Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62753
Title: | นโยบายฝักใฝ่โซเวียตของเวียดนาม : ศึกษาปัจจัยที่กำหนดทางเลือกของเวียดนาม ปี ค.ศ. 1978-1979 |
Other Titles: | Vietnam's alignment policy towards the Soviet Union : a study of factors influencing Vietnam's Options (1978-1979) |
Authors: | สิริบุญ บุญเปี่ยม |
Advisors: | เขียน ธีระวิทย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | เวียดนาม -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- รุสเซีย 1978-1979 โซเวียต -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- เวียดนาม (1978-1979) เวียดนาม -- การเมืองและการปกครอง |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความสัมพันธ์ระหว่างโซเวียตและเวียดนามในช่วงปี 1978-1979 นี้ นับว่าเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะที่ใกล้ชิดผูกพันมากกว่าที่เคยเป็นมา ปัจจัยที่มีส่วนในการกำหนดนโยบายฝักใฝ่โซเวียดของเวียดนามในช่วงนี้มีหลายประการและเกี่ยวพันกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านผู้นำที่ส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสและเคยมีบทบาทในพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ซึ่งใกล้ชิดกับโซเวียตมาก่อน การที่ผู้นำที่นิยมจีนหลายคนถูกปลด รวมทั้งความคิดดั้งเดิมของเวียดนามที่เกรงกลัวจีนว่าเป็นศัตรูสำคัญที่เวียดนามต้องต่อสู้ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ความขัดแย้งระหว่างจีนและเวียดนาม เป้าหมายร่วมกันระหว่างเวียดนามและโซเวียตในการปิดล้อมจีน รวมทั้งสมรรถนะทางเศรษฐกิจที่โซเวียตสามารถให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนามได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนมส่วนต่อการเลือกดำเนินนโยบายฝักใฝ่โซเวียตของเวียดนามทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าวอาจกล่าวได้ว่าเป็นเพียงส่วนประกอบในการกำหนดนโยบายของเวียดนามเท่านั้น เนื่องจากหากพิจารณาถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวียดนามในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ตั้งแต่การที่เวียดนามสมัครเข้า Council for Mutual Economic Assistance ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1978 โดยเฉพาะการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือระหว่างเวียดนามกับโซเวียตในปลายปี ค.ศ.1978 และหลังจากนั้นไม่นานเวียดนามก็ใช้กองกำลังทหารของตนบุกพนมเปญและจัดตั้งรัฐบาลหุ่น คือ เฮงสัมริน ขึ้นมา และไม่ยอมถอนทหาร 180,000 คนออกไปจากกัมพูชา การที่เวียดนามคงทหารของตน 40,000-50,000 คนไว้ในลาวเช่นกันนั้น จึงอาจเห็นได้ว่า เป้าหมายที่แท้จริงในการเลือกดำเนินนโยบายฝักใฝ่โซเวียตในช่วงเวลานี้ น่าจะเป็นเพื่อสนองเจตนารมย์ในการจัดตั้ง "สหพันธ์อินโดจีน" มากกว่า ดังจะเห็นได้จากสนธิสัญญาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนาม-ลาว ลาว-กัมพูชา และเวียดนามกับกัมพูชา จากสายโยงใยขอความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยมีเวียดนามเป็นแกนนำ ย่อมทำให้เห็นว่า "สหพันธ์อินโดจีน" ซึ่งเป็นเป้าหมายของ "จักรวรรดินิยม" เวียดนามนั้นได้เกิดขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ |
Other Abstract: | The relationship between the Soviet Union and Vietnam during the years 1978 and 1979 can be characterized as closer than ever before. Vietnam's alignment policy towards the Soviet Union was due to many connecting factors, namely the continuity in power of the Vietnamese elites who had intimate connection with the Soviet Union, the purge of the pro-Chinese elements of the Vietnamese elites, and the fear of the Chinese threat on the part of the Vietnamese whose suspicion against China's expansionism had been deeply rooted. Moreover, the Soviet Union and Vietnam have one symbiotically common purpose, the encirclement and containment of China. These factors, together with the Soviet economic power, have contributed to the orientation of the Vietnam's policy towards the Soviet Union. However, these factors are, by no means, the only decisive factors that influence and shape the Vietnam's policy. There are many indications which show that such policy has been conditioned and shaped by some other more important factors and considerations. the invasion of Kampuchea and the setting up of the puppet regime in Phnom Penh in January 1979, after joining Council for Mutual Economic Assistance (COMECON) in June 1978 and the conclusion of Treaty of Friendship and Cooperation between the Soviet Union and Vietnam in November 1978, the maintenance of about 180,000 Vietnamese troops in Kampuchea and 40,000-50,000 military personnel and technicians in Laos, are important indicators to explain the real objective of Vietnam in her alignment with the Soviet Union, that is to fulfill her desire towards the creation of so-called Indochinese Federation. The linkage of Indochina States friendship treaties (Vietnam-Laos-Kampuchea) indicate that the inchoate "Indochinese Federation" has formally begun to take its root. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62753 |
ISBN: | 9745647705 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Siriboon_bo_front_p.pdf | 5.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriboon_bo_ch1_p.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriboon_bo_ch2_p.pdf | 2.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriboon_bo_ch3_p.pdf | 5.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriboon_bo_ch4_p.pdf | 7.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriboon_bo_ch5_p.pdf | 4.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriboon_bo_ch6_p.pdf | 8.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriboon_bo_back_p.pdf | 4.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.