Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63452
Title: ความสามารถในการฟื้นพลัง ภาวะซึมเศร้าและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร 
Other Titles: Resilience, Depression, and Parenting styles among Adolescences in an International School in Bangkok, Thailand
Authors: ฐิติพร แก้วมีศรี
Advisors: ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Puchong.L@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทคัดย่อ: เพื่อที่จะศึกษาความสามารถในการฟื้นพลัง ภาวะซึมเศร้า และรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในการศึกษาครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างมี่ทั้งหมด 88 คนซึ่งได้ทำแบบสอบถามทั้งสิ้น 4 ชนิด คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามความสามารถในการฟื้นพลัง CD-RISC 3) แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า และ 4) แบบสอบถามรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ SPSS 22.0 โดยวิเคราะห์ในเรื่องของการหาค่าเฉลี่ยความสามารถในการฟื้นพลัง ความชุกของภาวะซึมเศร้า และรูปแบบการเลี้ยงดูของกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเลี้ยงดูกับความสามารถในการฟื้นพลัง และระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูกับภาวะซึมเศร้า จากการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยความสามารถในการฟื้นพลัง คือ 60.8 ขณะที่ความชุกภาวะซึมเศร้า พบที่ร้อยละ 40.9 นอกจากนี้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับการเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่มากที่สุด คือ ร้อยละ 47.7 และรองลงมาได้รับการเลี้ยงดูแบบตามใจ คือร้อยละ  35.2 จากการศึกษายังพบอีกว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการฟื้นพลังคือ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู โดยที่การเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่มีโอกาสจะมีความสามารถในการฟื้นพลังระดับสูงเป็น 35 เท่า เมื่อเทียบกับการเลี้ยงดูแบบเข้มงวด และอีกปัจจัยหนึ่งคือ ภาวะซึมเศร้า โดยที่ กลุ่มตัวอย่างที่ไม่พบภาวะซึมเศร้ามีโอกาสจะมีความสามารถในการฟื้นพลังระดับสูงเป็น 19 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่พบภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อชาตินักเรียนมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการฟื้นพลังอีกด้วย 
Other Abstract: Abstract: to study resilience, depression, and parenting styles in an international school context. The conceptual framework, for this study, drew on concept of resilience. Through use all Secondary students, 88 students, in the school were selected for participation. All participations completed the: Demographic Data Questionnaires; Resilience Scale (CD-RISC); Centre for Epidemiologic Studies Depression Scale (CES-D); and, Parenting Styles Scale (PSS). Data were analysed using SPSS. Means score of Resilience, and prevalence depression were analysed along with parenting styles and factors related between resilience, and depression.  The study revealed that the mean score of resilience in the participations was 60.8, while the prevalence of depression was 40.9%. As for the parenting styles, results showed that the largest parenting style with 47.7% was authoritative parenting, and 35.2% were raised with permissive parenting. Results indicated that the participations with authoritative parenting had 35 times higher resilience compare to those with authoritarian parenting. In addition, the study found that the participations in non-depressed group had 19 times higher resilience compare to those with depression. student ethnicity is also associated with resilience. Therefore, a child who is raised with authoritative parenting tends to have high level of resilience and the high level of resilience is a protective factor of depression.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63452
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1421
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1421
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074254030.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.