Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60767
Title: การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจแบบกำหนดปริมาตรอากาศหลังการถอดท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยหอวิกฤตอายุรกรรม
Other Titles: Targeted - volume non invasive ventilation in post extubation in medical intensive care unit patients
Authors: วรวุฒิ ตันติทวีวัฒน์
Advisors: นฤชา จิรกาลวสาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Naricha.C@chula.ac.th
Subjects: เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลขั้นวิกฤต
Respirators (Medical equipment)
Critical care medicine
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาของการศึกษา การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจหลังการถอดท่อช่วยหายใจนั้นปัจจุบันแนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยมราจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง แต่เมื่อนำไปใช้ในผู้ป่วยทุกรายนั้นกลับพบว่าไม่ได้ประโยชน์ทั้งหมด  การศึกษาในผู้ป่วยหลังการถอดท่อช่วยหายใจก่อนหน้านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจที่กำหนดแรงดันของเครื่องคงที่  การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจแบบกำหนดปริมาตรอากาศน่าจะมีประโยชน์ในผู้ป่วยลักษณะดังกล่าวมากกว่า  วิธีการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการทดลองแบบสุ่มในผู้ป่วยวิกฤติอายุรกรรมที่ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจนานกว่า 48 ชั่วโมง  โดยผู้ป่วยจะถูกสุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับเครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจแบบกำหนดปริมาตรอากาศและกลุ่มที่ได้รับออกซิเจนผ่านทางหน้ากากออกซิเจนภายหลังการถอดท่อช่วยหายใจเป็นเวลา 24 ชั่วโมง  โดยมีอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำที่ระยะเวลา 48 ชั่วโมงเป็นผลการศึกษาหลัก และการเกิดภาวะหายใจล้มเหลว อุบัติการณ์การเกิดภาวะปอดอักเสบ ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลและหอผู้ป่วยวิกฤติ รวมถึงอัตราการเสียชีวิตที่ 28 วันหลังการถอดท่อช่วยหายใจเป็นผลการศึกษารอง ผลการศึกษา การศึกษานี้มีผู้ป่วยเข้าร่วมทั้งสิ้น 58 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 29 ราย  ทั้งสองกลุ่มมีคุณลักษณะใกล้เคียงกัน  โดยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ สาเหตุของการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจที่พบบ่อยที่สุดคือภาวะปอดอักเสบ(ร้อยละ 57.69) รองลงมาคือภาวะติดเชื้อ (ร้อยละ 30.77) ผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับเครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจแบบกำหนดปริมาตรอากาศพบว่ามีแนวโน้มที่จะช่วยป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำที่ระยะเวลา 48 ชั่วโมงได้เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากาก (ร้อยละ 0 เทียบกับ ร้อยละ 17.24 มีค่านัยสำคัญ 0.052) มีอัตราการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวที่ระยะเวลา 48 ชั่วโมงต่างกันอย่างชัดเจน (ร้อยละ 0 เทียบกับร้อยละ 41.38 มีค่านัยสำคัญน้อยกว่า 0.001) โดยผู้ป่วยร้อยละ 6.89 ได้รับการช่วยเหลือโดยการใส่เครื่องกำเนิดออกซิเจนชนิดความไหลสูง ร้อยละ 17.24 ได้รับการให้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจแบบปกติ  และร้อยละ 17.24 ถูกใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ   ไม่พบความแตกต่างกันของอัตราการเกิดภาวะปอดอักเสบ (ร้อยละ 6.90 เทียบกับร้อยละ 20.69 มีค่านัยสำคัญ 0.253) ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล (ค่ามัธยฐาน 23 (พิสัยควอไทล์ 27) เทียบกับ 24 (พิสัยควอไทล์ 17) โดยมีค่านัยสำคัญ 0.541) และ อัตราการเสียชีวิตที่ 28 วัน (ร้อยละ 13.79 เทียบกับ ร้อยละ 20.69 โดยมีค่านัยสำคัญ 0.487) สรุป การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่มีการนำเครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจแบบกำหนดปริมาตรอากาศมาใช้ในการช่วยลดอัตราการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวหลังการถอดท่อช่วยหายใจ และมีแนวโน้มที่จะช่วยในการลดอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำได้ในผู้ป่วยวิกฤติอายุรกรรม
Other Abstract: Background Even though; NIV during post extubation is recommended to prevent reintubation in high risk patients, the current evidence did not demonstrate its benefit when applied routinely after extubation. However; all previous studies utilized standard targeted-pressure NIV. The use of targeted-volume NIV may be more appropriate in this clinical setting since it would deliver more appropriate tidal volume and minimize leakage. We aim to demonstrate the effect of targeted-volume NIV for prevention of reintubation in post extubated medical ICU patients. Methods A prospective randomized controlled study was conducted in patients who had been on mechanical ventilation for more than 48 hours for acute respiratory failure. Patients were randomized into two groups using targeted-volume NIV (intervention group) or oxygen mask (controlled group) immediately after extubation and continued for 24 hours post extubation. Reintubation rate within 48 hours was recorded as a primary endpoint. Secondary endpoints included respiratory failure rate within 48 hours, incidence of VAP/HAP, hospital length of stay, and mortality rate. Results Fifty-eight patients were enrolled. No difference in baseline clinical characteristics was observed. Common causes of respiratory failure were pneumonia (57.69%) and sepsis (30.77%). The targeted-volume NIV group was observed to have a trend towards lower reintubation rate within 48 hours compared to oxygen mask group (0% vs 17.24%; p=0.052). Respiratory failure rate within 48 hours was significantly lower in targeted-volume NIV group compared to oxygen mask group (0% vs 41.38%; p<0.001). There were no differences in incidence of VAP/HAP (6.90% vs 20.69%; p=0.253), hospital length of stay (23(27) days vs 24 (17) days; p=0.541), and 28 day-mortality (13.79% vs 20.69%; p=0.487). Conclusions Our study is the first study to demonstrate the benefit of application of targeted-volume NIV immediately after extubation in reducing respiratory failure rate and a trend towards lowering  reintubation rate in medical ICU patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60767
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1268
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1268
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874065130.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.