Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63469
Title: การเพิ่มประสิทธิภาพของสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยง Cleistocalyx nervosum var. paniala ด้วยสารดูดซับสำหรับการควบคุมแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดในแคนตาลูปตัดแต่ง      
Other Titles: Increasing Efficiency Of Ma-Kiang Cleistocalyx Nervosum Var. Paniala Seed Extracts By Adsorbents For Controlling Some Pathogenic Bacteria In Fresh Cut Cantaloupe
Authors: นันทนิกส์ บาลเมือง
Advisors: สุเมธ ตันตระเธียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Sumate.T@Chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบเมล็ดมะเกี๋ยง (Ma-kiang seed extracts , MKSE) ด้วยสารดูดซับชนิดต่างๆ ในการต้านการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค และนำสารสกัดที่ทำให้บริสุทธิ์บางส่วนด้วยสารดูดซับไปใช้ในการควบคุมจำนวนแบคทีเรียก่อโรคบางชนิด(Escherichia coli, Staphylococcus aureus และ Salmonella Typhimurium) ในแคนตาลูปตัดแต่ง การใช้สารดูดซับ 3 ชนิด ได้แก่ เรซินชนิดรูพรุนขนาดใหญ่ (MARs), ถ่านกัมมันต์ชนิดผง (PAC) และโพลีไวนิลไพร์โรลิดอน (PVPP) พบว่าการใช้สารดูดซับ MARs สามารถเพิ่มอัตราส่วนของสารประกอบฟีนอลิกและมีปริมาณของสารสกัดที่ถูกทำให้บริสุทธิ์บางส่วนได้สูงที่สุด โดย MARs สามารถดูดซับรูทิน และคาเทชินใน MKSE ได้ดีอีกด้วย สัดส่วนของ MARs ในการดูดซับคือ 37.5  mg ในสารละลาย MKSE 40 ml ที่ความเข้มข้น 12.5 mg/ml สามารถดูดซับสารประกอบฟีนอลิกได้สูงสุด ร่วมกับการใช้ความเข้มข้นเอทานอลร้อยละ 70 สามารถปลดปล่อยสารได้ดีและมีสารประกอบฟีนอลิกมากที่สุด โดยสามารถเพิ่มอัตราส่วนของสารประกอบฟีนอลิกได้สูงกว่าเดิม 7% จากนั้นได้นำ MKSE ที่ทำให้บริสุทธิ์บางส่วนด้วยสารดูดซับทั้ง 3 ชนิด มาเปรียบเทียบการต้านแบคทีเรียก่อโรค 3 ชนิด ได้แก่ แบคทีเรียแกรมลบ (E. coli และ S. Typhimurium) และแบคทีเรียแกรมบวก(S. aureus) ด้วยการทดสอบค่า MIC และ MBC โดยพบว่า หลังการที่บริสุทธิ์บางส่วนด้วย MARs และ PVPP สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการยับยั้งแบคทีเรียได้ถึง 4 เท่าของ แต่การทำให้บริสุทธิ์บางส่วนด้วย PAC เพิ่มประสิทธิภาพการยับยั้งได้เพียง 2 เท่า ส่วนประสิทธิภาพการต้านแบคทีเรียของสารสกัดที่ถูกทำให้บริสุทธิ์บางส่วนด้วย MARs (ppMARs) ที่ปลดปล่อยด้วยตัวทำละลายที่เหมาะสม สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการยับยั้งได้ 8 เท่า จึงได้นำสภาวะดังกล่าวมาใช้ในการควบคุมจำนวนแบคทีเรียก่อโรคดังกล่าวในแคนตาลูปตัดแต่ง ต่อไป พบว่าเวลาในการแช่แคนตาลูปที่เหมาะสมในการลดจำนวนจุลินทรีย์ เมื่อแช่ด้วยสารละลาย ppMARs ที่ความเข้มข้น 1 MBC คือ 3 นาที จึงนำมาใช้เป็นเวลาสำหรับการแช่แคนตาลูปตัดแต่งด้วยสารละลายต่างๆและเมื่อศึกษาอายุการเก็บของแคนตาลูปตัดแต่งต่อการเปลี่ยนแปลงจำนวนเชื้อแบคทีเรียที่การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 9 วัน พบว่า เมื่อแช่ด้วยน้ำกลั่นมีแบคทีเรียเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การแช่ด้วย MKSE และ ppMARs สามารถลดจำนวน E. coli และควบคุมการเจริญของแบคทีเรีย S. aureus ได้  อย่างไรก็ตามปริมาณสาร ppMARs ในสารละลาย ความเข้มข้น 1 MBC มีปริมาณสารในสารละลายน้อยกว่าสารละลายของ MKSE ถึง 4 เท่า แต่การใช้สารละลาย ppMARs ก็ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของชิ้นแคนตาลูป จึงได้นำสารละลาย ppMARs ไปใช้ร่วมกับกรดซิตริก (CM) พบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของสารละลาย ppMARs ด้านการควบคุมจำนวนแบคทีเรียทั้งหมด และ S. Typhimurium นอกจากนี้สามารถลดจำนวนของ E. coli และ S. aureus ได้ในระหว่างการเก็บรักษา ทั้งยังช่วยปรับปรุงลักษณะปรากฏได้แก่ สีของชิ้นแคนตาลูปตัดแต่งให้ดีขึ้น 
Other Abstract: The objectives of this study were to improve the antimicrobial activity of Ma-kiang seed extracts (MKSE) using adsorbents and application for controlling the selected pathogenic bacteria (Escherichia coli, Staphylococcus aureus and Salmonella Typhimurium) in fresh cut cantaloupe. The adsorbents used in this study were macroporous resin (MARs), powdered activated carbon (PAC) and polyvinyl polypyrolidone (PVPP). The results showed that partially purified MKSE with MARs (ppMARs) contained the highest phenolic compounds which found to adsorb rutin and catechin well and gave the highest yield. It was found that appropriate ratio of 37.5 mg MARs to MKSE at 40 ml of 12.5 mg/ml MKSE solution and 70% ethanol in desorption step was suitable for increasing the phenolic content at and. The antimicrobial activity of partially purified MKSE against gram positive (S. aureus) and gram negative (E. coli and S. Typhimurium) pathogenic bacteria were determined. It revealed that ppMARs and ppPVPP could increased the inhibition efficiency by 4-fold as compared to MKSE while the partially purified with PAC could showed by 2 fold. The appropriate adsorption-desorption of ppMARs showed antimicrobial activity by 8-fold compared with MKSE. For further experiment, ppMARs was chosen for controlling the pathogenic bacteria in fresh cut cantaloupe. It was found that soaking cantaloupe in 1 MBC for 3 mins provided significant reduction in bacterial number. So it is set for the time for soaking the cut cantaloupe. The study on the storage of cut cantaloupe under 4 oC after soaked in various solutions, it was found that soaking with water did not inhibit the growth of bacteria while soaking with 1 MBC of MKSE and ppMARs could reduce number of E. coli and S. aureus during storage. We found that the solution of 1 MBC of ppMARs contained less solid substance by 4 fold. The cut cantaloupe soaking in ppMARs solutions showed darkening in color during storage. The mixture of citric acid and ppMARs solution found to have efficiency to control the color of cut cantaloupe and also total bacteria count of studied pathogenic bacteria.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63469
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572225623.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.