Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62796
Title: การศึกษารูปแบบการใช้ที่ดินชุมชนเมือง นครศรีธรรมราช
Other Titles: Study for land use pattern of Nakhon Si Thammarat urban area : Nakhon Si Thammart Municipality
Authors: สุโรจน์ สุทธิอาภา
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
วรรณศิลป์ พีรพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การใช้ที่ดิน -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
เมือง -- การเจริญเติบโต -- ไทย (ภาคใต้)
ผังเมือง -- ไทย (ภาคใต้)
ผังเมือง -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาถึงบทบาทและความสำคัญของชุมชนเมืองนครศรีธรรมราช สภาพของชุมชนฯ และปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชนฯ ลักษณะรูปแบบโครงสร้างของชุมชนฯ และรูปแบบการขยายตัวของชุมชนฯ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และรูปแบบการใช้ที่ดินที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพของชุมชนเมืองนครศรีธรรมราชในอนาคต การศึกษานี้ ได้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) จากหน่วยงานภาครัฐบาลและข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) จากการสำรวจในพื้นที่ (Field Survey) เป็นหลัก โดยการวิเคราะห์ได้นำเทคนิคการวิเคราะห์ต่างๆ ที่สำคัญ และเหมาะสมต่อสถานะการศึกษามาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการศึกษา อาทิ เช่น เทคนิค Shift-Share Analysis ในการหาส่วนแบ่งส่วนโอนการผลิต Location Quotient ในการหาความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมของจังหวัด และฐานเศรษฐกิจของชุมชน Geometric & Share Extrapolation และ The Simple Linear Regression ในการคาดคะเนประชากรในอนาคต Threshold Analysis & Potential Surface Analysis ในการวิเคราะห์พื้นที่สำหรับการพัฒนาและ Goal Achievement Matrix Techniques ในการคัดเลือกทางเลือกของรูปแบบการใช้ที่ดินที่เหมาะสม เป็นต้น ผลจากการศึกษา สรุปได้ว่า จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่มีบทบาทความสำคัญต่อระบบโครงสร้างของภาคใต้ทั้งทางด้านทรัพยากรทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม ประชากร การเมือง การปกครอง และการทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่บริเวณภาคใต้ตอนกลาง อันเป็นบริเวณพื้นที่ที่เชื่อมโยงและรองรับความเจริญระหว่างขั้วการพัฒนาของภาคใต้ตอนบนและภาคใต้ตอนล่าง ตลอดจนเชื่อมโยงระหว่างบริเวณพื้นที่ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ทั้งนี้โดยมีชุมชนเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นชุมชนหลักรองรับบทบาทความสำคัญดังกล่าว กล่าวคือ ชุมชนเมืองนครศรีธรรมราชมีบทบาทหลักในด้านศูนย์กลางแหล่งที่พักอาศัย ศูนย์กลางทางด้านการศึกษา พุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม ศูนย์กลางทางด้านการคมนาคมขนส่งทางบกที่เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ภาคใต้ตอนบนและภาคใต้ตอนล่าง ศูนย์กลางธุรกิจการค้า ค้าปลีก-ค้าส่งพืชผลทางการเกษตร และศูนย์กลางสถานที่ตั้งสถาบันราชการ ซึ่งบทบาทความเป็นศูนย์กลางดังกล่าวมีบทบาททั้งในระดับจังหวัดและภาค ส่วนบทบาทรองของชุมชนฯ ที่สำคัญได้แก่การเป็นแหล่งอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการขนส่งอุตสาหกรรมบริการและหัตถกรรม แหล่งการท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมและการเป็นแหล่งบริการทางด้านต่างๆ แก่ชุมชนโดยรอบและชุมชนรอบนอก ชุมชนเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่บนแนวสันทรายเดิม ยาวจากเหนือถึงใต้ โดยมีถนนราชดำเนินเป็นแกนนำในการขยายตัวของชุมชน เดิมที่ชุมชนแห่งนี้มีรูปแบบชุมชนเมืองแบบ Ribbon Development ในระยะแรกเริ่มของการก่อรูปชุมชน ต่อมาได้รับการวิวัฒนาการเปลี่ยนรูปแบบเป็นเมือง Linear Pattern, Axial Linear Pattern และ Monocentration Axial Linear Pattern ตามลำดับ ซึ่งนับได้ว่าเป็นชุมชนเมืองที่มีลักษณะการก่อรูป และโครงสร้างของเมืองที่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขอิทธิพลของสภาพทางกายภาพของพื้นที่อย่างเด่นชัดและมีลักษณะรูปแบบการขยายตัวของเมืองแบบ Linear Pattern ที่เด่นชัดที่สุดชุมชนหนึ่งของประเทศ ปัจจุบันชุมชนแห่งนี้ ได้ประสบปัญหาด้านการใช้ที่ดินเป็นปัญหาหลักที่สำคัญของชุมชน และมีลักษณะการขยายตัวของชุมชนออกจากเขต ทม.ฯ สูงขึ้นตามลำดับ โดยมีลักษณะการขยายตัวกระจายออกไปตามแนวเส้นทางคมนาคมสายหลักที่เชื่อมต่อระหว่างบริเวณพื้นที่ภายในชุมชนฯ กับบริเวณพื้นที่รอบนอกชุมชนฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกของชุมชนฯ ซึ่งมีแนวทางหลวงหมายเลข 4016 เป็นแกนนำ ศักยภาพสำหรับการใช้ที่ดินเพื่อการพักอาศัย พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม จะรวมตัวกันอยู่ในบริเวณพื้นที่ในเขตเทศบาล โดยมีแนวถนนราชดำเนินเป็นแกนนำ และบริเวณพื้นที่ตามแนวถนนสายหลักที่เชื่อมต่อระหว่างบริเวณพื้นที่ภายในกับบริเวณพื้นที่รอบนอกชุมชนฯ รูปแบบการใช้ที่ดินของชุมชนเมืองนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. 2544 เพื่อรองรับประชากร 154,243 คน ควรมีรูปแบบการใช้ที่ดินของชุมชนฯ แบบ Policentrical Axial Linear Deconcentration อันเป็นระบบรูปแบบของเมืองหลายศูนย์กลางหรือขั้วความเจริญสองศูนย์กลาง ธุรกิจการค้าของชุมชนในปัจจุบัน มีระยะห่างมากเกินไปจนเป็นอุปสรรคต่อการเชื่อมโยงติดต่อระหว่างบริเวณศูนย์กลางธุรกิจการค้าหลักกับหน่วยสุดท้ายของเมืองในระบบ ในที่สุดบริเวณพื้นที่หน่วยสุดท้ายจะก่อตัวเป็นศูนย์กลางการค้าและการบริการที่เป็นอิสระขึ้น เพื่อให้บริการแก่บริเวณพื้นที่ดังกล่าว จนเกิดเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าแห่งใหม่ของชุมชนฯ ซึ่งอยู่บริเวณทางตอนใต้ของชุมชนฯ ส่งผลให้ระบบโดยส่วนรวมมีศูนย์กลางธุรกิจการค้าสองศูนย์กลาง เพื่อบริการแก่พื้นที่โดยรอบ อย่างไรก็ตาม บริเวณศูนย์กลางธุรกิจการค้าทางตอนใต้ของชุมชนฯ มีขนาดและขอบข่ายการให้บริการรองจากบริเวณศูนย์กลางการค้าหลักเรียกว่าศูนย์กลางอันดับรองของระบบ ผลการศึกษาดังกล่าว จะเป็นแนวทางในการพัฒนาด้านภายภาพของชุมชน การจัดทำผังเมืองรวม การจัดทำผังเฉพาะของชุมชนฯ และการปรับปรุงผังเมืองรวมตามระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเฉพาะด้านในโอกาสต่อไป ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สุขของประชากรชาวชุมชนเมืองนครศรีธรรมราชอย่างแท้จริง
Other Abstract: The aim of this thesis is to afford the reader an idea of the significance of community centers in the City of Nakhon Si Thammarat, also the role of Nakhon Si Thammarat municipal urban area, the urban pattern and structures, the urban expansion, the existing problems and problems solving by systematic planning which should mix or intermingle smoothly and inseparably together with present day community development plan for future use. The study is supported by the Primary and Secondary Data obtained from government sources of information as well as field survey applied for the purpose of study and research, e.g. Shift-Share Analysis and Location Quotient for finding the technical know-how of Province Industrial activities, and economic base of the local community, Geometric & Share Extr[a]polation and the Simple Linear Regression for forming an approximate judgment regarding population future increase and Goal Achievement Matrix Techniques for the choice of systems of town planning in certain are, etc. From this study, there has emerged the following findings: Nakhon Si Thammarat Province has played key role in the structure and the development of natural resources, economic, social, population, political, administrative and security of the south Thailand. Specially, It is an important link between the upper and lower part of southern peninsula and road communications in the province is quite convenient. It had road linking up with other provinces in East and West coast of South Thailand and the groups of people living in somewhat close association, sh[o]rt government and have cultural and historical heritage. It is indeed be said that the success of the province was due primarily to the personalities in the Nakhon Si Thammarat municipal urban area who had a great sense of responsibility. Nakhon Srithammarat municipal urban area’s main roles are dwelling places or residential area, educational centers, Buddhist religious care, road communication center, business and trade centre, agribusiness centre or market-gardening produce, and the provincial headquarters of Government for southern region while the subordinate roles are agri-industrial center, transportation service centers, homecraft or cottage industrial center, tourist attractions and also services center for other vicinity area. Nakhon Si Thammarat municipal urban area is located on former sandy slopes extending from North to South led by Rajdamern Avenue linking up the former community centre to the present. [Formerly] the establishment of Community Centre was based on the urban pattern of Ribbon Development but has been later developed to the Linear pattern, Axial Linear Pattern and Monocentration Axial Linear Pattern respectively. The present Nakhon Si Thammarat municipal urban area may be considered as having the structural feature base on and under the influence of physical features of the land and urban expansion according to the Linear Pattern of the country. Nakhon Si Thammarat municipal urban area is now having the problems chiefly involving the use of land and the urban expansion of the City limit which is increasing enormously day by day. This is demonstrated in the first place by people moving out to different directions especially to the western side of the Community Centre which leads to the Highway No.4016. It is clear from the foregoing that the potential of lands for residential purpose, commercial and industrial undertaking would bring or draw to a common centre or point of union in the Municipal City limit led by Rajdamnern Avenure and agg[l]omerate on the axial main roads in the vicinity are. The method of making use of public lands introduced in Nakhon Si Thammarat municipal urban area in B.E. 2544 for the purpose of accommodating only 154,243 persons should adopt or coordinate with the system of Policentrical Axial Linear Deconcentration because this system is worthy to serve as an exemplary model of towns which can be adopted. It could be drawn the Community Centre is situated too for apart from each other and therefore difficult to make contact with each other. As the result of this study it could be the guideline of thoughts for developing the Nakhon Sithammarat municipal urban area through physical geography, Comprehensive planning, Specific planning and Action planning and methods of improving land for future use for the contentment and happiness of the town inhabitants in Nakhon Si Thammarat municipality.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62796
ISBN: 9745679747
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suroj_su_front_p.pdf34.21 MBAdobe PDFView/Open
Suroj_su_ch1_p.pdf10.59 MBAdobe PDFView/Open
Suroj_su_ch2_p.pdf46.61 MBAdobe PDFView/Open
Suroj_su_ch3_p.pdf72.75 MBAdobe PDFView/Open
Suroj_su_ch4_p.pdf110.97 MBAdobe PDFView/Open
Suroj_su_ch5_p.pdf21.25 MBAdobe PDFView/Open
Suroj_su_ch6_p.pdf57.05 MBAdobe PDFView/Open
Suroj_su_ch7_p.pdf90.07 MBAdobe PDFView/Open
Suroj_su_ch8_p.pdf92.6 MBAdobe PDFView/Open
Suroj_su_back_p.pdf121.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.