Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60801
Title: การกำจัดซีโอดี สี และความขุ่นของน้ำดำจากโรงงานเยื่อคราฟต์ โดยกระบวนการโคแอ็คกูเลชันร่วมกับราเน่าขาวที่ตรึงบนดินเบา
Other Titles: COD, color and turbidity removal of Kraft pulp mill Black liquor by coagulation combined with white rot fungi immobilized on diatomaceous earth
Authors: สุพรชัย รัตนะรัต
Advisors: สีหนาท ประสงค์สุข
ณัฐธยาน์ พงศ์สถาบดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sehanat.P@Chula.ac.th
Sangobtip.P@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสี
ของเสียจากโรงงาน
Sewage -- Purification -- Color removal
Factory and trade waste
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ราเน่าขาวหลายชนิดถูกสำรวจและเก็บตัวอย่างจากบริเวณต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อหาสายพันธุ์ที่ให้กิจกรรมแลคแคสสูง และมีความสามารถในการทนร้อน จากตัวอย่างรา 42 ตัวอย่างที่เก็บได้จาก 12 จังหวัดในประเทศไทย สามารถแยกเส้นใยบริสุทธิ์ได้ 20 ไอโซเลต และพบว่า 19 ไอโซเลต ให้ผลบวกในการทดสอบการผลิตแลคแคสบนอาหารแข็ง ABTS เมื่อทดสอบความสามารถในการทนร้อนที่ 45 องศาเซลเซียล พบว่าราเน่าขาวที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ได้แก่ ไอโซเลต CU07 และ SM10 การทดสอบการผลิตแลคแคสในอาหารเหลวพบว่าไอโซเลต CU07 ให้กิจกรรมแลคแคสสูงสุดที่ 0.363±0.12 ยูนิตต่อมิลลิลิตร หลังจากบ่ม 8 วัน ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เมื่อระบุชนิดของไอโซเลต CU07 โดยอาศัยพื้นฐานของลักษณะทางสัณฐานวิทยาร่วมกับการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ (ITS) สามารถจัดจำแนกชนิดได้เป็น Trametes polyzona  ได้นำราสายพันธุ์ T. polyzona CU07 มาตรึงบนดินเบาและนำมาใช้ในการกำจัดซีโอดี สี และความขุ่นของน้ำดำร่วมกับกระบวนการโคแอ็คกูเลชันโดย ค่าซีโอดี สี และความขุ่นของน้ำดำเริ่มต้น เท่ากับ 292,216 มิลลิกรัมต่อลิตร 873,777 แพลตินัมโคบอล์ตยูนิต และ 1,330 เอ็นทียู ตามลำดับ จากการทดลองพบว่าร้อยละการกำจัดซีโอดี สี และความขุ่นมีค่าเท่ากับ 99.2 99.2 และ 70.0 ตามลำดับ เมื่อทำลายเสถียรภาพคอยลอยด์และรวมตะกอนด้วยไคโตซานและแคตไอออนพอลิอะคริลาไมด์ที่อัตราส่วนโดยน้ำหนักเท่ากับ 0.035 : 0.001 ปริมาตร 7 มิลลิลิตร ค่าความเป็นกรดด่างเท่ากับ 3.0 กวนที่ความเร็ว 140 รอบต่อนาที และใช้เวลาในการตกตะกอน 60 นาที  น้ำดำที่ผ่านโคแอ็คกูเลชันแล้วจึงนำมาลดสีด้วยราเน่าขาวที่ตรึงบนดินเบา โดยภาวะที่เหมาะสมในการตรึงราเน่าขาวบนดินเบามีสารอาหาร กลูโคสที่ ความเข้มข้นร้อยละ 3.00 (น้ำหนักต่อปริมาตร) และ แอมโมเนียมคลอไรด์ ที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.11  (น้ำหนักต่อปริมาตร) ที่ค่าความเป็นกรดด่างเริ่มต้นที่ 6.0  T. polyzona ที่ตรึงบนดินเบาสามารถใช้ซ้ำได้ 4 รอบ จากกระบวนการนี้พบว่าค่าซีโอดี สี และความขุ่นสุดท้ายมีค่า 1,467 มิลลิกรัมต่อลิตร (ร้อยละการกำจัด 99.5) 1,571 แพลตินัมโคบอล์ตยูนิต (ร้อยละการกำจัด 99.8)  และ 266 เอ็นทียู (ร้อยละการกำจัด 80) 
Other Abstract: A number of white rot fungi were surveyed and collected from different habitats in Thailand in order to screen for a high laccase activity with thermotolerant strain. Of 42 fungi collected from 12 provinces in Thailand, purified mycelia were successfully obtained from 20 fungal samples in which 19 of them showed positive results for laccase production using ABTS agar plate assay. Isolates CU07 and SM10 were found to be thermotolerant and CU07 showed the highest laccase activity (0.363±0.12 U/mL) after incubation for 8 day, at 30°C. This isolate was identified as Trametes polyzona  base on its morphological characteristics and  Internal Transcribed Spacer (ITS) sequences. T. polyzona CU07 was immobilized on  diatomaceous earth and applied  for removal of Chemical Oxygen Demand (COD), color and turbidity of black liquor  combined with coagulation process. The initial  (COD), color and turbidity of black liquor were 292,216 mg/L, 873,777 Platinum-Cobalt unit, and 1330 NTU, respectively. Using coagulation, COD, color and turbidity were removed around 99.18%, 99.20% and 70% respectively, when using 7 mL mixture of chitosan and cation-polyacylamide at weight ratio 1:1, pH was kept constant at 3 (stirred at 140 rpm for 12 min and precipitated for 60 min). The coagulated black liquor was then decolorized using immobilized T. polyzona. The optimal condition for its decolorization was obtained by supplementation of 3.00 w/v glucose and 0.11 w/v ammoniumchloride at pH 6.0. The immobilized T.polyzona could be reused up to 4 cycles. By using this process, the final COD color and turbidity  were 1,467 mg/L (99.5% removal), 1,517 Pt-Co unit (99.8% removal) and  266 NTU (80%removal), respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60801
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.845
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.845
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5687216620.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.