Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61790
Title: | การเกิดไบโอฟิล์มของซูโดโมแนสบนเหล็กกล้าไร้สนิมและการถ่ายโอนของซูโดโมแนสระหว่างการหั่นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ |
Other Titles: | Formation of Pseudomonas biofilm on stainless steel and transfer of Pseudomonas during meat product slicing |
Authors: | ปาริชาติ แสงสุวรรณ์ |
Advisors: | รมณี สงวนดีกุล สุเมธ ตันตระเธียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Romanee.S@Chula.ac.th sumat.t@chula.ac.th |
Subjects: | ไบโอฟิล์ม เหล็กกล้าไร้สนิม อุตสาหกรรมอาหาร -- การควบคุมคุณภาพ Biofilms Stainless steel Food industry and trade -- Quality control Pseudomonas |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัจจัยในการเกาะติดและการเกิดไบโอฟิล์มของ Pseudomonas fluorescens TISTR 358 บนพื้นผิวสัมผัสอาหาร ได้แก่ ปริมาณเชื้อเริ่มต้นในตัวกลาง อุณหภูมิและชนิดของอาหาร พบว่าในสภาวะที่มีเชื้อจำนวนมาก (8 log CFU/mL) เพียงสัมผัส (0นาที) ก็เพียงพอให้ Pseudomonas fluorescens สามารถเกาะติดบนแผ่นสเตนเลสสตีลเกรด 304 ชนิด 2B และตรวจพบเชื้อได้ ส่วนสภาวะที่มีเชื้อน้อย (3 log CFU/mL) ตรวจพบแบคทีเรียหลังจากทิ้งไว้ให้เพิ่มจำนวนเป็นเวลา 10 ชั่วโมง แบคทีเรียสามารถเกาะติดบนพื้นผิวสเตนเลสสตีลและเกิดไบโอฟิล์มได้ โดยพบว่า P. fluorescens สามารถเกาะติดและเพิ่มจำนวนเซลล์บนพื้นผิวทดสอบหลังจากบ่มแผ่นทดสอบไว้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยมีจำนวนเซลล์ 3.72 ± 0.34 log CFU/cm2 และจำนวนเซลล์บนแผ่นทดสอบมากที่สุดหลังจากการบ่มแผ่นทดสอบได้ 48 ชั่วโมงโดยมีค่า 5.05± 0.18 log CFU/cm2 สำหรับในสภาวะที่มีเชื้อจำนวนมาก (8 log CFU/mL) P. fluorescens สามารถเพิ่มจำนวนเซลล์ได้บนพื้นผิวสเตนเลสสตีลที่อุณหภูมิ 28 °C ดีกว่าที่อุณหภูมิ 20 °C และ 15 °C โดยมีจำนวนเท่ากับ 4.97 ± 0.22, 4.85 ± 0.18 และ 4.22 ± 0.20 log CFU/cm2 ที่ 24 ชั่วโมง ตามลำดับ ส่วนการเปลี่ยนแปลงชนิดอาหารตัวกลาง ได้แก่ สารละลายเกลือความเข้มข้นร้อยละ0.85 อาหารเลี้ยงเชื้อ TSB และสารละลาย soiling agent (beef meat 5% w/v) พบว่า เมื่อบ่มแผ่นทดสอบเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จำนวนของเซลล์บนแผ่นทดสอบในน้ำเกลือปลอดเชื้อ อาหารเลี้ยงเชื้อ TSB และสารละลาย soiling agent (beef meat 5% w/v) เพิ่มขึ้น โดยเซลล์สามารถเกาะติดและเกิดไบโอฟิล์มได้ใกล้เคียงกัน จากนั้นศึกษาการถ่ายโอนของเซลล์ของ P. fluorescens และ P. fluorescens Biofilm ที่ปนเปื้อนบนพื้นผิวใบมีดเครื่องสไลซ์เนื้อสู่ผลิตภัณฑ์อาหาร ในกรณีที่ปริมาณเชื้อปนเปื้อนในตัวกลางเริ่มต้น 8 log CFU/mL พบว่าใบมีดที่มีการปนเปื้อน P. fluorescens Biofilm มีการโอนถ่ายเซลล์สู่ผลิตภัณฑ์อาหารสูงกว่าการปนเปื้อนพื้นผิวด้วยเซลล์ P. fluorescens โดยสามารถตรวจพบจำนวนเซลล์ในผลิตภัณฑ์ชิ้นที่ 20 เป็นจำนวน 4.15 ± 0.08 log CFU/g และ 2.39 ± 0.17 log CFU/g ตามลำดับ สำหรับการทดสอบที่ปริมาณเชื้อเริ่มต้นระดับต่ำ (3 log CFU/ml) พบว่าเมื่อใบมีดที่มีการปนเปื้อน P. fluorescens Biofilm สามารถตรวจพบเซลล์ในผลิตภัณฑ์ชิ้นที่ 20 เป็นจำนวน 1.83 ± 0.12 log CFU/g ในกรณีของการปนเปื้อนด้วยเซลล์ P. fluorescens สามารถตรวจพบจำนวนเซลล์จากชิ้นเนื้อสไลซ์ เพียง 11 ชิ้น โดยชิ้นสุดท้ายมีจำนวนเซลล์ 1.09 ± 0.04 log CFU/g ในการศึกษาประสิทธิภาพของสารฆ่าเชื้อ ได้แก่ สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์และกรดเปอร์รอกซีแอซีติก ในการลดปริมาณ P. fluorescens เมื่อแขวนลอยอยู่ในตัวกลางชนิดเหลว พบว่า เมื่อปริมาณเชื้อเริ่มต้น 8 log CFU/mL การใช้สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์และกรดเปอร์รอกซีแอซีติกความเข้มข้น 100 ppm สามารถทำลายเซลล์ P. fluorescens ในสารละลายเกลือความเข้มข้นร้อยละ 0.85 ได้ทั้งหมดภายในระยะเวลา 1 นาที แต่อย่างไรก็ตามเมื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารฆ่าเชื้อที่มีความเข้มข้นเท่ากันในการลดปริมาณเซลล์ที่แขวนลอยอยู่ในอาหารเลี้ยงเชื้อ TSB และสารละลาย soiling agent พบว่าสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อลดลง ส่วนในกรณีของกรดเปอร์รอกซีแอซีติก พบว่าสารอาหารในตัวกลางไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์ ในการทดสอบประสิทธิภาพของสารฆ่าเชื้อในการลดปริมาณเซลล์ในไบโอฟิล์ม เมื่อสร้างสภาวะให้เกิดไบโอฟิล์มบนแผ่นทดสอบ ใน TSB เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 28 °C และทดสอบกับสารฆ่าเชื้อทั้งสองชนิด พบว่าเซลล์ของ P. fluorescens ในไบโอฟิล์มทนทานต่อสารฆ่าเชื้อทั้งสองชนิดเพิ่มมากขึ้น โดยสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 400 ppm ไม่สามารถทำลายเซลล์ภายใน ไบโอฟิล์มได้ทั้งหมดเมื่อครบเวลา 30 นาที ส่วนกรดเปอร์รอกซีแอซีติกความเข้มข้น 50 ppm สามารถทำลายเซลล์ภายในไบโอฟิล์มได้ทั้งหมดภายใน 30 นาที |
Other Abstract: | Factors affecting attactment and biofilm formation of Pseudomonas fluorescens TISTR 358 on food contact surface made of stainless steel grade 304/2B were studied, namely initial load of bacterial contamination in the medium, temperature and type of contaminated medium. The studies were done by following the attachment and biofilm formation on the stainless steel coupons for 48 hours under three different treatments: (i) initial inoculums in the medium (8 log and 3 log CFU/mL), (ii) incubation temperature (15, 20 and 30 °C), (iii) type of medium (0.85% NaCl, TSB, soiling agent (beef meat 5% w/v)). It was found that at 0 minute (immediately contact) bacterial cell in the contaminated medium can attach and grow on coupons. The influence of incubation temperature and initial cells of inoculums were studied together. The results showed that at initial contamination load of 3 log CFU/mL, no cell can be detected up to 9 hours but at 24 and 48 hours the number of the bacterial cells were 3.72 ± 0.34 and 5.05 ± 0.18 log CFU/cm2, respectively. The experiment using 8 log CFU/mL gave similar results. The number of the bacterial cells on coupons at 28 °C was higher than at 20 and 15 °C, respectively. Whereas, cells could attach and form biofilm nearly the same in different medium (0.85% NaCl, TSB, soiling agent) at 24 hour. The transfer of P. fluorescens cells and P. fluorescens Biofilm from a contaminated domestic slicing machine to a cooked meat product during slicing were studied. The results showed that the number of cells transferred per slice during slicing by blade contaminated with P. fluorescens Biofilm was higher than blade contaminated with P. fluorescens cells. For the high contaminated medium of 8 log CFU/mL, the number of cells in the last slice (20 slices) of meat in the case of blade contaminated with P. fluorescens Biofilm and contaminated with P. fluorescens cells were 4.15 ± 0.08 and 2.39 ± 0.17 log CFU/g, respectively. While for the low contaminated medium of 3 log CFU/mL, the number of cells in the last slice (20 and 11 slices in contaminated with P. fluorescens Biofilm and with P. fluorescens cells, respectively.) of meat in the case of blade contaminated with P. fluorescens Biofilm and with P. fluorescens cells were 1.83 ± 0.12 log CFU/g and 1.09 ± 0.04 log CFU/g, respectively.The efficacy of sodium hypochlorite (NaOCl) and peroxyacetic acid (POA) were investigated. In planktonic cells, the results showed that NaOCl and POA 100 ppm completely eliminated cells within 1 minute in high contaminated (8 log CFU/mL)0.85% NaCl. However, the same concentration of NaOCl showed less effective in eliminating cells when tested in both TSB or soiling agent. The efficacies of both sanitizers on Pseudomonas biofilm were test at 30 minutes. The results showed that at NaOCl 400 ppm couldn’t completely eliminate cells in biofilm but POA 50 ppm could completely eliminate cells in biofilm. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีทางอาหาร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61790 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1714 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1714 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5072649623_2553.pdf | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.