Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62632
Title: ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา (กรณีสนธิสัญญาระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญา)
Other Titles: Mutual assistance in criminal matters between the Kingdom of Thailand and the United States of America
Authors: วิฑูรย์ สัตยเทวา
Advisors: ชุมพร ปัจจุสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ความร่วมมือระหว่างประเทศ
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
กฎหมายระหว่างประเทศ -- คดีอาญา
สนธิสัญญาระหว่างไทยกับรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญา
Criminal justice, Administration of
International cooperation
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การที่ประเทศไทยทำสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญากับสหรัฐอเมริกา โดยมีเจตนารมณ์เพื่อร่วมมือกันปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศ ที่นับวันจะทวีความรุนแรงและสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก โดยอาศัยข้อจำกัดของกฎหมายเมื่อมีการกระทำผิดในดินแดนหลายประเทศ เพราะเหตุข้อจำกัดการใช้กฎหมายภายในดินแดน และกระบวนการยุติธรรมของแต่ละประเทศ โดยลำพังไม่อาจปราบปรามได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า สนธิสัญญาดังกล่าวมีช่องว่างให้มีการตีความข้อจำกัดบางเรื่อง เช่น เรื่องเกี่ยวเนื่องทางการเมืองที่สามารถปฏิเสธไม่ให้ความช่วยเหลือได้ เนื่องจากมีความหมายกว้างมาก การบังคับใช้กฎหมายไม่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยเฉพาะบทลงโทษในการอายัดทรัพย์สินยังไม่มี ทำให้ผู้กระทำผิดไม่เกิดความเกรงกลัวเท่าที่ควร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการอายัดทรัพย์สิน เพื่อตัดโอกาสในการเคลื่อนย้ายหรือทำลายพยานหลักฐานที่สำคัญทางคดี จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาให้สามารถอายัดทรัพย์สิน รวมทั้งกำหนดกรอบความหมายของคำบางเรื่องที่เป็นข้อจำกัดที่ไม่อาจให้ความช่วยเหลือได้ ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีบทลงโทษในเรื่องการอายัดและริบทรัพย์สิน ให้สามารถอายัดและริบทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดได้ เพื่อช่วยให้การปราบปรามอาชญากรรมมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: The very reason that causes Thailand to enter into a bilateral treaty on assistance in criminal matters with the United States of America to cooperate in the curbing of international crimes which more and more increase their violence and thereby cause severe damage. These incidents of international crimes have been hinged upon the limitation of the application of criminal law within a country’s jurisdiction; whereas the crimes are transborder. The criminal procedure in each particular country alone seems to be unable to suppress them efficiently. Therefore, the international cooperation comes into play. The study shows that the above mention treaty still has gaps that allow interpretation. Certain limitations such as the one on politics seem to be a broad brush that can sweep away the request for cooperation. In addition, the less than prompt and efficient enforcement, and the lacking of garnishment, a prerequisite to ensure non-removal or destruction of important material evidence for the incumbent procedure, cause problems. All in all, the offender seems to take his chance for being insufficiently deterred by the weak law enforcement. It is thereby necessary to call for a revision of the treaty to allow garnishment as well as to define certain limitations which in itself limits the chance to fend away the required mutual assistance. Once the limitations are well defined and the garnishment is put into action, the seizure of property of the offender will become certain. This, in turn, will result in a more efficient suppression of crimes.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62632
ISBN: 9746368192
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vitoon_sa_front.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open
Vitoon_sa_ch1.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open
Vitoon_sa_ch2.pdf13.17 MBAdobe PDFView/Open
Vitoon_sa_ch3.pdf27.69 MBAdobe PDFView/Open
Vitoon_sa_ch4.pdf16.4 MBAdobe PDFView/Open
Vitoon_sa_ch5.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open
Vitoon_sa_back.pdf9.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.