Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62879
Title: อิทธิพลของอารมณ์ชั่วขณะที่มีต่อการเปลี่ยนเจตคติ
Other Titles: Influence of mood on attitude change
Authors: สุดารัตน์ อ่วมเจริญ
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: อารมณ์
ทัศนคติ -- การทดสอบ
Emotions
Attitude (Psychology) -- Testing
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลของอารมณ์ชั่วขณะที่มีต่อการเปลี่ยนเจคติตามเงื่อนไขการทดลอง คือ 1. บุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะก่อนนำเสนอสารโน้มน้าวใจ อารมณ์ชั่วขณะในทางบวก ข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนัก 2. บุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะก่อนนำเสนอสารโน้มน้าวใจ อารมณ์ชั่วขณะในทางบวก ข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนัก 3. บุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะก่อนนำเสนอสารโน้มนาวใจ อารมณ์ชั่วขณะในทางลบ ข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนัก 4. บุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะก่อนนำเสนอสารโน้มน้าวใจ อารมณ์ชั่วขณะในทางลบ ข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนัก 5. บุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะหลังนำเสนอสารโน้มน้าวใจ อารมณ์ชั่วขณะในทางบวก ข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนัก 6. บุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะหลังนำเสนอสารโน้มน้าวใจ อารมณ์ชั่วขณะในทางบวก ข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนัก 7. บุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะหลังนำเสนอสารโน้มน้าวใจ อารมณ์ชั่วขณะในทางลบ ข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนัก 8. บุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะหลังนำเสนอสารโน้มน้าวใจ อารมณ์ชั่วขณะในทางลบ ข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนัก ผลการวิจัยพบตามที่ทำนายว่า เมื่อบุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะก่อนนำเสนอสารโน้มน้าวใจ บุคคลที่มีอารมณ์ชั่วขณะในทางลบถูกโน้มน้าวใจด้วยสารที่มีข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนักได้มากกว่าเมื่อโน้มน้าวใจด้วยสารที่มีข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญ (p<.01) และบุคคลที่มีอารมณ์ชั่วขณะในทางบวกถูกโน้มน้าวใจด้วยสารที่มีข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนักได้ไม่แตกต่างกับเมื่อโน้มน้าวใจด้วยสารที่มีข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนัก แต่ถ้าบุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะหลังนำเสนอสารโน้มน้าวใจ บุคคลที่มีอารมณ์ชั่วขณะในทางบวกถูกโน้มน้าวใจด้วยสารที่มีข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนักได้มากกว่าเมื่อโน้มน้าวใจด้วยสารที่มีข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญ (p<.001) และบุคคลที่มีอารมณ์ชั่วขณะในทางลบถูกโน้มนาวใจด้วยสารที่มีข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนักได้มากกว่าเมื่อโน้มน้าวใจด้วยสารที่มีข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05)
Other Abstract: The purpose of this research was to study the influence of mood on attitude change under eight conditions: 1. mood before encoding, positive mood, strong argument 2. mood before encoding, positive mood, weak argument 3. mood before encoding, negative mood, strong argument 4. mood before encoding, negative mood, weak argument 5. mood after encoding, positive mood, strong argument 6. mood after encoding, positive mood, weak argument 7. mood after encoding, negative mood, strong argument 8. mood after encoding, negative mood, weak argument. The results show, as predicted, that among subjects who were induced mood before encoding, subjects in a negative mood are more persuaded by strong than by weak argument (p<.01) and subjects in a positive mood are equally persuaded by strong and by weak arguments. Among subjects who were induced mood after encoding, subjects in a positive mood are more persuaded by strong than by week argument (p<.001) and subjects in a negative mood are more persuaded by than by week argument (p<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62879
ISBN: 9746328433
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudarat_au_front_p.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open
Sudarat_au_ch1_p.pdf16.86 MBAdobe PDFView/Open
Sudarat_au_ch2_p.pdf7.28 MBAdobe PDFView/Open
Sudarat_au_ch3_p.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open
Sudarat_au_ch4_p.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
Sudarat_au_ch5_p.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Sudarat_au_back_p.pdf7.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.