Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60747
Title: ความชุกของการเกิด Hypermethylation ที่ตำแหน่งโปรโมเตอร์ของยีน PAQR3 ในชิ้นเนื้อ BPH และชิ้นเนื้อมะเร็งต่อมลูกหมาก
Other Titles: The prevalence of promoter Hypermethylation of PAQR3 gene in BPH and prostate cancer tissues
Authors: โกวิทย์ ลวงลายทอง
Advisors: สมบูรณ์ คีลาวัฒน์
พิเชฐ สัมปทานุกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Somboon.Ke@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เซลล์มะเร็ง
ต่อมลูกหมาก -- มะเร็ง
ดีเอ็นเอ -- เมทิเลชัน
Cancer cells
DNA -- Methylation
Prostate -- Cancer
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาและปัญหา : การเกิดดีเอ็นเอเมทิลเลชั่นที่ตำแหน่งโปรโมเตอร์ของยีนต้านมะเร็ง PAQR3 มีการพบในมะเร็งอวัยวะต่างๆและสัมพันธ์กับพยากรณ์โรคทางคลินิกของผู้ป่วย แต่ยังไม่เคยมีรายงานในมะเร็งต่อมลูกหมาก วัตถุประสงค์ : ศึกษาความชุกของการเกิดดีเอ็นเอเมทิลเลชั่นที่ตำแหน่งโปรโมเตอร์ของยีนต้านมะเร็ง PAQR3 ในชิ้นเนื้อ BPH และชิ้นเนื้อมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยวิธี Methylation-specific PCR และศึกษาความสัมพันธ์กับพยากรณ์โรคของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก วิธีการทดลอง : ศึกษาการเกิดดีเอ็นเอเมทิลเลชั่นที่ตำแหน่งโปรโมเตอร์ของยีนต้านมะเร็ง PAQR3 ด้วยเทคนิค Methylation-specific PCR ในชิ้นเนื้อจากผู้ป่วย BPH จำนวน 62 ราย และชิ้นเนื้อจากผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก จำนวน 92 ราย สุ่มเลือก 12 รายของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากศึกษาเปรียบเทียบผลตรงเนื้อเยื่อที่มีเซลล์มะเร็งกับเนื้อเยื่อใกล้เคียงกันที่ไม่มีเซลล์มะเร็ง และศึกษาดัชนีพยากรณ์โรคต่างๆ ได้แก่ PSA, Gleason score, Surgical margin, Lymph node metastasis, Seminal vesicle invasion, Perineural invasion, Extraprostatic invasion, pT stage และ Biochemical recurrence ของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่เกิดดีเอ็นเอเมทิลเลชั่นและกลุ่มที่ไม่เกิดดีเอ็นเอเมทิลเลชั่น ผลการทดลอง : พบการเกิดดีเอ็นเอเมทิลเลชั่นที่ตำแหน่งโปรโมเตอร์ของยีนต้านมะเร็ง PAQR3 ในชิ้นเนื้อมะเร็งต่อมลูกหมาก 68 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.9 และในชิ้นเนื้อ BPH 16 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.8 เนื้อเยื่อของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากจำนวน 12 ราย ที่ศึกษาเปรียบเทียบเนื้อเยื่อที่มีเซลล์มะเร็งและเนื้อเยื่อใกล้เคียงกันที่ไม่มีเซลล์มะเร็ง มี 6 รายจาก 7 ราย ที่เกิดดีเอ็นเอเมทิลเลชั่นเฉพาะตรงเนื้อเยื่อที่มีเซลล์มะเร็ง การเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่เกิดดีเอ็นเอเมทิลเลชั่นและกลุ่มที่ไม่เกิดดีเอ็นเอเมทิลเลชั่น พบดัชนีเดียว มีนัยสำคัญทางสถิติที่ p=0.03 คือ เซลล์มะเร็งลุกลามรอบเส้นประสาท สรุปผลการทดลอง : การเกิดดีเอ็นเอเมทิลเลชั่นที่ตำแหน่งโปรโมเตอร์ของยีนต้านมะเร็ง PAQR3 พบได้บ่อย โดยการเกิดมีความจำเพาะตรงตำแหน่งที่มีเซลล์มะเร็ง และอาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดการลุกลามของเซลล์มะเร็งโดยรอบเส้นประสาทที่มากขึ้นของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก
Other Abstract: Background : DNA Methylation in promoter regions of PAQR3 was found in various cancers and had correlation with clinical prognostications. However, study with prostate cancer was not inspected. Objective : To investigate the prevalence of promoter methylation of PAQR3 comparing between BPH and prostate cancer tissues by methylation-specific PCR method and to analyze the association of methylation of this gene with prognostication in cancer patients. Material and methods : Microdissections on tissues embedded in paraffin blocks were made to investigate promoter methylation of PAQR3  by methylation-specific PCR method. The studied samples included 62 BPH and 92 prostate cancer tissues. Of the latter, 12 blocks were specifically dissected at area with cancer cells and area without. Univariate testing for prognostic parameters - PSA, Gleason score, Surgical margin, Lymph node metastasis, Seminal vesicle invasion, Perineural invasion, Extraprostatic invasion, pT stage and Biochemical recurrence was performed between methylation group and unmethylation group of the cancer patients. Results : The promoter methylation of PAQR3 was observed in 68 (73.9%) prostate cancers and in 16 (25.8%) BPHs. Of the 12 prostate cancers, 6 out of 7 cases that with aberrant methylation was observed in areas of cancer cells only. The index of perineural invasion was the single parameter that correlated with promoter methylation in prostate cancer patients (p=0.03). Conclusion : Promoter methylation of PAQR3 was prevalent in prostate cancer and observed specifically in cancer cell areas. Its occurrence may correlate with perineural invasion.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60747
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.774
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.774
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774006030.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.