Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60579
Title: | การประเมินเงินได้จากการใช้เงินรับล่วงหน้าจากการออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในธุรกิจของตนเองของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน |
Authors: | ครีม โฆษานันตชัย |
Advisors: | วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | บัตรเงินสด การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เอกัตศึกษาเล่มนี้มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับประเด็นการกำกับดูแลการออกบัตร เงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในธุรกิจของตนเองของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและ การประเมินเงินได้พึงประเมินจากนำเงินที่ได้รับล่วงหน้าจากการออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ ผลของการศึกษาพบว่าการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ผ่านสื่อกลาง การชำระเงินแทนเงินสดอย่าง “บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์” (e-Money card) ซึ่งเป็นบัตรหรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ประกอบการออกให้แก่ผู้บริโภค เพื่อใช้บันทึกมูลค่าเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้บริโภค ได้รับจากการจ่ายชำระเงินสดไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อให้ได้เงินอิเล็กทรอนิกส์นั้น มาใช้ชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือค่าอื่นใดตามข้อกำหนดการใช้บัตรของผู้ออกบัตรในอนาคตแทนการชำระด้วยเงินสด ทำให้ผู้ออกบัตรมีภาระหน้าที่ในการถือครองเงินสดของผู้บริโภคไว้ โดยที่กรรมสิทธ์ในเงินสดยังเป็น ของผู้บริโภค เนื่องจากยังไม่เกิดรายการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการแก่ผู้บริโภค ผู้ประกอบการจึงยัง ไม่ได้รับกรรมสิทธ์ในเงินสดที่ตนถือครอง ซึ่งการรับเงินล่วงหน้าจากการออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสาธารณะชนได้ จึงทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด การควบคุมดูแลธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินไว้เป็น การเฉพาะเพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดแก่สาธารณชน อย่างไรก็ตาม การควบคุมดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมถึงการประกอบธุรกิจของ (1) ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะอย่าง (Single purpose) ตามรายการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเพียงรายเดียว และ (2) ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะอย่าง (Single purpose) ตามรายการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการหลายราย ณ สถานที่ที่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน จึงถือเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ ผู้ประกอบการดังกล่าวไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการดำเนินงานที่มีการประกาศกำหนด และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการนำเงินรับล่วงหน้าคงค้างจากผู้บริโภคไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างไม่มีเงื่อนไข ทำให้เกิดประเด็นในการจัดเก็บภาษีเงินได้ของผู้ประกอบการดังกล่าว กล่าวคือ ผู้ประกอบการอาจจะได้รับรายได้หรือประโยชน์จากการใช้เงินรับล่วงหน้าของผู้บริโภค โดยที่ไม่ต้อง เสียค่าตอบแทนใดๆ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ซึ่งเข้าข่ายการเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้อื่น โดยปราศจากภาระต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย ใดๆ เข้าข่ายอำนาจการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะให้มีการกำหนดวิธีพิจารณาและหลักเกณฑ์ในการประเมิน ประโยชน์จากเงินรับล่วงหน้ากรณีการออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ไว้อย่างชัดเจน โดยใช้หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการดำเนินงานตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 6/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นแนวทาง เพื่อควบคุมการออกบัตร เงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการที่ออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในธุรกิจของตนเอง และให้เจ้า พนักงานประเมินใช้อำนาจในการประเมินรายได้จากการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้อื่น โดย ปราศจากภาระต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60579 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.6 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2017.6 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
598 61567 34.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.