Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6354
Title: การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยปัจจัยเชิงผลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของพยาบาล
Other Titles: A Meta-analysis of consequence variables of transformational leadership of nurses
Authors: ศิริพร คล้ายทิม
Advisors: อารีย์วรรณ อ่วมตานี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Areewan.O@Chula.ac.th
Subjects: พยาบาล
ภาวะผู้นำ
การพัฒนาองค์การ
การวิเคราะห์อภิมาน
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษา 1) อธิบายคุณลักษณะทั่วไปของงานวิจัยที่ศึกษาปัจจัยเชิงผล ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของพยาบาล 2) ศึกษาปัจจัยและวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานของปัจจัยเชิงผล ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของพยาบาล 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐาน จำแนกตามตัวแปรปัจจัยและตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย 4) อธิบายความแปรปรวนของค่าดัชนีมาตรฐานด้วยตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์มีการตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2547 จำนวน 26 เล่ม รวบรวมข้อมูลจากตัวแปรปรับ 4 ประเภทคือ ลักษณะทั่วไป เนื้อหาสาระงานวิจัย วิธีวิทยาการวิจัย และคะแนนคุณภาพงานวิจัย นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ตามวิธีของ Glass และคณะ ได้ค่าดัชนีมาตรฐานจำนวน 145 ค่า นำค่าที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์หาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานด้วย t-test และ F-test และวิเคราะห์ถดถอยด้วย Hierarchical stepwise regression analysis ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) คุณลักษณะทั่วไปของงานวิจัย ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะทั่วไป ด้านเนื้อหาสาระงานวิจัย และด้านวิํธีวทยาการวิจัย 2) ปัจจัยเชิงผลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของพยาบาล ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ การเสริมสร้างพลังอำนาจ/แรงจูงใจของผุ้ตาม (r=.603)ความพึงพอใจในงาน/ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ (r=.436) การปฏิบัติงาน/ประสิทธิผลของผู้นำ (r=.389) การปฏิบัติงานของผู้ตาม (r=.290) และผลงานของกลุ่ม/องค์การ(r=.286)ตามลำดับ 3) ตัวแปรแหล่งทุนวิจัย ปีที่พิมพ์เผยแพร่ จำนวนหน้าไม่รวมภาคผนวก ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ประเภทกลุ่มตัวอย่าง ทฤษฎีทีใข้ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ค่าความเที่ยงของเครื่องมือ และตัวแปรคะแนนคุณภาพงานวิจัย ส่งผลให้เกิดความแตกต่างและความแปรปรวน ของค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานของกลุ่มปัจจัยเชิงผลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4) ตัวแปรค่าความเที่ยงของเครื่องมือ การเสริมสร้างพลังอำนาจ/แรงจูงใจของผู้ตาม ความพึงพอใจในงาน/ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ การปฏิบัติงาน/ประสิทธิผลของผู้นำ การสุ่มตัวอย่าง คะแนนคุณภาพงานวิจัย แหล่งทุนวิจัย ระยะเวลาเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์และพยากรณ์ และการกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ สามารถร่วมกันทำนายค่าดัชนีมาตรฐาน ของปัจจัยเชิงผลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของพยาบาลได้ 79.9%
Other Abstract: To 1)describe research charactiristics of consequence variables of transformational leadership of nurses; 2) identify the factors that influence consequence variables of transformational leadership of nurses; 3)compare means of correlation coefficients across consequence variables and research characteristics; 4) account variance of correlation coefficients by research characteristics varibles. The 26 Thai research studied during 1996-2004 were recruited. Study moderators including general, substantive, methodological charactiristics and research quality were collected. There were 145 correlation coefficients analyzed by using meta-analysis method of Glass, et al. Statistics used in this study were t-test, F-test and hierarchical stepwise regression analysis. The major findings were as follows 1) The research characteristics consisted of 3 components including general, substantive, methodological characteristics. 2) The consequence varibles were 5 factors: empowerment/motivation of staff nurses (r=.603), job satisfaction/organizational commitment (r=.436), job performance/effectiveness of leaders (r=.389), job performance of staff nurses (r=.290), and group/organization performance (r=.286), respectively. 3) Funding source, publication year, numbers of page excluding appendices, sample size, sample group, types of leadership theory, reliabilities of research instrument, and research quality were statistically and significantly affected on the mean of correlation coefficients of consequence variables of transformational leadership of nurses, at .05 level. 4) The predictors of correlation coefficients of consequence variables were reliabilities of research instrument, empowerment/motivation of staff nurses, job satisfaction/organizational commitment, job performance/effectiveness of leaders, sampling, research quality, funding source, duration of data collection, both correlated and predicted research and identifying significant level. They were accounted for 79.9 % of variance.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6354
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.528
ISBN: 9741433603
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.528
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siriporn.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.