Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63445
Title: อุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากลิง ของคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2560
Other Titles: Incidents and Associated Factors of Monkey-Related Injuries among Locals and Tourists in Meuang District, Lopburi Province: 2013-2017
Authors: อโณทัย จัตุพร
Advisors: สรันยา เฮงพระพรหม
ธนะภูมิ รัตนานุพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sarunya.H@Chula.ac.th
Thanapoom.R@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เหตุผลของการทำวิจัย: เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างคนและลิงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวของเมืองและการทำลายป่าไม้ อำเภอเมืองลพบุรีเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีปัญหาความขัดแย้งสูงที่สุดในประเทศไทย และโรครับจากสัตว์จากการถูกลิงกัดหรือข่วนเป็นประเด็นสำคัญทางด้านสาธารณสุข แต่ในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยทางระบาดวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการได้รับบาดเจ็บจากลิงในประเทศไทย วัตถุประสงค์: 1) เพื่อคำนวณอุบัติการณ์ของการได้รับบาดเจ็บจากลิง 2) เพื่อแสดงแนวโน้มอุบัติการณ์ของการได้รับบาดเจ็บจากลิง 3) เพื่ออธิบายลักษณะของผู้ได้รับบาดเจ็บจากลิง ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ระหว่างปีงบประมาณ 2556-2560 วิธีการทำวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง เพื่อเปรียบเทียบการได้รับบาดเจ็บจากลิงในรูปของอุบัติการณ์ ระหว่างกลุ่มคนท้องถิ่น นักท่องเที่ยวชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเวชระเบียนของโรงพยาบาลในพื้นที่ศึกษา อุบัติการณ์ที่ได้ใช้ในการคำนวณค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์เพื่อเปรียบเทียบความเสี่ยงระหว่างนักท่องเที่ยวกับคนท้องถิ่น แนวโน้มของอุบัติการณ์นำเสนอในรูปกราฟเส้น และรายละเอียดของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากลิงนำเสนอในรูปความถี่และร้อยละ ผลการศึกษา: อุบัติการณ์รายปีของคนท้องถิ่น นักท่องเที่ยวชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อยู่ในช่วงระหว่าง 9.16 - 18.33 190.16 - 379.13 และ 254.07 – 736.91 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ แนวโน้มของอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นอย่างมากในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ล่าสุดในปีงบประมาณ 2559-2560 นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติมีความเสี่ยงสัมพัทธ์ต่อการได้รับบาดเจ็บจากลิงมากกว่าคนท้องถิ่น 20 เท่าและ 40 เท่าตามลำดับ นอกจากนี้เวลาที่บาดเจ็บ สถานที่เกิดการบาดเจ็บ เหตุโน้มนำที่ทำให้บาดเจ็บ และตำแหน่งของบาดแผลในผู้ที่ได้รับบาดเจ็บบ่งชี้ว่า การให้อาหารลิงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการได้รับบาดเจ็บจากลิง สรุป: นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีอุบัติการณ์ของการได้รับบาดเจ็บจากลิงสูงที่สุด รองลงมาคือนักท่องเที่ยวชาวไทย มาตรการป้องกันจึงควรเน้นในกลุ่มนักท่องเที่ยว ได้แก่ การอบรมวิธีปฏิบัติตัวที่ปลอดภัยเมื่อเผชิญกับลิง การรณรงค์เกี่ยวกับวัคซีนและยาป้องกันการติดเชื้อทั้งก่อนและหลังการได้รับบาดเจ็บ และการเตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ป้ายเตือน และจุดปฐมพยาบาลในบริเวณจุดให้อาหารลิง
Other Abstract: Background: Conflicts between monkey and human were increasing, because of urbanization and deforestation. Muang district of Lopburi is one of the greatest conflict areas in Thailand, where public health concerned of zoonoses transmission from monkey bites and scratches was high. Currently, there is no epidemiological research of monkey related injury in Thailand. Objective: 1) To determine incidence of monkey related injury, 2) To illustrate trend of the incidences, and 3) To describe characteristics of the injured cases in Meuang district, Lopburi province, during 2013-2017. Methods: A cross-sectional analytical study was conducted to compare monkey related injury, in terms of cumulative incidences, between locals, Thai, and foreign tourists by collecting secondary data from hospital medical records in the study area. The cumulative incidences were used to calculate relative risk between the tourists and the locals. Trend was presented by line graph. Characteristic of the injury cases was presented by frequency and percentage. Results: Yearly incidences of locals, Thai, and foreign tourist were in range of 9.16 - 18.33, 190.16 - 379.13, and 254.07 – 736.91 per 100 000 population, respectively. Trend of injury was remarkably increased in foreign tourists. Recently, in 2016-2017, Thai and foreign tourists had relative risks of injury estimated to be 20 and 40 times compared to locals, respectively. Time place and circumstance of injury, and wound site suggested monkey provisioning with food as a main risk factor of monkey related injury. Conclusion: The incidences of monkey related injury was highest in foreign tourists, followed by Thai tourists. Preventive measures should primarily focus on the tourists, such as training on safety behaviors with monkey, promoting pre- and post-exposure prophylaxis, and providing safeguards, warning signs, first aids stations at monkey provisioning sites.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63445
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.710
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.710
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074088130.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.