Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62803
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความพึงพอใจในงาน ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงสาธารณสุข |
Other Titles: | Relationships between selected factors and job satisfaction of professional nurses in provincial hospitals under the jurisdiction of the Ministry of Public health |
Authors: | สุกัญญา แสงมุกข์ |
Advisors: | ประนอม โอทกานนท์ ประพิม ศุภศันสนีย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | พยาบาล -- ไทย ความพอใจในการทำงาน -- ไทย การรับรู้ พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย -- ไทย พยาบาลผู้ชำนาญเฉพาะทาง -- ไทย การจูงใจ (จิตวิทยา) |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และศึกษาตัวทำนายความพึงพอใจในงาน ตัวพยากรณ์คือ การรับรู้ต่อพฤติกรรมภาวะผู้นำตามสถานการณ์การรับรู้ต่อการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ การรับรู้ต่อบรรยากาศเพื่อนร่วมงานขนาดขององค์การ ตำแหน่ง ประสบการณ์ทางการพยาบาล ระดับการศึกษาและอายุ ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 374 คน ในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบหลายชั้นตอน (Mutistage Samlping) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง หาความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือโดยอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิ 8 ท่าน หาค่าความเที่ยงของแบบสอบเพื่อวัดปัจจัยคัดสรร และวัดความถึงพอใจในงาน โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’ S α Coefficiench) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป (SPSSˣ) โดยวิเคราะห์ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าสหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงสาธารสุขมีความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับปานกลาง 2. การรับรู้ต่อบรรยากาศเพื่อนร่วมงาน การรับรู้ต่อการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ และตำแหน่ง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการรับรู้ต่อพฤติกรรมภาวะผู้นำตามสถานการณ์ขนาดขององค์การ ประสบการณ์ทางการพยาบาล ระดับการศึกษา และอายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ตัวพยากรณ์ความพึงพอใจในงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ พบว่า การรับรู้ต่อบรรยากาศเพื่อนร่วมงาน การรับรู้ต่อการติดต่อสื่อสารภายในองค์การและตำแหน่ง มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน .4164, .3481 และ.0851 ตามลำดับ สามารถร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้ร้อยละ 46.25 ได้สมการพยากรณ์ดังต่อไปนี้ สมการในรูปคะแนนดิบ Y’ = 48.4155 + .6081 COLIE + .6394 COMMU + 2.5552 POS สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน Z’ = .4164 COLIE + .3481 COMMU + .0851 POS |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62803 |
ISBN: | 9745681741 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sukanya_sa_front_p.pdf | 8.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_sa_ch1_p.pdf | 10.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_sa_ch2_p.pdf | 24.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_sa_ch3_p.pdf | 9.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_sa_ch4_p.pdf | 10.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_sa_ch5_p.pdf | 15.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_sa_back_p.pdf | 41.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.