Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61424
Title: การเปิดรับ ความน่าเชื่อถือของรายการโฮมช็อปปิ้งในทีวีดิจิทัลและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
Other Titles: Consumers’ exposure, credibility of TV home shopping program and their buying desicions
Authors: พรทรัพย์ ฉัตรศิริสุข
Advisors: พนม คลี่ฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: พฤติกรรมผู้บริโภค
การตัดสินใจ
โฆษณา
Consumer behavior
Decision making
Advertising
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจการเปิดรับ ความน่าเชื่อถือของรายการโฮมช็อปปิ้งในทีวีดิจิทัล และการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค 2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับรายการโฮมช็อปปิ้งในทีวีดิจิทัลของผู้บริโภคกับความน่าเชื่อถือของรายการโฮมช็อปปิ้งในทีวีดิจิทัล 3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อถือของรายการโฮมช็อปปิ้งในทีวีดิจิทัลกับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค 4) เพื่ออธิบายความแตกต่างการเปิดรับ และความน่าเชื่อถือในกลุ่มผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ อาชีพ ต่างกันของรายการโฮมช็อปปิ้งในทีวีดิจิทัล เป็นการวิจัยจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลกับผู้บริโภคที่รับชมรายการโฮมช็อปปิ้งในทีวีดิจิทัล ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพพมหานคร จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความถี่การรับชมรายการโฮมช็อปปิ้งในทีวีดิจิทัลในระดับน้อย โดยรับชมขณะอยู่ที่บ้านมากที่สุด รองลงมาคือ รับชมบนพาหนะระหว่างเดินทางและรับชมที่ทำงาน ทั้งนี้รับชมผ่านทางโทรทัศน์มากที่สุด รองลงมาคือโทรศัพท์มือถือ  ช่วงเวลาที่ชมมากที่สุดคือ 17.01-21.00 น. ความน่าเชื่อถือของรายการโฮมช็อปปิ้งในทีวีดิจิทัล พบว่า ความน่าเชื่อถือโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ความน่าเชื่อถือด้านความไว้วางใจ ด้านความสมเหตุสมผล และด้านวิธีการนำเสนออยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านคุณธรรม อยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนการตัดสินใจซื้อสินค้าในรายการโฮมช็อปปิ้งในทีวีดิจิทัลอยู่ในระดับปานกลาง โดยพบว่า เป็นลักษณะการตัดสินใจซื้อแบบวางแผนการซื้อเพียงบางส่วน กล่าวคือการที่ผู้บริโภครับรู้ความต้องการของตนเอง และตั้งใจที่จะซื้อ แต่ยังไม่ได้ระบุสินค้า หรือระยะเวลาการซื้อ เพียงแต่เมื่อรับชมรายการโฮมช็อปปิ้งจึงตัดสินใจซื้อ  ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความถี่ในการเปิดรับรายการโฮมช็อปปิ้งในทีวีดิจิทัลมีความสัมพันธ์กับความน่าเชื่อถือของรายการโฮมช็อปปิ้งในทีวีดิจิทัลโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำ มีทิศทางแปรตามกัน ในด้านความน่าเชื่อถือของรายการโฮมช็อปปิ้งในทีวีดิจิทัลพบว่า มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นความสัมพันธ์ระดับปานกลาง  มีทิศทางแปรตามกัน นอกจากนี้พบว่า ผู้บริโภคที่รับชมรายการที่มี อายุ  และ อาชีพต่างกันมีความถี่ในการเปิดรับ และความเชื่อถือของรายการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The objectives of this study are (1) to explore consumers’ exposure, credibility of TV home shopping program and their buying decisions (2) to explain the relationship between consumers’ exposure and credibility (3) to explain the relationship between credibility and their buying decisions (4) to describe the difference of consumers’ exposure and the their credibility of the program among their gender, age and occupation. This study is a survey research. The questionnaires are used for data collection from 400 sample who ้have ever watched TV home shopping program. The results revealed that the sample has low level of frequency of watching TV home shopping program. Most of them watch the program at home and secondary is on during traveling and at workplace respectively. In order that, they usually watch the program on television and sometimes on the mobile phone. The peak of popular period of watching the program is 5.01-9.00 pm. The credibility of TV home shopping program has high level. When it was considered in each section, the credibility of trust, reasonable and the method of presentation technique has high level while the credibility of morality has moderate level. Consumers’ buying decisions has moderate level. It was found that the pattern of buying decisions come from some of planning. Hypothesis testing result showed that the frequency of watching TV home shopping program has a significant relationship with amount of credibility of the program at the statistical level of .05 which is in low level and has a positive relationship. In addition, credibility of the program has a significant relationship with consumers’ buying decisions at the statistical level of .05 which is in moderate level and has a positive relationship. Accordingly, the difference in age and occupation of consumers have the differences frequency of exposure and credibility of the program at the statistical level of .05
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61424
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.841
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.841
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6084872428.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.