Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60159
Title: ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมของผู้ใช้บริการกับร้านค้าภายในคอมมูนิตี้มอลล์ กรณีศึกษา อเวนิว รัชโยธิน และ นวมินทร์ซิตี้ อเวนิว
Other Titles: Relationship between customer behavior and tenant in community mall: case Avenue Ratchayothin and Nawamin City Avenue
Authors: จุฑามาศ ศศิขัณฑ์
Advisors: ยุวดี ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Yuwadee.S@Chula.ac.th,zooaey@gmail.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ ปัจจัยการเข้าใช้บริการคอมมูนิตี้มอลล์ และความสัมพันธ์ระหว่างการใชบริการกับร้านค้าในคอมมูนิตี้มอลล์ โดยทำการศึกษาคอมมูนิตี้มอลล์ที่มีบริบทโดยรอบต่างกันใน 2 กรณี คือพื้นที่ชุมชนโดยรอบที่เป็นที่พักอาศัยเป็นส่วนใหญ่ อันได้แก่ นวมินทร์ ซิตี้ อเวนิว และชุมชนโดยรอบที่มีทั้งแหล่งงาน สถานศึกษาและที่พักอาศัย อันได้แก่ อเวนิว รัชโยธิน เพื่อหาความเหมือนและแตกต่างของ 2 กรณี โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยการสำรวจพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลร้านค้า และใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด ด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) โดยเลือกเก็บแบบสอบถามกระจายตั้งแต่วันจันทร์ถึงอาทิตย์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มคนที่เข้าใช้บริการคอมมูนิตี้มอลล์ทั้ง 2 แห่ง เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่ มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 59 มีระดับรายได้อยู่ในช่วง 10,001-35,000 บาท เป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และพนักงานประจำ เหตุผลในการเข้าใช้บริการคอมมูนิตี้มอลล์ที่ให้ความสำคัญมากที่สุด คือคอมมูนิตี้มอลล์อยู่ใกล้ที่พักอาศัย มีร้านค้าที่ตรงความต้องการ และมีที่จอดรถ ลักษณะการใช้บริการมีทั้งมาคนเดียว มากับเพื่อน คนรัก หรือครอบครัว พฤติกรรมการใช้บริการส่วนใหญ่สอดคล้องกับลักษณะร้านค้าและเหตุผลการเข้าใช้บริการ เช่น กลุ่มตัวอย่างผู้เข้าใช้บริการ อเวนิว รัชโยธิน ส่วนใหญ่มักมาใช้บริการคนเดียว ต่างจาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการนวมินทร์ซิตี้ อเวนิว ส่วนใหญ่มากับกลุ่มเพื่อนและครอบครัว สัมพันธ์กับเหตุผลความต้องการที่จอดรถและประเภทร้านค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เป็นต้น จากข้อมูลดังกล่าวทำให้สรุปได้ว่าร้านค้าในคอมมูนิตี้มอลล์สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เน้นความสะดวกในการเดินทางและใช้จ่าย เพราะสถานที่ให้บริการอยู่ไม่ไกลจากที่พักอาศัย หรืออาคารสำนักงาน หรือสถานศึกษา ใช้เวลาเดินทางไม่นาน มีร้านค้าที่ให้บริการตรงวัตถุประสงค์ มีที่จอดรถ แต่กลุ่มคนที่เข้าใช้บริการอาจมีความแตกต่างกันตามบริบทแวดล้อมของแต่ละสถานที่
Other Abstract: This research aims to study a consumer behavior, the reasons of using services and tenants, and relationship with tenants of community mall in 2 different areas. One is surrounded by residentials, which is Nawamin City Avenue. And another one is surrounded by mixed of land used, which is Avenue Ratchayothin. By surveying shop and tenant, questioners of accidental sampling 400 people, divided to 200 each. The sample are customers who ages over than 18-years old, Monday to Sunday. The study indicated that most of the customers are female students and white collars, ages 18-25 years old with income 10,001-35,000 baht per month. Most of people are use service and shops in community mall with 3 main reasons. 1) Location of a community mall is near by their property. 2) There are shops that needed. 3) Sufficiently car park. a consumer behavior is related to store types and using factor for example; The majority of the users of the Avenue Ratchayothin are alone. On the other hand people who use the services of Nawamin City Avenue, mostly with friends and family. Relative to the demand for parking and store types. It can be concluded that the shops and tenant in the community mall are related to consumer behavior which focus on convenient escalated in the way of spending travelling and lifestyle. But the people who use the service may vary by context of each location.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60159
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.705
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.705
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5973304025.pdf10.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.