Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60047
Title: พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 : ศึกษาความรับผิดของผู้ประกอบการในสินค้าประเภทวัคซีน
Other Titles: Product Liability Act B.E. 2551 : A Case Study on Liability concerning Vaccine of Entrepreneur
Authors: สศิพร ปริยพงศ์พันธุ์
Advisors: ศักดา ธนิตกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sakda.T@Chula.ac.th,t.sak.da@hotmail.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ได้มีการนำหลักความรับผิดโดยเคร่งครัด (strict liability) มาใช้บังคับกับสังหาริมทรัพย์ทุกชนิดที่ผลิตหรือนำเข้าเพื่อขาย ยกเว้นสินค้าตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทำให้ผู้เสียหายไม่ต้องพิสูจน์ความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามการกำหนดให้สินค้าทุกประเภทต้องรับผิดโดยเคร่งครัดตามกฎหมายดังกล่าวก็อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาว่าสินค้าประเภทวัคซีนเหมาะสมที่จะอยู่ภายใต้หลักความรับผิดโดยเคร่งครัด ตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 หรือไม่ เนื่องจากสินค้าประเภทวัคซีนเป็นสินค้าที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ไม่สามารถทำให้ปลอดภัยได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นสินค้าประเภทวัคซีนจึงเป็นสินค้าที่ควรนำมาวิเคราะห์แนวทางการบังคับใช้ เพื่อพิจารณาถึงแนวทางที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของสินค้าประเภทวัคซีนที่ไม่สามารถทำให้ปลอดภัยได้อย่างสมบูรณ์นี้ โดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น เพื่อศึกษาถึงเหตุผลและความจำเป็น สำหรับการกำหนด หรือไม่กำหนดให้สินค้าประเภทวัคซีนอยู่ภายใต้หลักความรับผิดโดยเคร่งครัดในประเทศนั้นๆ จากการศึกษาผู้เขียนเสนอแนะว่าควรมีการออกกฎกระทรวงกำหนดให้สินค้าประเภทวัคซีนเป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรม
Other Abstract: Product liability Act B.E.2551 has applied strict liability to all movables produced or imported for sale except for products prescribed in the Ministerial Regulations, so the damaged party is not required to prove intention or negligence of the entrepreneur. However, enforcing strict liability by such law on all types of product may cause unfairness to entrepreneurs. Therefore, this thesis focuses on determine whether the vaccine product is appropriate to be subject to strict liability principle under Product liability Act B.E.2551 or not because vaccine is unavoidably unsafe product. Therefore, the vaccine should be analyzed in order to consider the appropriate approach and consistent with the unavoidably unsafe characteristics of vaccine, by studying and comparing The Product Liability Law of other countries, i.e. the United States of America and Japan to find the underlying reasons and necessities to define or to not define vaccines under strict liability principle of such country. As a result, the author suggests that Ministerial Regulations should be issued to exclude vaccine from the Product Liability Act B.E. 2551 for appropriate and fairness purpose.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60047
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.971
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.971
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5786031734.pdf5.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.