Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61088
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอดิศักดิ์ สืบประดิษฐ์-
dc.contributor.authorสนั่น ศิรินันท์ธนานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-24T04:24:38Z-
dc.date.available2018-12-24T04:24:38Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61088-
dc.descriptionเอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractในปัจจุบันประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ซึ่งหมายถึง สังคมที่มี ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 7 ของจานวนประชากรทั้งหมด โดยขณะนี้ ประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มากถึงร้อยละ 10 หรือมากกว่า 7 ล้านคน ในขณะที่อัตรา การเจริญพันธุ์ลดลงจาก 5 คนต่อสตรีหนึ่งคนในปี พ.ศ. 2507 เหลือเพียง 1.6 คนต่อสตรีหนึ่งคนใน ปัจจุบันผลจากการที่ประเทศไทยเริ่มมีอัตราส่วนผู้สูงอายุมากขึ้นและมีอัตราการเกิดของเด็กลดลง ทำให้ประชากรวัยทางานที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ลดลงตามไปด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้หากไม่วางแผนรับมือให้ดีอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ในระยะยาวทั้งในด้านสังคมและภาคเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลก็ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้ออกมาตรการส่งเสริมการมีบุตร ณ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ได้มีการประกาศบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับที่ 338 พ.ศ. 2561 มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสสำหรับค่าฝากครรภ์และค่า คลอดบุตรตามที่ได้จ่ายจริงสาหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราวแต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท ถ้าการจ่ายค่า ฝากครรภ์และการคลอดบุตรได้มีการจ่ายต่างปีภาษี ให้ยกเว้นเงินได้ตามจานวนที่จ่ายจริงแต่รวมกัน แล้วต้องไม่เกิน 60,000 บาท ซึ่งวัตถุประสงค์ของกฎกระทรวงฉบับที่ 338 ดังกล่าวนั้นมีขึ้นเพื่อที่จะ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรและจูงใจให้ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสมีบุตรเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวก็ยังไม่เพียงพอที่จะจูงใจให้ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสมีบุตรเพิ่มขึ้นเนื่องจากภาระ ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรที่เพิ่มขึ้นจากการมีบุตรเพิ่มนั้นสูงกว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับ นอกจากนี้ ณ ขณะที่ได้จัดทาเอกัตศักษาฉบันนี้ เงื่อนไขในการได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้ค่า คลอดบุตรตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรยังไม่ได้มีการประกาศบังคับใช้ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่กาลังเผชิญกับปัญหาอัตราการเกิดลดลง แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วต่างก็ประสบปัญหาอัตราการเกิดลดลงที่เช่นกัน โดยประเทศสิงคโปร์ถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีอัตราส่วนผู้สูงอายุมากสุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นประกอบกับอัตราการเกิดของเด็กทารกลดลงอย่างมาก หากสถานการณ์ดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปจะทำให้ประเทศประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้ในอนาคต รัฐบาลประเทศสิงคโปร์จึงได้ออกมาตรการทางสังคมและมาตรการทางภาษีต่าง ๆ มาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ จากการศึกษาพบว่า มีมาตรการส่งเสริมการมีบุตรของประเทศสิงคโปร์บางมาตรการที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในประเทศไทยได้ โดยการกำหนดให้มีการให้ส่วนลดภาษีจากการให้กำเนิดบุตรแทนการยกเว้นภาษีเงินได้ให้ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรส รวมถึงการออกมาตรการเงินฝากเพื่อการพัฒนาเด็กโดยให้กำหนดเงื่อนไขการเบิกจ่ายเช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ อีกทั้งยังเสนอให้กำหนดสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สาหรับค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรครอบคลุมในกรณีที่มารดาไม่มีเงินได้และความเป็นสามีภรรยามีไม่ครบปี ได้แก่ สามีภรรยาตายจากกันในระหว่างปี หรือสามีภรรยาหย่าขาดจากกันระหว่างปี หรือสามีภรรยาแต่งงานกันระหว่างปี รวมถึงกรณีชายและหญิงอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาอย่างเปิดเผยโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่ได้มีการให้กำเนิดบุตรen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.49-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเกิดen_US
dc.subjectการคลอดen_US
dc.titleมาตรการทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อส่งเสริมการมีบุตรen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordอัตราการเกิดen_US
dc.subject.keywordสังคมผู้สูงอายุen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.49-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 62551 34.pdf660.01 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.