Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62481
Title: กฎหมายพรรคการเมืองในประเทศไทยศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์ และเชิงวิเคราะห์แนวความคิด
Other Titles: Political Party Laws in Thailand : Historical and Analytical Studies
Authors: วุฒิกร อินทวงศ์
Advisors: บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
ฤทัย หงส์สิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: พรรคการเมือง
การเมืองเปรียบเทียบ
ไทย -- การเมืองและการปกครอง
Political parties
Thailand -- Politics and government
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดทางกฎหมาย เกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมพรรคการเมืองในประเทศไทย โดยศึกษาในเชิงวิเคราะห์แนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายและพรรคการเมืองในต่างประเทศ ดังเช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศสหสัมพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน แล้วนำผลการศึกษามาวิเคราะห์แนวความคิดทางกฎหมายเกี่ยวกับพรรคการเมืองในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่าพรรคการเมืองโดยธรรมชาติแล้ว เป็นผลผลิตของระบบประชาธิปไตยที่ยึดถือหลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน พรรคการเมืองเป็นกลไกอันสำคัญยิ่งในการสร้างจิตสำนึกทางการเมือง และการเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองของประชาชน ดังนั้น หากพรรคการเมืองมีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ เสถียรภาพในทางการเมืองและระบบประชาธิปไตยก็จะมีความั่นคง สำหรับพรรคการเมืองในประเทศไทย จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่าพรรคการเมืองในประเทศไทยยังไม่สามารถพัฒนาไปได้เท่าที่ควร นอกจากสาเหตุอันเกิดจากพรรคการเมืองเองแล้ว สาเหตุหนึ่งก็เนื่องมาจากกฎหมายพรรคการเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาของพรรคการเมือง ทั้งยังก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนต่าง ๆ เกิดขึ้นอีกด้วย ดังนั้น ในขณะนี้จึงมีทางเลือกอยู่เพียง 2 ทาง คือ ยกเลิกกฎหมายพรรคการเมืองฉบับปัจจุบันเสียทั้งฉบับ หรือเปลี่ยนแปลงแนวคิดและหลักการทางกฎหมายที่มุ่งการควบคุมพรรคการเมืองเพียงอย่างเดียว โดยนำเอาแนวความคิดและหลักการในการกำกับดูแลและส่งเสริมพรรคการเมือง อย่างกรณีของกฎหมายพรรคการเมืองสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมาใช้บังคับเพื่อให้การพัฒนาของพรรคการเมืองในประเทศไทยเป็นไปโดยธรรมชาติ และเพื่อให้การรวมตัวของกลุ่มบุคคลที่มีแนวความคิด และอุดมการณ์ทางการเมืองที่เหมอนกันในหลักใหญ่ ๆ หรือคล้ายคลึงกัน สามารถพัฒนาไปสู่การมีแนวความคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกันอย่างแท้จริง ควรลดมาตรการควบคุมลงและเพิ่มมารตรการในการส่งเสริมพรรคการเมือง รวมทั้งสนับสนุนทางด้านการเงินแก่พรรคการเมือง เพื่อให้การดำเนินการของพรรคการเมืองเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม เพื่อให้พรรคการเมืองพัฒนาไปสู่จุดดุลยภาพ แล้วจึงจะได้พิจารณายกเลิกกฎหมายพรรคการเมืองต่อไป
Other Abstract: This thesis aims to study development and nature of political parties in general and to use its findings as a base to analyse political party laws in Thailand. It has been found that political parties, as one of the most important mechanisms in Democracy. Linking the will of the electorate and the responsiveness of political institutions, are parts of political process in each society which cannot be created by laws. They contribute to enhance people’s participation in political process and, therefore, create stability in political system. But as to that political parties, their role is restricted by both political parties laws and related legislation. These laws are major cause of obstacle to political development because they aim to overcontrol parties without any measures to promote their proper role. It is therefore necessary that these laws be either abrogated or amended so as to let parties be free in conducting political activities. Moreover, there should be legal measures to provide financial support for them.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62481
ISBN: 9745827584
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wudbikorn_in_front_p.pdf4.23 MBAdobe PDFView/Open
Wudbikorn_in_ch1_p.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open
Wudbikorn_in_ch2_p.pdf49.47 MBAdobe PDFView/Open
Wudbikorn_in_ch3_p.pdf44.68 MBAdobe PDFView/Open
Wudbikorn_in_ch4_p.pdf31.26 MBAdobe PDFView/Open
Wudbikorn_in_ch5_p.pdf5.08 MBAdobe PDFView/Open
Wudbikorn_in_back_p.pdf5.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.