Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62887
Title: | ผลของการใช้กลุ่มบำบัดแบบประคับประคอง ที่มีต่อพฤติกรรมของผู้ป่วยจิตเภทวัยรุ่น |
Other Titles: | Effects of using therapeutic supportive group on adolescent schizophrenic patients' behaviors |
Authors: | สุนีย์ เอกวัฒนพันธ์ |
Advisors: | จินตนา ยูนิพันธุ์ นงเยาว์ จุลชาต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | จิตเภท การพยาบาลจิตเวชศาสตร์ จิตบำบัด วัยรุ่น |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้กลุ่มบำบัดแบบประคับประคองที่มีต่อพฤติกรรมของผู้ป่วยจิตเภทวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยจิตเภทวัยรุ่นทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่รับไว้รักษาในฝ่ายจิตเวชวัยรุ่น โรงพยาบาลศรีธัญญา จำนวน 24 ราย คัดเลือกโดยใช้เกณฑ์ที่ตั้งไว้แล้วจับคู่กลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้ตัวแปรเรื่อง เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาของการเจ็บป่วย และพฤติกรรมการแสดงออกใกล้เคียงกัน แล้วจับฉลากเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 12 ราย กลุ่มควบคุมจะได้รับการพยาบาลด้วยกลุ่มบำบัดตามปกติในหอผู้ป่วย และกลุ่มทดลองจะได้รับการพยาบาลด้วยกลุ่มบำบัดตามปกติในหอผู้ป่วย ร่วมกับกลุ่มบำบัดแบบประคับประคอง โดยผู้วิจัยเป็นผู้จัดกลุ่มเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดพฤติกรรมและแบบสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยจิตเภทวัยรุ่น ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ความเที่ยงของแบบวัตพฤติกรรมเท่ากับ 0.89 เมื่อคำนวณโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าตามวิธีของครอนบาช ส่วนค่าความเที่ยงของแบบสังเกตพฤติกรรมเป็นความเที่ยงแบบความคงที่ คำนวณโดยสัมประสิทธิ์ของเพียร์สัน โดยหาความสอดคล้องระหว่างผู้สังเกต ได้ค่าความเที่ยงของการลังเกตเท่ากับ 0.90 และค่าความแตกต่างของคะแนนการสังเกตพฤติกรรมของผู้สังเกต 2 คน เท่ากับ 1.75 การรวบรวมข้อมูลทำ 2 ครั้ง คือ ก่อนเริ่มกลุ่มบำบัดแบบประคับประคอง 2 วัน และสิ้นสุดการจัดกลุ่มบำบัดแบบประคับประคองแล้ว 2 วัน วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หลังการทดลองผู้ป่วยจิตเภทวัยรุ่นกลุ่มที่ได้รับการพยาบาล เน้นกลุ่มบำบัดแบบประคับประคอง มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลไปในทางที่ดีขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลองผู้ป่วยจิตเภทวัยรุ่นกลุ่มที่ได้รับการพยาบาล เน้นกลุ่มบำบัดแบบประคันประคอง มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลเน้นกลุ่มบำบัดตามปกติในหอผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this qausi experimental research, pre-test post-test control group design, was to study effects of using therapeutic supportive group on adolescent schizophrenic patients’ behaviors. The research samples consisted of 24 male and female adolescent schizophrenic patients treated in the Adolescent Department of Srithanya Hospital, randomly divided into two groups an experimental and a control group, by maching sex, age, education level, illness period and behaviors of the subjects. The experimental group participated in the therapeutic supportive group and the traditional group therapy, while the control group participated in the traditional group therapy only. Two instruments, the interviewing questionnaire and the observation scale, developed by the researcher, were used in this study. The content validity of these instruments were done by penel of experts. The reliability of the questionnaire tested by Cronbach’s coefficient was 0.89, whereas that of the observation scale, tested by Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient by determining conformity between two observers, was 0.90, and a difference of 1.75 between the two observers. The pre-test was done two days before the experiment and post-test was done two days after the experiment. The data was analysed by using arithmetic mean, standard deviation and t-test. The findings were as followed:- 1. After the experiment, the behaviors of adolescent schizophrenic patients participated in the therapeutic supportive group were changing more positively (p< .05) than before the experiment. 2. After the experiment, the behaviors of adolescent schizophrenic patients belonging to the group participated in the therapeutic supportive group were changing more positively (p< .05) than that of the groups participated in the traditional group therapy. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62887 |
ISBN: | 9745670707 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sunee_ea_front_p.pdf | 4.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_ea_ch1_p.pdf | 3.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_ea_ch2_p.pdf | 12.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_ea_ch3_p.pdf | 7.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_ea_ch4_p.pdf | 2.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_ea_ch5_p.pdf | 4.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_ea_back_p.pdf | 12.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.