Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6135
Title: การใช้ประโยชน์ที่ดินและการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน ในย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาย่านสีลม สาทร
Other Titles: Land utilization and infrastructure provision in the Bangkok central business district : a case study of Silom-Sathorn area
Authors: กมลรัตน์ บำรุงตน
Advisors: นพนันท์ ตาปนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Nopanant.T@chula.ac.th
Subjects: การใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ย่านการค้ากลางใจเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
สาธารณูปโภค -- ไทย -- กรุงเทพฯ
สีลม (กรุงเทพฯ)
สาทร (กรุงเทพฯ)
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน อาคาร กิจกรรมและศักยภาพโดยขีดความสามารถในการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อประเมินความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยศักยภาพของบริการโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเป็นแนวทางการสร้างเสริมประสิทธิภาพของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่เหมาะสมต่อศักยภาพของพื้นที่ย่านพาณิชยรรมศูนย์กลางกรุงเทพมหานคร ย่านสีลม-สาทร จากการศึกษาสภาพการพัฒนาพื้นที่ในปัจจุบันพบว่า ภายในพื้นที่ประกอบด้วยความหลากหลายของกิจกรรมและการใช้ที่ดิน ในขณะที่ความหนาแน่นของความเข้มข้นในการใช้ที่ดิน (Density Intensity) ของการพัฒนาภายในพื้นที่ โดยพิจารณาจากค่า F.A.R. พบว่าหลายๆ ส่วนพื้นที่กว่า 72.47% ของพื้นที่ทั้งหมดเป็นบริเวณที่มีค่า F.A.R. ต่ำกว่า 5:1 จากการศึกษาถึงขีดความสามารถสูงสุดในการให้บริการโดยระบบโครงสร้างพื้นฐาน ในการพิจารณาเปรียบเทียบโดยรวมทุกระบบถึงระดับศักยภาพในการรองรับการพัฒนา พบว่าระบบคมนาคมขนส่งซึ่งได้แก่ระบบถนนและระบบขนส่งสาธารณะทางราง (รถไฟฟ้า) ถือเป็นขีดความสามารถสูงสุดระดับฐานของการรองรับการพัฒนา จากการประเมินเปรียบเทียบลักษณะการใช้ที่ดินกับศักยภาพในการให้บริการสูงสุด ในระดับฐานการรองรับการพัฒนาพบว่า ย่านสีลม-สาทร ประกอบด้วยพื้นที่ที่มีระดับการพัฒนาที่ต่ำกว่าประสิทธิภาพ ในการรองรับการพัฒนาโดยระบบพื้นฐานคิดเป็น 58.56% ในขณะที่พื้นที่ที่มีการพัฒนาการใช้ที่ดินที่เข้มข้น ของความหนาแน่นของการพัฒนาเกินกว่าระบบพื้นฐานจะสามารถรองรับได้ คิดเป็นพื้นที่ 41.44% ของพื้นที่ทั้งหมด แต่ถ้าพิจารณาภาพรวมการพัฒนาทั้งหมดของพื้นที่สีลม-สาทร พบว่ามีความหนาแน่นของการพัฒนาเกินกว่าที่ ระบบบริการพื้นฐานจะรองรับการให้บริการได้ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาที่ไม่เกิดความสมดุลทั้งพื้นที่ กลุ่มพื้นที่ที่มีการพัฒนาความเข้มข้นของการใช้ที่ดินสูง จะเกาะกลุ่มตามแนวของถนนสายหลักมากกว่า ส่งผลให้พื้นที่ด้านในกลายเป็นพื้นที่ปิดล้อมไม่ดึงดูดให้เกิดการพัฒนา แนวทางการพัฒนาเพื่อให้พื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินต่ำมีการพัฒนาเกิดขึ้น รวมถึงสอดคล้องกับร่างกฎกระทรวงผังเมืองรวม จึงเสนอให้ขยายเขตทางของถนนและขยายระบบขนส่งสาธารณะทางราง(รถไฟฟ้า) ในพื้นที่ที่มีการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ
Other Abstract: To study land and building utilization, activity characteristics and the capacity of infrastructure provision for evaluates the proper of land utilization by the capacity of serving infrastructure in order to propose guidelines for encourage efficiency land utilization that appropriates with the potentiality of central business district, Silom-Sathorn. The study found that the existing development in this area consist of various activities and land utilization. The density intensity of development which considers from floor area ratio found that more than 72.47% of study area has floor area ratio lower than 5 : 1. From the study of the capacity of infrastructure provision by compare each system found that the transportation system such as road system and mass rail transit system is the limit of capacity development. From comparing land use characteristics with the limit of capacity development found that Silom-Sathorn consist of development intensity area lower than the capacity of infrastructure provisionto 58.56%. The density intensity of development area over than the limit of capacity development is 41.44% in the study area. When consider the entire study area, the development intensity is more than the capacity of serving infrastructure. This result can identify that study area has not balance development. The groups that high development locate along the main road. It makes the internal areas have not attractive for development. The planning guidelines for solving lower development area and suitable with the draft of comprehensive plan ministry regulation. This research suggest to enlarge the right of way and the mass rapid transit system in lower infrastructure provision zones.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6135
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.525
ISBN: 9741744757
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.525
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kamolrat.pdf15.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.