Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60276
Title: การสร้างซอสามสายของครูศักดิ์ชัย กาย
Other Titles: MAKING PROCESS OF SAW SAM SAI BY KRU SAKCHAI GUY
Authors: อนันท์สิทธิ์ การหนองใหญ่
Advisors: บุษกร บิณฑสันต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bussakorn.S@Chula.ac.th,kanomapps@gmail.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องการสร้างซอสามสายของครูศักดิ์ชัย กาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการสร้างซอสามสาย กระบวนการสร้างซอสามสาย และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงซอสามสายของครูศักดิ์ชัย กาย โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลการศึกษาภาคสนามระหว่างปี พ.ศ. 2559 - 2561 ครูศักดิ์ชัย กาย พบปัญหาของซอสามสายว่าเสียงของซอสามสายมักจะถูกกลืนในขณะที่บรรเลงกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น จึงได้ริเริ่มที่จะพัฒนาและยกระดับคุณภาพเสียงของซอสามสายให้ดังกังวาน และมีความไพเราะยิ่งขึ้นโดยได้ร่วมมือกับช่างซอระดับแนวหน้าของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่าครูศักดิ์ชัย กาย ได้ทำการอนุรักษ์และปรับปรุงทั้งรายละเอียดต่าง ๆ จากกระสวน ซอสามสายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต จนทำให้เกิดคุณภาพเสียงและรูปทรงในแบบฉบับของตนได้สำเร็จ ผู้วิจัยได้พบปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงซอสามสายของครูศักดิ์ชัย กาย 6 ประการ คือ 1. การสร้างกะโหลกซอสามสายที่ไร้แกนยึดทวนมีผลทำให้เกิดคุณภาพเสียงที่ดังกังวาน 2. การกำหนดรูปแบบขอบขนงซอสามสายให้มีลักษณะโค้งเว้ารับกับการขึงหน้าซอทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของหนังหน้าซอมากขึ้น 3. พื้นผิวภายในกะโหลกซอที่เรียบมีผลทำให้การกำธรภายในมากขึ้นกว่าซอสามสายสมัยก่อน 4. การลงรักปิดทองภายในกะโหลกซอมีผลทำให้พื้นผิวภายในมีมวลหนาแน่นส่งผลทำให้มีการกำธรเสียงที่ดีขึ้น 5. การคัดเลือกหนังสำหรับขึงหน้าซอที่ใสและมีความบางประมาณ 0.15 มิลลิเมตร มีผลทำให้การสั่นสะเทือนของเสียงมีการสั่นสะเทือนเร็วขึ้น 6. รูปแบบการขึ้นหน้าซอที่ไม่หุ้มหลังกะโหลกซอมีผลทำให้กะโหลกซอสั่นสะเทือนได้เต็มที่ จึงช่วยทำให้เสียงซอมีความดังและกังวานมากขึ้นกว่าซอสามสายแบบเดิม
Other Abstract: The purposes of this research, "Making Process of Saw Sam Sai by Kru Sakchai Guy ", are to study the history of the saw sam sai creation, the making process of the saw sam sai, and the factors affecting the sound quality of Sakchai Guy’s saw sam sai by means of fieldwork conducted from 2016 to 2018. Sakchai Guy discovered that the problem of the saw sam sai lies in the fact that its sound is often drown out when being played with other musical instruments. By collaborating with the leading Thai fiddle makers, he, therefore, initiated an idea to develop and improve the sound quality of the saw sam sai to be more resonant and melodious. According to the study, Sakchai Guy has preserved and improved various details of his own saw sam sai using the model of Marshal-Admiral Paribatra Sukhumbandhu, Prince of Nakhon Sawan’s. This preservation and improvement created the unique sound quality and fiddle shape of his own saw sam sai. I, the researcher, have found that there are 6 factors affecting the sound quality of Sakchai Guy's saw sam sai. They are as follows: 1) The making of the fiddle sound box without the core attached to the stick results in the resonant sound quality. 2) The regulated pattern of the fiddle sound box’s frame designed to be curvy in order to be perfectly fit when being covered with a stretched skin results in more vibration of a stretched skin. 3) The smooth surface inside the fiddle sound box generates better internal resonance than that of the saw sam sai in former times. 4) Lacquer painting and gold leaf gilding inside the fiddle sound box resulting in the denser internal surface enhance the resonance. 5) The selection of a transparent and 0.15 mm thick stretched skin results in faster sound vibration. 6)The pattern of covering a stretched skin in which the back of the fiddle sound box is uncovered allows the fiddle sound box to utterly vibrate; therefore, the sound of the fiddle is louder and more resonant than the one in former times.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60276
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.852
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.852
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5986742435.pdf18.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.