Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63242
Title: การระบุขอบเขตพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงและความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตของภูมิทัศน์กับการปรับตัวของมนุษย์ : กรณีศึกษาลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลาง
Other Titles: Identification of floodplain boundary and relationship between landscape dynamic and human adaptation : case study of middle Mun river basin
Authors: เกษมพันธุ์ แก้วธำรงค์
Advisors: ดนัย ทายตะคุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Subjects: การจัดการลุ่มน้ำที่มีน้ำท่วมถึง
พื้นที่น้ำท่วมถึง
การใช้ที่ดิน
Floodplain management
Floodplains
Land use
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบภูมินิเวศของพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง โดยเป็นพื้นที่ที่มีพลวัต ความหลากหลายเชิงนิเวศ และความอุดมสมบูรณ์ อันเป็นผลมาจากพลวัตน้ำหลาก ซึ่งให้ประโยชน์แก่มนุษย์ในรูปแบบของการบริการเชิงนิเวศทั้งการเป็นแหล่งผลิตทรัพยากรพื้นฐาน และการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจชุมชน โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการสำรวจระยะไกลด้วยภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อ (1) ระบุขอบเขตของพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงแม่น้ำมูลตอนกลางเพื่อบ่งชี้ลักษณะพลวัตน้ำหลากของพื้นที่ จากลักษณะทางธรณีสัณฐาน และลักษณะเชิงอุทกวิทยา (2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของลักษณะสิ่งปกคลุมผิวดินจากอดีตถึงปัจจุบันจากการจำแนกสิ่งปกคลุมผิวดิน ร่วมกับการลงพื้นที่สำรวจชุมชนดั้งเดิม เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตน้ำหลากกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์โดยมนุษย์ที่ส่งผลกระทบทางลบต่อการบริการเชิงนิเวศ ผลการศึกษาพบว่ามนุษย์ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลางมีความสามารถในการปรับตัวอย่างยืดหยุ่นเพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงภายใต้เงื่อนไขของพลวัตน้ำหลาก จากการเลือกที่ตั้งชุมชนที่อยู่นอกเขตพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงเพื่อหลีกเลี่ยงน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และใช้ประโยชน์อย่างสอดคล้องกับพลวัตน้ำหลากจากพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงในฐานะแหล่งทรัพยากรของชุมชนที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดปี ซึ่งมีรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันทั้งพื้นที่ และช่วงเวลา นอกจากนั้นการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เกษตรในพื้นที่ราบน้ำท่วม และการดัดแปลงโครงสร้างของแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำ และป้องกันผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้แหล่งทรัพยากรของชุมชนมีพื้นที่ลดลง และระบบนิเวศเสียหายจนไม่สามารถให้บริการเชิงนิเวศได้เหมือนเช่นเคย ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ และระบบเศรษฐกิจชุมชนในชนบทที่พึ่งพิงการบริการเชิงนิเวศจากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
Other Abstract: The main purpose of this study was to investigate the relationships between human and landscape ecosystem of the floodplain where the dynamics of flood pulsing plays a major role in supporting biodiversity and productivity of ecosystems. This research applies various satellite remote sensing methods to (1) Identify the floodplain boundaries and ecosystem type that dominated by flood pulse process. (2) Analyze the changing land cover and land use pattern with field survey in old villages adjacent floodplain to represent the pattern of human utilization and define the negative impacts of land-use change that affect to ecosystem service. The results revealed that human has ability to adapt themselves with dynamic of flood pulsing landscape by (1) Settle villages in a non-floodplain area to avoid the flood peak during flood season. (2) Using the floodplain as a local natural resource to support their livelihood and local economy which can characterize by various ecosystem services such as providing good and materials (provisions service) and supporting the local economy (cultural service). The changing of land use pattern of human activities and Structuring on floodplain area are the major cause of losing ecosystem services in the floodplain which affect to human livelihood and rural resilience that base on provisioning service of local natural resource.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63242
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1055
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1055
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6073353225.pdf25.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.