Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60760
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมบนยีนเอ็นทีซีพีกับการดำเนินโรคจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี |
Other Titles: | Association of NTCP polymorphisms with clinical outcome of hepatitis B infection |
Authors: | นงณภัสร์ ตูยปาละ |
Advisors: | พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์ สัญชัย พยุงภร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pisit.T@Chula.ac.th Sunchai.P@Chula.ac.th |
Subjects: | โรคเกิดจากไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี Hepatitis B virus Virus diseases |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | Sodium taurocholate cotransporting polypeptide หรือ NTCP ถูกค้นพบเมื่อเร็วๆนี้ว่าเป็นตัวรับที่จำเพาะต่อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งอยู่บนผิวของเซลล์ตับ ทำให้ไวรัสตับอักเสบบีสามารถผ่านเข้าไปสู่เซลล์ตับได้ มีงานวิจัยที่ทำการศึกษาในประชากรจีนชาวฮั่นพบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรม (Single nucleotide polymorphisms, SNPs) ของยีน NTCP มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนนี้กับการดำเนินโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในกลุ่มประชากรชาวไทย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วยกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี ที่ไม่เคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน จำนวน 242 คน, กลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถหายได้เอง จำนวน 230 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง จำนวน 635 คน ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับร่วมด้วย จำนวน 319 คน การตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนดังกล่าวทำโดยวิธี Allelic discrimination ด้วย TaqMan probe real-time PCR จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ความถี่ของจีโนไทป์ GG, GA และ AA ของยีน NTCP ตำแหน่ง rs2296651 ในกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดีเป็น 74.2%, 22.1% และ 3.7% ตามลำดับ, กลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถหายได้เองเป็น 84.0%, 15.1% และ 0.9%ตามลำดับ และกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังเป็น 85.0%, 13.4% และ 1.6% ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าความถี่ของจีโนไทป์ non-GG (GA และ AA) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถหายได้เอง [odds ratio (OR) 0.54; 95 % CI (0.35-0.86), P=0.001] และในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง (0.51; 0.35-0.73, P<0.001) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของจีโนไทป์ระหว่างกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถหายได้เองและกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง ส่วนของยีน NTCP ตำแหน่ง rs4646287 ไม่พบความแตกต่างของจีโนไทป์ CC, CT และ TT ในแต่ละกลุ่มของตัวอย่างที่ศึกษา นอกจากนี้ไม่พบความแตกต่างระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน NTCP ตำแหน่ง rs2296651 และ rs4646287 กับการพัฒนาไปเป็นมะเร็งตับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังที่เป็นมะเร็งตับกับไม่ได้เป็นมะเร็งตับ จากผลการศึกษานี้สรุปได้ว่าจีโนไทป์ GA หรือ AA ของยีน NTCP ตำแหน่ง rs2296651 มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในประชากรชาวไทย อย่างไรก็ตามความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน NTCP ตำแหน่ง rs2296651 และ rs4646287 ไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถหายได้เองและการพัฒนาจากระยะการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังไปเป็นมะเร็งตับ |
Other Abstract: | Background: The sodium taurocholate co-transporting polypeptide (NTCP) has been recently identified as the cellular receptor of hepatitis B virus (HBV). In addition, single nucleotide polymorphisms (SNPs) in the NTCP gene are shown to be associated with developing chronic HBV infection in Chinese Han populations. However, it is unclear whether these SNPs are related to the clinical outcome of HBV infection in Thai populations. Methods: We recruited 242 healthy controls without previous HBV exposure, 230 individuals with spontaneous HBV clearance and 635 patients with chronic hepatitis B (CHB). Among the CHB group, 319 patients were diagnosed with hepatocellular carcinoma (HCC). SNPs (rs2296651 and rs4646287) of the NTCP were detected by allelic discrimination using real-time with TaqMan probe. Results: The frequencies of GG, GA and AA genotypes of rs2296651 in healthy controls were 74.2%, 22.1% and 3.7%, respectively. The corresponding genotypes in the HBV clearance group were 84.0% 15.1% and 0.9%, while their frequencies in the CHB group were 85.0%, 13.4% and 1.6%, respectively. Compared with healthy controls, the distribution of non-GG (GA and AA) genotypes were significantly lower in the HBV clearance group [odds ratio (OR) 0.54; 95 % CI (0.35-0.86), P=0.001] and the CHB groups (0.51; 0.35-0.73, P<0.001). However, there was no difference in their frequencies between the HBV clearance and CHB groups. Regarding rs4646287, there was no difference in the distribution of CC, CT and TT genotypes among the study groups. The role of these SNPs in relation to HCC development was further analyzed in the CHB groups. There was no difference in the distribution of SNPs rs2296651 and rs4646287 between patients with or without HCC. Conclusions: In this report, GA or AA genotypes of rs2296651 were associated with decreased risk of HBV infection. However, SNPs rs2296651 and rs4646287 were not contributed to spontaneous HBV clearance, developing CHB and HCC occurrence. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ชีวเคมีทางการแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60760 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.340 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.340 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5874037630.pdf | 3.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.