Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61073
Title: | กลไกทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ : กรณีศึกษาผู้ประกอบการ Fin Tech ประเภท Startup |
Authors: | ปิยะพงษ์ หฤทัยแจ่มจิต |
Advisors: | ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การชำระเงิน กฎหมายธุรกิจ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและความสำคัญของธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) ในสภาพสังคมและเศรษฐกิจยุคดิจิทัล รวมทั้งการกำกับดูแลและกลไกทางกฎหมายในการสนับสนุนธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ประกอบการ FinTech ประเภท Startup จากผลการศึกษาพบว่า วิวัฒนาการด้านการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดขั้นตอนอันซับซ้อน ง่ายต่อการใช้งาน และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการทางการเงิน เป็นผลจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงิน หรือ FinTech กระตุ้นให้เกิดโอกาสสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ หรือ Startup ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญสามารถสร้างสรรค์คิดค้นบริการรูปแบบใหม่ หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์หรือบริการในการแก้ไขปัญหา (Solution) ในกระบวนการชำระเงินรูปแบบเดิม ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาและการแข่งขันเชิงนวัตกรรมใหม่ทั้งในภาคธุรกิจการเงินและอุตสาหกรรมอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย ขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารงาน รวมทั้งการขาดแคลนบุคลากรภายในองค์กรที่มีทักษะความสามารถอย่างเพียงพอ จึงต้องมีการกำหนดกลไกทางกฎหมายในการสนับสนุนผู้ประกอบการ FinTech ประเภท Startup ผู้ให้บริการด้านการชำระเงิน โดยครอบคลุมปัจจัยความต้องการต่างๆ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดกลไกทางกฎหมายในการสนับสนุนอีกหลายด้านที่จะช่วยผลักดันผู้ประกอบการรายใหม่ในธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น รัฐจึงจำเป็นต้องกำหนดกลไกทางกฎหมายในการสนับสนุนผู้ประกอบการ FinTech ประเภท Startup ในธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยออกประกาศเป็นมาตรการสนับสนุนระยะสั้น ได้แก่ ด้านเงินทุน และด้านการพัฒนาผู้ประกอบการ โดยกำหนดขอบเขต วิธีการ และเงื่อนไขของโครงการ เป็นต้น รวมทั้งมาตรการสนับสนุนระยะยาว ด้านการพัฒนาแรงงาน ทั้งจำนวนแรงงานและทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญของแรงงาน เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของประเทศ |
Description: | เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61073 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.56 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2017.56 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
598 62144 34.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.