Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61268
Title: | ประสิทธิผลของการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการลดน้ำหนักในนิสิตระดับปริญญาตรีที่มีภาวะน้ำหนักเกิน |
Other Titles: | Effectiveness of social media for weight reduction in overweight undergraduate students |
Authors: | ธัมมะธิดา พัฒนพงศา |
Advisors: | ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Piya.H@Chula.ac.th Wiroj.J@Chula.ac.th |
Subjects: | สื่อสังคมออนไลน์ นักศึกษา -- ไทย การลดความอ้วน กายบริหารเพื่อลดน้ำหนัก โรคอ้วน Social media Students -- Thailand Weight loss Reducing exercises Obesity |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การแก้ปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินในประชากรถือเป็นความท้าทายที่สำคัญด้านสาธารณสุข โดยมีความสนใจที่จะนำสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook มาใช้ในการทำกิจกรรมเพื่อส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทำให้น้ำหนักตัวลดลง วัตถุประสงค์แรกของการศึกษานี้คือการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้กิจกรรมการลดน้ำหนักในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ผ่านมา โดยการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูล PubMed Scopus และ Cochrane Library โดยสืบค้นในช่วงปี พ.ศ. 2548-2557 เลือกงานวิจัยการทดลองแบบสุ่มที่ใช้ภาษาอังกฤษหรือไทย ภายใต้คำสำคัญที่ใช้สืบค้นเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินและการใช้สื่อสังคมออนไลน์พบว่ามีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 436 บทความ และที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 2 บทความ โดยการศึกษาดังกล่าวมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ คือ Facebook หรือ Twitter และพบความแตกต่างในผลการลดลงของน้ำหนักระหว่างกลุ่มทั้งที่ให้ผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและที่ไม่พบความแตกต่าง อันจะเห็นได้ว่างานวิจัยทางด้านนี้ยังมีปริมาณน้อยและผลในภาพรวมยังไม่ชัดเจน วัตถุประสงค์ที่สองของการศึกษานี้คือการทดลองเพื่อเปรียบเทียบผลของการประยุกต์ใช้กิจกรรมการลดน้ำหนักในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินในกลุ่มทดลองที่ทำกิจกรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ทำกิจกรรมแบบออฟไลน์และใช้หนังสือคู่มือเป็นสื่อ โดยใช้ระยะเวลาศึกษา 6 เดือน แบ่งเป็นช่วงทดลอง 4 เดือน และช่วงติดตามผล 2 เดือน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 66 คนเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีจากคณะต่าง ๆ ที่ถูกสุ่มเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แต่ละกลุ่มมีอาสาสมัครจำนวน 33 คน ทั้งสองกลุ่มมีพื้นฐานกิจกรรมคล้ายกันคือการเรียนรู้จากหลักสูตรด้านโภชนาการและการออกกำลังกาย การรายงานน้ำหนักประจำวัน การได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และกิจกรรมการถามตอบคำถาม ส่วนที่แตกต่างคือการจัดกิจกรรมแบบออนไลน์ผ่าน Facebook หรือแบบออฟไลน์โดยใช้หนังสือคู่มือและติดต่อผ่านทางเอกสาร ข้อมูลพื้นฐานของทั้งสองกลุ่มก่อนเริ่มทดลองไม่แตกต่างกันยกเว้นรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีการร่วมกิจกรรมขอรับคำปรึกษามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีการเพิ่มของคะแนนด้านความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อวัดตั้งแต่ก่อนทดลองจนถึงเดือนที่ 6 ทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจเมื่อสิ้นสุดเดือนที่ 4 และ 6 ในระดับดีมาก และระดับ Body Mass Index (BMI) และ Weight-to-Height Ratio (WHtR) ณ เดือนที่ 4 ของกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ Mean diff (95% Cl) เท่ากับ 0.72 (0.13,1.30) และ 0.00758 (0.00157,0.01358) ตามลำดับ แต่การลดลงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเมื่อวัด ณ เดือนที่ 6 อันแสดงให้เห็นว่าการใช้สื่อสังคมออนไลน์ Facebook สามารถส่งผลต่อการลดลงของค่า BMI และ WHtR ในช่วงการทดลองแต่ผลที่ได้อาจไม่ยั่งยืน ซึ่งการจะนำสื่อสังคมออนไลน์ไปใช้ในทางสาธารณสุขควรพิจารณาประเด็นจากการศึกษาเหล่านี้ด้วย |
Other Abstract: | Addressing overweight in the population is an important public health challenge. Using social media such as Facebook has been proposed as a platform to deliver weight-loss interventions to influence behavior change to tackle obesity. The first objective of this study is to conduct systematic review of evidence to understand the effectiveness of social media interventions for weight reduction among overweight and obese people. Databases for systematic review include PubMed, Scopus and Cochrane Library databases. Only the studies using Randomized Control Trials (RCT) published in English or Thai languages between year 2005-2014 were included. The search terms related to Overweight and Social Media were used. We found 436 related articles, of which only two RCT articles passed the inclusion and exclusion criteria. The two articles used Facebook or Twitter and there were both positive and negative results in term of weight loss. The review indicates that there was still limited knowledge related to this topic with unclear effect of social media on weight reduction. The second objective is to compare the effectiveness of weight loss education and support services using Facebook versus offline support systems. The 6-month study period comprised of 4-month intervention period and 2-month follow-up period. The 66 samples were undergraduate students from different faculties which were randomly assigned to the experimental (social media) group or the control (manual book) group. Each group comprised of 33 samples. Both received same basic activities including nutrition and exercise learning, daily weighing self-report, expert advice services and Q&A session. The difference between the experimental and the control group was in the use of Facebook versus offline support systems. Baseline characteristics of the two groups were not different except in their average monthly income. The result found that the experimental group was statistically more active in counseling activities and there is statistically significant difference in the average increase in knowledge score from 1st and 6th month. Both groups had an increase in satisfaction scores at the end of 4th and 6th month. The intervention group has significantly higher reduction in both the Body Mass Index (BMI) and Weight-to-Height Ratio (WHtR) at 4th month compared to the reduction in the control group, with the mean difference of 0.72 (0.13,1.30) and 0.00758 (0.00157,0.01358), respectively. The differences, however, became insignificant at the 6th month period. That means Facebook could be the tool to reduce the BMI and WHtR in the intervention period but the effect might not be sustained. The findings from this study should be considered for further public health planning and scaling up of social media interventions for weight reduction. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61268 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.699 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.699 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574906730.pdf | 2.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.