Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60192
Title: ความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของมารดาเด็กสมาธิสั้นที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Stress, coping behaviors and related-factors in mothers of child with ADHD at Out Patient Department of Child Psychiatric Clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: มนทิรา แสงฤทธิ์เดช
Advisors: อลิสา วัชรสินธุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Alisa.W@Chula.ac.th,alisa_wacharasindhu@hotmail.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลจากมารดาเด็กสมาธิสั้นที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 104 ราย โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบด้วย 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2. แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น 3. แบบวัดความเครียดสวนปรุง 4. แบบวัดพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของมารดาเด็กสมาธิสั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS version 22 เพื่อหาสถิติเชิงพรรณนา คำนวณสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้สถิติ Chi - square, t-test และ One-way ANOVA, Pearson’s correlation coefficiency และวิเคราะห์การถดถอย Multiple Logistic Regression Analysis และ Linear Regression Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายของความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียด ผลการศึกษาพบว่า มารดาเด็กสมาธิสั้นมีระดับความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 51.9 มีพฤติกรรมการเผชิญความเครียดหลักแบบมุ่งจัดการกับปัญหา คิดเป็นร้อยละ 91.3 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งจัดการกับปัญหา ได้แก่ อายุมารดา รายได้ครอบครัวต่อเดือน และความรู้ของมารดาเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งจัดการกับปัญหา ได้แก่ รายได้ครอบครัวต่อเดือน และความรู้ของมารดาเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น
Other Abstract: This was a descriptive study. Data was collected from 104 mothers of child with ADHD at Out Patient Department of Child Psychiatric Clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital. They were asked to complete 4 questionnaires, namely: 1) Personal information questionnaire; 2) ADHD knowledge questionnaire; 3) Suanprung Stress Test-20; 4) The coping behavior questionnaire. The SPSS version 22 were used to analysed to find the descriptive and inferential statistics to demonstrate the associated factors of stress and coping behaviors of the sample, including Chi-square test, t-test and One-way ANOVA, Pearson’s correlation coefficient , Multiple Regression Analysis and Linear Regression Analysis were done to find predictive factors of stress and coping behaviors. The results showed that the mothers of child with ADHD had level of stress at moderate level and used problem-focused coping behaviors. The factors associated with problem-focused coping behaviors were the maternal ages, family income and knowledge about ADHD. The predictive factors for problem-focused coping behaviors were family income and knowledge about ADHD.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60192
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1557
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1557
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974039030.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.