต่ละองค์ประกอบของการชกที่ได้จากการวิเคราะห์ผ่านโปรแกรมวิเคราะห์ Focus X2 มาจัดลำดับขั้นตอนของการชกในแต่ละยก เพื่อสร้างรูปแบบการฝึกที่มีความสอดคล้องกับรูปแบบการชก โดยในการศึกษาที่ 2 นักกีฬามวยสากลสมัครเล่นของไทย เพศชาย จำนวน 19 คน ประกอบด้วย รุ่นแบมตัมเวท (Bantamweight) จำนวน 7 คน และ (Light Flyweight) น้ำหนักจำนวน 4 คน และ รุ่นฟลายเวท (Flyweight) จำนวน 8 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนได้รับการทดสอบก่อนการฝึกด้วยวิธีการทดสอบแบบเพิ่มความหนัก (incremental exercise test) และจำลองการชกล่อเป้าพร้อมกับการวิเคราะห์แก๊สเพื่อหาตัวแปรทางด้านพลังงานและการแลกเปลี่ยนแก๊ส จากนั้นได้รับการฝึกซ้อมตามรูปแบบที่วิเคราะห์ได้จากการศึกษาที่ 1 เป็นเวลา 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ แต่ละวันประกอบด้วยการฝึกซ้อมชกจำนวน 9 ยก ยกละ 3 นาที ทำซ้ำพักระหว่างยก1 นาที จากนั้นทดสอบหลังการฝึกด้วยวิธีเดียวกับการทดสอบก่อนการฝึก ผลการศึกษาพบว่า: 1. การศึกษาที่ 1 1.1 หมัดเดี่ยวจะถูกใช้มากกว่าหมัดชุด ในแต่ละยกของการแข่งขัน เนื่องจาก การชกหมัดเดี่ยวจะเป็นการชกเพื่อสร้างโอกาสในการโจมตีหมัดต่อไป ในระหว่างการโจมตี และเป็นหมัดที่มีพลังหรือความรุนแรงที่มากที่สุด ที่ทำให้คู่ต่อสู้เสียจังหวะหรือบาดเจ็บจากหมัดเดี่ยวได้ และอีกทั้งยังเป็นหมัดที่สามารถทำคะแนนเมื่อคู่ต่อสู้เปิดโอกาส 1.2 ระยะเวลาของแต่ละกิจกรรมนั้นจะขึ้นกับกรรมการผู้ตัดสินในเวทีของการแข่งขันโดยพบว่า ในแต่ละยกจะมีจำนวนครั้งที่กรรมการสั่งหยุดระหว่างการชกแปรผันตามจำนวนยกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ระยะเวลาที่เริ่มชกจนถึงการหยุดชกครั้งแรก และระยะเวลาที่เริ่มชกจนถึงการหยุดชกในระหว่างยก ลดลงตามลำดับยกที่เพิ่มมากขึ้น ข้อสรุปสำหรับการศึกษาที่ 1 รูปแบบการชกที่วิเคราะห์ได้ในการศึกษาวิจัยที่ 1 ในทั้ง 3 รุ่นน้ำหนัก มีค่าเฉลี่ยที่เกิดขึ้นในกิจกรรม (Activity) ต่าง ๆ ในระหว่างการชกมีทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกันจึงส่งผลให้รูปแบบของการชกมีความเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละรุ่นน้ำหนัก 2. การศึกษาที่ 2 2.1 ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนใน 3 รุ่นน้ำหนักมีสมรรถภาพการใช้ออกซิเจน (VO2) สมรรถภาพการขับคาร์บอนไดออกไซด์ (VCO2) ปริมาณอากาศที่หายใจออก (VE) ค่าปริมาณพลังงานในระบบพลังงานทางแอโรบิก (EE) ค่าปริมาณพลังงานในระบบพลังงานทางแอโรบิก (EE) (METs) และตัวชี้วัดระบบพลังงานทางแอนแอโรบิก-ไกลโคไลซิส (CO2 excess) เพิ่มขึ้นในทั้ง 3 ยกหลังจากได้รับการฝึกเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์จาการชกล่อเป้าพร้อมกับการวิเคราะห์แก๊สในก่อนการฝึก 2.2 ในขณะที่นักมวยสากลสมัครเล่นจาก 2 รุ่นที่แสดงถึงพัฒนาการที่ดี แต่จะมีเพียงรุ่นไลท์ ฟลายเวท (Light flyweight) ไม่มีความแตกต่างกันทางตัวแปรทางด้านพลังงานและการแลกเปลี่ยนแก๊สของฝึก เมื่อเปรียบเทียบจากการทดสอบในก่อนการฝึกกับหลังการฝึก ข้อสรุปสำหรับการศึกษาที่ 2 ผลจากการฝึกจากรูปแบบการชกที่วิเคราะห์ได้จากการศึกษาที่ 1 สามารถพัฒนาสมรรถภาพการแลกเปลี่ยนแก๊ส และการใช้พลังงานได้ทั้ง 3 ยก ใน 2 รุ่นน้ำหนักคือรุ่นแบนตัมเวท (Bantamweight) และรุ่นฟลายเวท (Flyweight)
Other Abstract: The main objectives of the present dissertation are a) to study fighting patterns and analyze minimum requirement of energy demand for amateur boxers competing under new official rules, and b) to develop sport specific training programs that can provide sufficient energy capacity required for the fight. The study was divided into 2 parts. First, video footage of bantam weight, flyweight, and light flyweight competitions in Olympic Boxing 2012 were observed via Focus x2 program to create average fighting patterns by sequencing boxers’ activity in each round of fight. Second, 19 amateur male boxers (7 bantamweight, 8 flyweights, and 4 light flyweight) from Buriram Rajabhat University were recruited. All participants were tested for energy-related variables and gas exchanges during exercise using incremental exercise test and simulated sparing. After that, participants were trained following the fighting patterns acquired from the first study 3 sessions per week for 8 consecutive weeks. Each session comprised of 9 boxing rounds, 3 minutes per round with one minute resting interval in between. The results showed that, 1. Study 1 1.1 Single punch was used more often than any combinations of punch. This might because boxers generally use single punch to create opportunity for the next attacks as single punch is one powerful attack that can not only make the opponent loosen rhythm or even injured, but also generate score by itself. 1.2 Duration of each major activity in the fight depended greatly on the judge as the stoppage by the judge was tentatively less often with increasing number of rounds. This caused decrease in the duration of each crash of two boxers. Study 1’s conclusion: style of boxing that was analyzed from the study 1 in three weight classes had the same and different means on activity profiles during the fight; therefore, the styles of boxing required a specification on each weight class. 2. Study 2 2.1 Participants of all three weight classes had greater oxygen consumption (VO2), carbon dioxide output (VCO2), minute ventilation (VE), energy expenditure (EE) (METs) and excess CO2 production (CO2 excess) in all 3 rounds after 8 weeks of training, comparing with those in pre-simulated sparing test. 2.2 While boxers from the other two showed improvements, only participants from light flyweight class had indifferent energy-related variables and gas exchanges during exercise when comparing between pre-and-post treatment. Study 2’s conclusion: results from training protocol that analyzed from the study 1 could improve gas exchange performance and energy expenditure in all three rounds for bantamweight and flyweight.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59921
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1249
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1249
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578613539.pdf7.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.