Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60184
Title: แนวทางการออกแบบการส่องสว่างสำหรับศาลเจ้าจีนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: LIGHTING DESIGN APPROACHES FOR CHINESE SHRINE IN BANGKOK
Authors: สิริณัฏฐ์ พงศ์บางลี่
Advisors: วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vorapat.I@Chula.ac.th,vorapat.i@chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการสำรวจการออกแบบการส่องสว่างสำหรับศาลเจ้าจีนในปัจจุบัน พบปัญหาที่เกี่ยวกับระบบแสงสว่างหลายประการ อาทิ ปริมาณแสงที่ไม่เพียงพอและไม่สอดคล้องต่อกิจกรรมที่เกิดขึ้น ลักษณะการติดตั้งดวงโคม ไม่มีสิ่งปกปิดแหล่งกำเนิดแสงหรือควบคุมทิศทาง ทำให้เกิดแสงบาดตา และไม่ส่งเสริมการรับรู้ภาพลักษณ์ของศาลเจ้า ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการกระจายแสงและระดับความซับซ้อนของการให้แสงสว่างที่ส่งผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของศาลเจ้า โดยเก็บข้อมูลด้านการรับรู้ จากผู้ร่วมวิจัยจำนวน 120 คน ประเมินระดับการรับรู้ทางอารมณ์จากภาพจำลองคอมพิวเตอร์สามมิติของศาลเจ้า จำนวน 9 ภาพ จากการวิเคราะห์พบว่า ระดับความซับซ้อนของการให้แสงที่ซับซ้อนมาก (L3) มีค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาพลักษณ์ของศาลเจ้าจีนสูงที่สุดในด้านความสวยงาม ความสงบ ความน่าดึงดูด และการส่งเสริมเอกลักษณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) รูปแบบการกระจายแสงแบบลำดับแสงขึ้น (AS) หรือจากแสงน้อยไปหาแสงมาก มีค่าเฉลี่ยการรับรู้สูงสุดในด้านความสงบ ความน่าดึงดูด และการส่งเสริมเอกลักษณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการกระจายแสงและระดับความซับซ้อน พบว่า ภาพของศาลเจ้าที่มีการกระจายแสงแบบลำดับแสงเท่ากัน (CO) และมีระดับความซับซ้อนของการให้แสงที่ซับซ้อนน้อยและมาก (L2, L3) ได้รับระดับค่าเฉลี่ยในด้านความสวยงาม 5.07 และ 5.03 ตามลำดับ การรับรู้ด้านความสงบ พบว่า รูปแบบการกระจายแสงแบบลำดับแสงขึ้น (AS) ร่วมกับการให้แสงที่ไม่ซับซ้อน (L1) มีระดับค่าเฉลี่ยสูงที่สุด การรับรู้ภาพลักษณ์ในด้านความน่าดึงดูด และการส่งเสริมเอกลักษณ์ พบว่า การกระจายแสงแบบลำดับแสงเท่ากัน (CO) ร่วมกับระดับความซับซ้อนของการให้แสงมาก (L3) มีระดับค่าเฉลี่ยสูงที่สุด จากการศึกษางานวิจัยนี้ ทำให้ทราบถึงแนวทางการออกแบบที่สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาพลักษณ์ของศาลเจ้าจีนในด้านความสวยงาม ความสงบ ความน่าดึงดูด และการส่งเสริมเอกลักษณ์ ซึ่งนักออกแบบ ผู้ดูแลศาลเจ้า หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำแนวทางการออกแบบแสงสว่างนี้ไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับช่วงเวลาและลักษณะกิจกรรมที่เกิดขึ้น
Other Abstract: According to the survey of the lighting design in the Chinese shrine, several problems with the lighting system were found such as insufficient lighting and inconsistent with the shrine activities, the installation of lantern which did not concealed light source or light direction. Discomfort glare condition was found as well as the Chinese shrine’s image was not promoted. Therefore this research aims to study the impact of luminaire arrangements and luminance distribution on the perception of Chinese shrine’s image. This study data was collected from 120 research participants by using 3-D modeling of 9 pictures. The results revealed that high complexity light condition (L3) affected the highest average perception of aesthetic, tranquility, attractive and unique at significant. Moreover, ascending light distribution affected the highest average perception of tranquility, attractive and unique at significant. However, the study about interaction effect between light distribution and complexity light condition gave different best combination based on perception topic. For perception of aesthetic, the picture of shrine with conventional light distribution together with high or low complexity light condition (L2, L3) receives highest average score at 5.07 and 5.03 respectively. For perception of tranquility, the picture of shrine with ascending light distribution with low complexity light condition (L1) receives highest average score from research participants. Regarding perception of attractive and unique, the picture of shrine with conventional light distribution with high complexity light condition (L3) receives highest average score from research participants. This research gives guidelines to lighting design for the Chinese shrine that can influence perception of Chinese shrine’s image in perception of aesthetic, tranquility, attractive and unique. Lighting designer and related parties can apply these findings to relevant time situations and activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60184
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1521
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1521
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5973572925.pdf8.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.