Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60737
Title: ทางเลือกในการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในงานสร้างเสริมสุขภาพในการประเมินโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา
Other Titles: Economic evaluation approaches for health promotion intervention : the evaluation of the Buddhist lent alcohol control project
Authors: วรางคณา จิรรัตนโสภา
Advisors: ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย
นพพล วิทย์วรพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Piya.H@Chula.ac.th
Nopphol.W@Chula.ac.th
Subjects: การส่งเสริมสุขภาพ
ต้นทุนและประสิทธิผล
การวิเคราะห์และประเมินโครงการ
โครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา -- ต้นทุนและประสิทธิผล
Cost effectiveness
Health promotion
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานสร้างเสริมสุขภาพเป็นงานที่มีโอกาสเกิดผลลัพธ์ได้หลากหลายทั้งทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ในการประเมินความคุ้มค่าของงานสร้างเสริมสุขภาพจึงควรเลือกวิธีการประเมินที่ครอบคลุมผลลัพธ์เหล่านั้น การประเมินต้นทุน-ผลได้ทางสังคม (Social cost benefit analysis - SCBA) เป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้วิธีรวมผลลัพธ์ด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกันโดยแปลงให้อยู่ในรูปหน่วยเงิน นอกจากนี้ ยังมีการประเมินผลตอบแทนเชิงสังคมจากการลงทุน (Social return on investment - SROI) ซึ่งวัดผลลัพธ์ ในรูปหน่วยเงินเช่นกัน อย่างไรก็ตามปัจจุบันการประเมินทั้งสองวิธียังมีความเข้าใจและการนำไปใช้ที่จำกัด โครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาในระดับพื้นที่ เป็นโครงการที่กระตุ้นให้ชุมชนทำโครงการรณรงค์ของตนเองขึ้น เสริมจากโครงการรณรงค์ในระดับชาติ เพื่อส่งเสริมให้นักดื่มงดดื่มในช่วงเข้าพรรษา ที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง พื้นที่ที่ทำโครงการฯ มีสัดส่วนนักดื่มงดดื่มสูงกว่าพื้นที่ที่ไม่ได้ทำโครงการฯ แต่ยังไม่เคยมีการประเมินความคุ้มค่าของโครงการดังกล่าวมาก่อน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการประเมินแบบ SCBA และการประเมินแบบ SROI  โดยนำโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาในระดับพื้นที่เป็นกรณีศึกษา  การศึกษานี้ประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรมเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบวิธีการประเมินดังกล่าวในเชิงวิชาการ และประเมินความคุ้มค่าของโครงการฯ เปรียบเทียบทั้งสองวิธี จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่า การประเมินความคุ้มค่าทั้งสองวิธีแม้มีวิธีการประเมินที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน แต่มีสิ่งสำคัญที่แตกต่างกันหลักๆ ได้แก่ ในด้านวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้  SCBA เป็นการประเมินความคุ้มค่าที่เน้นการนำผลไปเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่นเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ขณะที่ SROI เป็นการประเมินความคุ้มค่าเพื่อการพัฒนาโครงการ  ในด้านการกำหนดผลลัพธ์ในการประเมิน SCBA ให้ผู้ประเมินเป็นผู้กำหนดโดยอ้างอิงตามทฤษฎีและผลการศึกษาในอดีต แต่ SROI ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นผู้มีบทบาทหลักในการกำหนดผลลัพธ์ที่จะนำมาประเมิน นอกจากนี้ การทำ SROI ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมมาช่วยตอบข้อจำกัดของข้อมูล ทำให้สามารถประมาณการความคุ้มค่าในบางเรื่องที่ SCBA อาจจะไม่สามารถตอบได้ แต่ก็อาจมีข้อด้อยของวิธีการทางอัตวิสัยที่อาจเกิดอคติในการประเมินได้   ในการศึกษานี้พบว่า โดยรวมโครงการฯ ​ทำให้มีผู้งดดื่มเพิ่มขึ้น การประเมินด้วย SROI พบว่า แต่ละพื้นที่ได้ผลตอบแทนทางสังคมต่อการลงทุนตั้งแต่ 2.7 ถึง 5.9 เท่า  แต่ผลการประเมินความคุ้มค่าในภาพรวมด้วยวิธี SCBA พบว่ามีอัตราส่วนผลตอบแทนต่ำกว่าต้นทุนที่ลงทุนไป ความแตกต่างในระดับความคุ้มค่าที่ประเมิน จากทั้งสองวิธีเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งความแตกต่างในขอบเขตและความครอบคลุมของการประเมิน การกำหนดผลลัพธ์และแนวทางการประเมินผลกระทบ เป็นต้น โดยสรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของวิธีการประเมินทั้งสองวิธีทั้งในเชิงวิชาการและในทางปฏิบัติ ซึ่งในการประเมินความคุ้มค่าของงานสร้างเสริมสุขภาพ จำเป็นต้องทำความเข้าใจและเลือกใช้เครื่องมือในการประเมินให้เหมาะสมกับเป้าหมายของการประเมินและผู้ที่จะใช้ประโยชน์จากการประเมิน โดยก่อนที่จะนำผลการประเมินไปใช้ต้องทราบข้อจำกัดต่าง ๆ ในการประเมิน  ทั้งนี้ การประเมินความคุ้มค่าในงานสร้างเสริมสุขภาพยังต้องการการพัฒนาองค์ความรู้ แนวทางการประเมิน และการกำหนดมาตรฐานของ เครื่องมือเหล่านี้ต่อไป
Other Abstract: Health promotion interventions can generate positive outcomes that extend beyond individual health gains. Economic evaluation of health promotion interventions should adequately capture them. Social cost benefit analysis (SCBA) and Social Return on Investment (SROI) assessment are two tools that capture outcomes in many dimensions by converting them into a single monetary term. They are increasingly used for economic evaluation of health promotion interventions but the understanding and use may still be limited. “Buddhist Lent Dry Campaign” at the community level has been implemented to enhance the effectiveness of national campaign by allowing community to introduce locally initiated interventions to support the abstention of alcohol during the Buddhist Lent period. It has shown some indication of success with the abstinence proportion in the intervention communities higher than the non-intervention communities. However, the value for money of the interventions has never been evaluated. The objective of this study is to compare the differences between SCBA and SROI from both academic and operational perspectives. The “Buddhist Lent Dry Campaign” at the community level was used as a case study. The study protocol include literary review for comparative academic assessment of the two methods, and operational assessment of the two methods using actual evaluation of the “Buddhist Lent Dry Campaign”. Social cost-benefit analysis (SCBA) and Social return on investment (SROI) analysis are two methods that share similar principle. However, there are three key differences between them. Firstly, the objective of SCBA is to compare value for money of a project with its alternatives to make informed use of resources. SROI, however, focuses on improving management effectiveness. Secondly, SROI relies on active involvement of stakeholders to determine which outcomes are relevant while SCBA determines relevant outcomes using theoretical and scientific evidence. Lastly, SROI uses the participatory process to help address data limitations. This makes it possible to estimate certain values that SCBA may not be able to answer but the risk of introducing biases from its subjective approach. Our study clearly demonstrates that the Buddhist Lent Dry Campaign at the community level are effective in increasing the number of abstainers. The value for money of the campaign can be shown in the estimated Social Return on Investment of between 2.7 to 5.9 times. However, SCBA shows conflicting result with overall benefit lower than social cost. The differences in the results were due to several factors including the scope and coverage of the evaluation, the choices of outcome indicators and the impact assessment approach. The differences between the two methods from both perspectives, warrant clear understanding especially among those who will use these methods in the economic evaluation of health promotion interventions. To choose a suitable method, it is important to understand the objectives of the assessment, who will use the evaluation results, and how they will be used. Study limitations should be clarified before the findings are utilized. Further development in the knowledge, methods and standards of these tools for economic evaluation of health promotion is necessary.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60737
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.232
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.232
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574914730.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.