Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62758
Title: ผลกระทบด้านจิตใจและสังคมของผู้ป่วยต้อหินชนิดเรื้อรัง
Other Titles: Psychological and social effects of the chronic glaucoma
Authors: สิริพัชร รัตแพทย์
Advisors: นิพัทธิ์ กาญจนธนาเลิศ
วิศาล ศรีโพธิ์ทองนาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ต้อหิน -- ผู้ป่วย
ต้อหิน -- แง่จิตวิทยา
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
Glaucoma -- Patients
Glaucoma -- Psychological aspects
Chronically ill
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลกระทบด้านจิตใจและสังคมของผู้ป่วยต้อหินชนิดเรื้อรัง และการศึกษาผลกระทบด้านจิตใจตาม เพศ อายุ ระยะเวลาการเจ็บป่วย และระดับการมองเห็น เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ตัวอย่างเป็นผู้ป่วยต้อหินชนิดเรื้อรังจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 90 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผลกระทบทางสังคมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ร่วมกับแบบทดสอบสุขภาพจิต SCL-90 บางส่วน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS-X ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยต้อหินชนิดเรื้องรังได้รับผลกระทบทางจิตใจและสังคมสูงกว่าประชากรปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ α เท่ากับ .001 2. เพศชายมีความวิตกกังวลสูงกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ α เท่ากับ .05 3. ผู้ป่วยต้อหินชนิดเรื้อรังที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีความรู้สึกซึมเศร้าและวิตกกังวลสูงกว่ากลุ่มที่มีอายุน้อยว่า 60 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ α เท่ากับ .001 4. ระยะเวลาการเจ็บป่วยไม่มีผลต่อความรู้สึกซึมเศร้าและความวิตกกังวล 5. ผู้ป่วยต้อหินชนิดเรื้อรังที่มีความพิการทางสายตา 2 ข้าง มีความรู้สึกซึมเศร้าและความวิตกกังวลสูงกว่า กลุ่มที่มีความพิการทางสายตา 1 ข้างและไม่มีความพิการทางสายตา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ α เท่ากับ .01
Other Abstract: This research is to study the psychological and social effects of the chronic glaucoma base one sex, age, duration of illness, visual handicapped by using descriptive analysis. The sample was chronic glaucoma patient from Chulalongkorn Hospital, Ramathibodi Hospital and Rajvithi Hospital. Data was collected by two sets of questionnaires. 1) Parts of the impact of Social effects and Symptom distress checklist-90 (SCL-90). 2) Questionnaires created by the researcher. The research results were as the following : 1. The psychological and social effects were higher in chronic glaucoma patient than normal population with significant at .001 level. 2. Male had more anxiety than female with significant at .05 level. 3. Depression and Anxiety were higher in the patient older than sixty years old with significant at .001 level. 4. Depression and Anxiety has no co-relation duration of illness. 5.The Chronic Glaucoma with two-eyes handicapped were found to have Depression and Anxiety higher than either one-eye handicapped or one-eye handicapped with significant at .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62758
ISBN: 9745826731
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siripatchara_ra_front_p.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
Siripatchara_ra_ch1_p.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open
Siripatchara_ra_ch2_p.pdf12.24 MBAdobe PDFView/Open
Siripatchara_ra_ch3_p.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open
Siripatchara_ra_ch4_p.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open
Siripatchara_ra_ch5_p.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open
Siripatchara_ra_back_p.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.