Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61250
Title: การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพชุดเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการทางสมองและระบบประสาท สำหรับเด็กไทยวัย 12 และ 18 เดือน ผ่านพฤติกรรมการมอง
Other Titles: Development and validation of neurodevelopmental measures for Thai children aged 12 and 18 months: visual assessment
Authors: เพลงไพร รัตนาจารย์
Advisors: พรรณระพี สุทธิวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Panrapee.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของชุดเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทสำหรับเด็กไทยผ่านพฤติกรรมการมอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้คือ เด็กไทยอายุ 12 เดือน จำนวน 30 คน และเด็กไทยอายุ 18 เดือน จำนวน 30 คน จากครอบครัวที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เครื่องมือที่พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพในงานวิจัยนี้ได้แก่ 1.วิธีการแสดงภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Familiarization) พัฒนาตามแนวคิดของ Rose,   Jankowski & Feldman (2002)  2.วิธีการถ่ายทอดข้ามหมวดการรับรู้ (Cross-modal transfer) พัฒนาตามแนวคิดของ Rose, Feldman, Wallance และ McCarton (1991) 3.วิธีการเปรียบเทียบการมองภาพ 2 ภาพ (Visual-paired comparison) พัฒนาตามแนวคิดของ Rose, Feldman และ Jankowski (2001) และ มีการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของชุดเครื่องมือนี้โดยวิธีการหาความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินหรือสังเกตและวัดความตรงตามโครงสร้าง ในการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของชุดเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการทางสมองและระบบประสาททั้ง 3 การประเมินมีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินในระดับที่สูง (r= .903 -.914) วิธีการแสดงภาพอย่างต่อเนื่องมีความตรงตามโครงสร้างที่วิเคราะห์ค่าสถิติด้วย t-test พบว่าเด็กอายุ 18 เดือนมีความเร็วในการประมวลผลดีกว่าเด็กอายุ 12 เดือน (t = -3.098, p < .005)
Other Abstract: This study aimed to develop and validate a set of neurodevelopmental measures for Thai infants aged 12 months and 18 months via visual assessment. Participants were Thai infants aged 12 months and 18 months (30 infants in each group) who lived in Bangkok. The measures that developed and validated in this study were 1.Continuous familiarization, measuring processing speed (modified from Rose, Jankowski & Feldman, 2002) 2.Cross-modal transfer, measuring   representational competence (modified from Rose, Feldman, Wallance & McCarton,1991) and 3.Visual-paired comparison, measuring immediate visual recognition (modified from Rose, Feldman & Jankowski, 2001). The psychometric properties of the measures were evaluated by inter-rater reliability and construct validity. All 3 neurodevelopmental measures had high inter-rater reliability (r=.903-.914). The construct validity of continuous familiarization examined by t-test between two age groups revealed the significant higher processing speed of the 18-month-old infants when compared to the 12-month-old counterparts (t = -3.098, p < .005)
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61250
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.740
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.740
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5977621738.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.