Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5996
Title: ภาวะซึมเศร้าในระยะหลังคลอดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของมารดาที่บุตรเข้ารับการรักษาในตึกทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Depression in postpartum period and related factors among mothers of infants in neonatal intensive care unit, King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: อัญชลี ขันทุลา
Advisors: สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความซึมเศร้าในสตรี -- ไทย
ความซึมเศร้าหลังคลอด -- ไทย
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาแบบไปข้างหน้า เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในมารดาหลังคลอดบุตรเข้ารับการรักษาในตึกทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 2 ช่วงเวลา คือ ระยะ 2-7 วัน และระยะ 4-6 สัปดาห์หลังคลอด จากกลุ่มตัวอย่าง 114 คน อายุเฉลี่ย 28.8 ปี ที่บุตรเข้ารับการรักษาในตึกทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ช่วงเดือนตุลาคม 2547 ถึง มีนาคม 2548 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยด้านการตั้งครรภ์และการคลอดแบบวัดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด EPDS (Edinburgh Postnatal Depression Scale) ฉบับภาษาไทย แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต และแบบวัดสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และนำเสนอโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน คือ ไค-สแควร์ t-test และสถิติเชิงพหุสัมพันธ์ คือ การวิเคราะห์ถดถอยแบบโลจิสติค ผลการศึกษาพบว่าความชุกของภาวะซึมเศร้าที่ระยะ 2-7 วันหลังคลอดร้อยละ 51.8 พบ 3 อาการเด่นได้แก่ วิตกกังวล, นอนหลับยาก, ไม่มีความสุขจนร้องไห้ และความชุกของภาวะซึมเศร้าที่ระยะ 4-6 สัปดาห์หลังคลอดร้อยละ 34 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าที่ระยะ 2-7 วันหลังคลอดได้แก่ ไม่ได้ประกอบอาชีพ รายได้ส่วนบุคคลน้อย ไม่มีความพร้อมในการมีบุตร เหตุการณ์ความเครียดในชีวิตสูง สัมพันธ์ภาพระหว่างคู่สมรสน้อยความวิตกกังวลของมารดาที่บุตรเข้ารับการรักษาในตึกทารกแรกเกิดวิกฤตสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าที่ระยะ 4-6 สัปดาห์หลังคลอดได้แก่ ประวัติการมีโรคประจำตัว เพศของบุตรไม่ตรงตามความต้องการ การสนับสนุนทางสังคมน้อย ปัจจัยเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าที่ระยะ 2-7 วันหลังคลอดได้แก่ ความวิตกกังวลของมารดาที่บุตรเข้ารับการรักษาในตึกทารกแรกเกิดวิกฤต (odd ratio = 10.67, 95% CI = 2.951-38.552) ปัจจัยเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าที่ระยะ 4-6 สัปดาห์หลังคลอดได้แก่ ภาวะซึมเศร้าของมารดาที่ระยะ 2-7 วันหลังคลอด (odd ratio = 7.18, 95% CI = 2.623-9.677) และประวัติการมีโรคประจำตัว (odd ratio = 11.05, 95% CI = 1.882-64.891)
Other Abstract: The purpose of this prospective descriptive study was to determine prevalence of depression in postpartum period and relate factors among mothers of infants in Neonatal Intensive Care Unit. The participants were 114 women whose children were admitted in postnatal ward at King Chulalongkorn Memorial Hospital, with mean age of 28.8 years old. Data were collected by using self report questionnaire to assess for demographic information, Pregnancy delivery history questionnaire, Edinburgh Postnatal Depression Scale Thai version. Social support questionnaire, Life stress event questionnaire, Marital adjustments questionnaire, Anxiety of mother questionnaire. The statistical analysis was performed and presented as percentage, mean, standard deviation, chi-square, t-test, logistic regression analysis. The results revealed that 51.8% and 34% of subjects were depression at 2 to 7 days and 4 to 6 weeks in postpartum period, respectively. Three leading depressive symptoms are anxiety, insomnia, feeling unhappy. Factorsignificantly related to depression at 2 to 7 days postpartum period were unemployment, poor incomes, maternal insatiability, life stress event, poor marital adjustments, anxiety of mother. Factor significantly related to depression at 4 to 6 weeks postpartum period were having history of medical illness, unflavored gender of infant, poor social support. Predicted factor of depression at 2 to 7 days postpartum period was anxiety of mother (odd ratio = 10.67, 95% CI = 2.951 - 38.552). Predicted factors of depression at 4 to 6 weeks postpartum period were maternal depression at 2 to 7 days postpartum period (odd ratio = 7.18, 95% CI = 2.623 - 9.677) and history of medical illness (odd ratio = 11.05, 95% CI = 1.882 - 64.891)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5996
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1413
ISBN: 9741762313
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1413
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aunchalee_Ku.pdf5.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.