Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61117
Title: การพัฒนาแพลตฟอร์มรับแรงสำหรับการวิเคราะห์แรงจากการยืนและเดินของสุนัข
Other Titles: Development of force platform for analyses of force due to standing and gait analysis in canine
Authors: พชร ชลายน
Advisors: ชัญชนา ตั้งวงศ์ศานต์
สุมิตร ดุรงค์พงษ์ธร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chanchana.T@Chula.ac.th
Sumit.D@Chula.ac.th
Subjects: แรง -- การวัด -- เครื่องมือและอุปกรณ์
สุนัข -- สรีรวิทยา
Force and energy -- Measurement -- Equipment and supplies
Dogs -- Physiology
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบแพลตฟอร์มรับแรงในงานวิจัยนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับการวัดการกดน้ำหนักของฝ่าเท้าสุนัขขณะยืนและเดิน ระบบประกอบด้วยระบบตรวจวัดแรง ระบบเก็บข้อมูลและโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล ระบบตรวจวัดแรงที่นำมาจัดเรียงในพื้นที่ขนาด 12x12 cm2 ประกอบด้วยเซนเซอร์จำนวน 144 ตัว ระบบถูกทดสอบและปรับเทียบมาตรฐาน โดยใช้น้ำหนักมาตรฐานจำนวน 25 ชิ้นที่น้ำหนัก 40 g ถึง 3000 g วางลงบนเซนเซอร์แต่ละตัว สมการเทียบมาตรฐานที่ได้สามารถแบ่งเป็น 5 ช่วงตามน้ำหนักที่มีเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดน้อยกว่า 5% ระบบแพลตฟอร์มรับแรงถูกนำไปทดสอบต่อเพื่อตรวจสอบความแม่นยำในการตรวจวัดการกระจายน้ำหนักด้วยมวลมาตรฐานที่มีรูปร่างของฐานที่แตกต่างกัน 3 แบบ ได้ผลที่มีเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดน้อยกว่า 3.5% จากนั้นจึงนำมาตรวจวัดการยืนโดยใช้สุนัข_48_ตัว ที่มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 2-40 kg ถูกเลือกและตรวจร่างกายโดยสัตวแพทย์ สุนัขทั้งหมดแบ่งเป็น_3_กลุ่ม เป็นสุนัขปกติ สุนัขมีความผิดปกติที่มีโรคกล้ามเนื้อและกระดูกและสุนัขที่น้ำหนักเกินมาตรฐาน จากการตรวจวัดการยืน สุนัขปกติมีอัตราส่วนค่าเฉลี่ยของน้ำหนักที่กดลงบนเท้าคู่หน้าต่อเท้าคู่หลัง (คู่หน้า:คู่หลัง) อยู่ที่ประมาณ 61:39 และอัตราส่วนค่าเฉลี่ยของน้ำหนักที่กดลงบนเท้าคู่ซ้ายต่อเท้าคู่ขวา (คู่ซ้าย:คู่ขวา) มีค่าประมาณ 50:50 โดยมีเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของน้ำหนักที่กดลงบนเท้าคู่ซ้ายและเท้าคู่ขวาที่น้อยกว่า 7.3% สำหรับสุนัขที่ผิดปกติอัตราส่วน คู่หน้า:คู่หลัง มีค่าประมาณ 67:33 และมีอัตราส่วน คู่ซ้าย:คู่ขวา อยู่ในช่วง_27:73_ถึง_74:26_โดยมีความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของน้ำหนักที่กดลงบนเท้าคู่ซ้ายต่อเท้าคู่ขวาที่ในช่วง 4.4-97% สำหรับสุนัขที่มีน้ำหนักเกินมีอัตราส่วน คู่หน้า:คู่หลัง มีค่าประมาณ 58:42 และมีอัตราส่วน คู่ซ้าย:คู่ขวา ที่ 50:50 สำหรับการตรวจวัดการเดินโดยใช้สุนัข 3 ตัว (สุนัขปกติ 2 ตัวและสุนัขที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน 1 ตัว) ในสุนัขปกติจะมีแรงกดสูงสุดที่ขาหน้าในขณะเดินเป็น 1.6 เท่าของแรงกดขณะยืน มีแรงกดสูงสุดที่เท้าหลังขณะเดินเป็น 1.48 เท่าของแรงกดขณะยืนและมีอัตราส่วน คู่หน้า:คู่หลัง ขณะเดินอยู่ที่ประมาณ 60:40 สำหรับสุนัขที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานจะมีแรงกดสูงสุดที่เท้าหน้าขณะเดินเป็น 0.95 เท่าของแรงกดขณะยืน มีแรงกดสูงสุดที่เท้าหลังขณะเดินเป็น 1.29 เท่าของแรงกดขณะยืนและมีอัตราส่วน คู่หน้า:คู่หลัง ขณะเดินอยู่ที่ประมาณ 52:48
Other Abstract: A force platform system has been developed for measurement of weight applied by each paw of canines when they are standing and walking. The system is composed of a force sensing system, a data acquisition system and a data analysis program. The active area of the force sensing system is 12x12 cm2and consisted of 144 sensors. The system was tested and calibrated using 25 standard weights varied from 40 g to 3,000 g by placing each standard weight on each sensor. The obtained calibration curve is divided and fitted using 5 equations with less than 5% error. The system was further tested, to ensure the accuracy of the detection of the weight distribution, using standard weights with 3 different base-shapes. The results were less than 3.5% error. The animal standing tests were then performed using 48 dogs varied from 2-40 kg randomly chosen and physically examined by veterinarians. The dogs were grouped into 3 groups, healthy dog, abnormal dog with musculoskeletal diseases and obese dog. The obtained results for healthy dogs, the ratio of the average weight applied on the forelimbs to the hindlimbs (fore:hind) is around 61:39 and the ratio of the average weight applied on the left limbs to the right limbs (left:right) is around 50:50 with less than 7.3% difference between left and right limb for both fore limbs and hind limbs. For abnormal dogs, the fore:hind is about 67:33 and the left:right are not consistent ranging from 27:73 to 74:26 with the difference between left and right limb varies from 4.4% to 97%. For obese dogs, the fore:hind is about 58:42 and the left:right is 50:50. For the animal walking test using 3 dogs (2 healthy dogs and 1 obese dog), the results of health dog show the maximum weight applied on the forelimb while walking is approximately 1.6 times of the average weight applied while standing. The maximum weight applied on the hindlimb while walking is approximate 1.48 times of the average weight applied while standing. The fore:hind while walking is approximately 60:40. The results from the obese dog show the maximum weight applied on the forelimb while walking is approximately 0.95 times of the average weight applied while standing. The maximum weight applied on the hindlimb while walking is approximate 1.29 times of the average weight applied while standing. The fore:hind while walking is approximate 52:48.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61117
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1384
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1384
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pachara Chalayon.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.