Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62522
Title: | สมรรถนะของระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Performance of wastewater treatment plant of hospital in Bangkok metropolis |
Authors: | ศาณี ทิพย์ทะเบียนการ |
Advisors: | ธงชัย พรรณสวัสดิ์ พักตร์วิมล เพียงส้ำเลิศ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | น้ำเสีย -- การบำบัด โรงบำบัดน้ำ -- ไทย -- กรุงเทพฯ Sewage -- Purification Water treatment plants -- Thailand -- Bangkok |
Issue Date: | 2534 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา และเปรียบเทียบลักษณะน้ำทิ้งของโรงพยาบาลที่มีขนาดและระบบบำบัดน้ำเสียต่างกัน โดยการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งจากโรงพยาบาท 12 โรงพยาบาล ในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ขนาดของโรงพยาบาลไม่มีผลต่อลักษณะน้ำทิ้งของโรงพยาบาล แต่โรงพยาบาลที่มีระบบบำบัดน้ำเสียต่างแบบกัน ลักษณะน้ำทิ้งจะมีความแตกต่างกัน และพบว่าโรงพยาบาลส่วนใหญ่ไม่สามารถบำบัดน้ำเสียได้ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากสถานพยาบาลที่กำหนดโดยวล. สำหรับระบบบำบัดน้ำเสียมีสมรรถนะในการบำบัดน้ำเสียได้ดีที่สุด ได้แก่ ระบบเอเอส (ACTIVATED SLUDGE) ลักษณะน้ำทิ้งจะมีค่าใกล้เคียงกับค่ามาตรฐานฯมากกว่า ระบบสำเร็จรูปแบบแอโรบิก และบ่อเกรอะ ค่าเฉลี่ยลักษณะน้ำทิ้งของกลุ่มโรงพยาบาลขนาด 50-120 เตียง โรงพยาบาลที่บำบัดน้ำเสียแบบบ่อเกรอะมีค่าบีโอดีเท่ากับ 189.7 มก./ล. ซีโอดีเท่ากับ 352.9 มก./ล. และตะกอนแขวนลอยเท่ากับ 79.0 มก./ล. โรงพยาบาลที่มีการบำบัดน้ำเสียระบบสำเร็จรูปแบบแอโรบิกมีค่าเฉลี่ยบีโอดีเท่ากับ 281.3 มก./ล. ซีโอดีเท่ากับ 119.3 มก./ล.และตะกอนแขวนลอย 38.3 มก./ล. โรงพยาบาลที่มีการบำบัดน้ำเสียแบบเอเอสมีค่าเฉลี่ยบีโอดีเท่ากับ 43.6 มก./ล. ซีโอดีเท่ากับ 97.7 มก./ล.และตะกอนแขวนลอยเท่ากับ 18.6 มก./ล. กลุ่มโรงพยาบาลขนาด 121-500 เตียง โรงพยาบาลที่บำบัดน้ำเสียแบบบ่อเกรอะมีค่าบีโอดีเท่ากับ 176.0 มก./ล. ซีโอดีเท่ากับ 306.8 มก./ล.และตะกอนแขวนลอยเท่ากับ 20.5 มก./ล. โรงพยาบาลที่มีการบำบัดน้ำเสียระบบสำเร็จรูปแบบแอโรบิกมีค่าเฉลี่ยบีโอดีเท่ากับ 121.5 มก./ล. ซีโอดีเท่ากับ 210.2 มก./ล.และตะกอนแขวนลอย 41.3 มก./ล. โรงพยาบาลที่มีการบำบัดน้ำเสียแบบเอเอสมีค่าเฉลี่ยบีโอดีเท่ากับ 45.5 มก./ล. ซีโอดีเท่ากับ 88.8 มก./ล.และตะกอนแขวนลอยเท่ากับ 16.7 มก./ล.กลุ่มโรงพยาบาลขนาด 500 เตียงขึ้นไป โรงพยาบาลที่บำบัดน้ำเสียแบบบ่อเกรอะมีค่าบีโอดีเท่ากับ 142.3 มก./ล. ซีโอดีเท่ากับ 175.6 มก./ล.โรงพยาบาลที่มีการบำบัดน้ำเสียแบบเอเอสมีค่าเฉลี่ยบีโอดีเท่ากับ 47.1 มก./ล. ซีโอดีเท่ากับ 103.0 มก./ล. และตะกอนแขวนลอยเท่ากับ 9.3 มก./ล. |
Other Abstract: | Effects of the hospital size and the type of wastewater treatment plant on the effluent quality was carried out. The effluents discharged from 12 hospitals in Bangkok Metropolis were analysed. The results showed that the effluent quality did not depend on the size (or number of bed) of the hospital but on type of the wastewater treatment process. Almost all of the hospital could not produce effluent with quality conforming to the standards established by NEB. The activated sludge system was better than other processes, namely, septic tank and onsite aerobic package unit in terms of the effluent quality, since its effluent was closer to the standards than the rest. In the 50-120 beds group, the average BOD, COD and SS of the effluent from septic tanks were 189.7, 352.9 and 79.0 mg/l, respectively, where the corresponding figures for the hospitals which treated their wastewater by aerobic package unit was 281.3, 119.3 and 38.3 mg/l. Similarly, the effluent quality from the activated sludge system was 43.6, 97.7 and 18.6 mg/l. In 121-500 beds group, the average BOD, COD and SS of the effluent from septic tanks were 176.0, 306.8 and 20.5 mg/l, respectively, where the corresponding figures for the hospitals which treated their wastewater by aerobic package unit qwas 121.5, 210.2 and 41.3 mg/l. Similarly, the effluent quality from the activated sludge system was 45.5, 88.8 and 16.7 mg/l. In group of the hospital which has more than 500 beds the average BOD, COD and SS of the effluent from activated sludge system was 47.1, 103.0 and 9.3 mg/l and the effluent quality from septic tanks were 142.3, 175.6 mg/l. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62522 |
ISBN: | 9745793876 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sarnee_ti_front_p.pdf | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sarnee_ti_ch1_p.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sarnee_ti_ch2_p.pdf | 6.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sarnee_ti_ch3_p.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sarnee_ti_ch4_p.pdf | 10.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sarnee_ti_ch5_p.pdf | 3.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sarnee_ti_ch6_p.pdf | 2.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sarnee_ti_back_p.pdf | 13.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.