Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60284
Title: การประเมินความต้องการเทคโนโลยีพลังงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Other Titles: ENERGY TECHNOLOGY NEEDS ASSESSMENTS IN MANUFACTURING SECTOR FOR CLIMATE CHANGE MITIGATION
Authors: ศิวพร ปรีชา
Advisors: วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Weerin.W@Chula.ac.th,weerin_w@yahoo.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาความต้องการเทคโนโลยีพลังงานเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและจัดลำดับความสำคัญของเทคโนโลยีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามเจตจำนงของประเทศไทยที่ให้ไว้กับภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ซึ่งงานวิจัยนี้กำหนดเกณฑ์การประเมินเป็นสองด้านประกอบด้วย ด้านความพร้อม (11 ประเด็น) และด้านผลกระทบ (4 ประเด็น) และอ้างอิงรายการเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมการผลิตจาก 3 กลุ่มประเภทพลังงาน คือ กลุ่มพลังงานทางเลือก/พลังงานหมุนเวียน กลุ่มเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน และกลุ่มการบริหารจัดการพลังงาน ตามเอกสารของ UNFCCC ซึ่งทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และวิเคราะห์ด้วยวิธีการประเมินทางเลือกจากหลายเกณฑ์ (MCA) จากผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญของเกณฑ์ด้านความพร้อมในประเด็นนโยบาย โครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และด้านผลกระทบในประเด็นสิ่งแวดล้อมสูงที่สุด โดยผลการจัดลำความสำคัญของเทคโนโลยีพลังงานเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคอุตสาหกรรมการผลิต พบว่า เทคโนโลยีระบบความร้อน ระบายอากาศ ปรับอากาศ (HVAC) เชื้อเพลิงชีวมวล/เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด/การทำความร้อนแบบรวมศูนย์ (Biomass heating, wood pellets, district heating) ระบบไฟฟ้าพลังงานร่วม (CHP) ก๊าซพลังงานสะอาดจากชีวมวล (biogas) และการประหยัดพลังงานของอุตสาหกรรมซีเมนต์ มีความพร้อมและผลกระทบสูงสุดตามลำดับ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวมีความพร้อมในประเด็นสถานการณ์ปัจจุบันของเทคโนโลยีในประเทศไทยต่ำ โดยปัจจุบันประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานและเทคโนโลยีพลังงานที่มีประสิทธิภาพจากต่างประเทศ ทำให้การกระจายตัวของเทคโนโลยีกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและความพร้อมสูงเท่านั้น
Other Abstract: The purpose of this study is to prioritize climate change mitigation technologies in manufacturing sector toward greenhouse gas emission reduction goals that Thailand had ratified with UNFCCC. In this study, there are fifteen main factors consisting of eleven “readiness” and four “impact” factors. The list of climate change technologies on the manufacturing sector refers to the UNFCCC handbook, focusing in three main energy groups including Alternative/Renewable Energy, Energy Saving Technology and Energy Management. The Multi-criteria Analysis (MCA) was used in this study and it was evaluated by experts in the manufacturing sector. The results found that experts emphasize the readiness criteria on the existing policy infrastructure including regulation issues and the impact criteria on environmental issues. In addition, the experts concerned 5 prioritized technology on the GHG emission reduction which are 1) High efficiency heating, venting, and air conditioning (HVAC) 2) Biomass heating, wood pellets, district heating 3) Combined heat and power (CHP) 4) Green gas from biomass for heat and power (biogas) and 5) Energy Saving in cement industry. The situation of the technology readiness for those 5 priority technologies are currently low in Thailand. Thailand is dependent on imports of energy and energy efficient technology from abroad. As a result, the distribution of technology is concentrated in high potential and readiness industries.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60284
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.595
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.595
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5987208920.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.