Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63634
Title: การลดปริมาณของเสียในกระบวนการพิมพ์โค้ดแบบหมึกลงบนผลิตภัณฑ์กระป๋อง
Other Titles: Defective Reduction in Inkjet Coding Process on Can Product 
Authors: สิทธิกร เลิศอริยสกุล
Advisors: วิภาวี ธรรมาภรณ์พิลาศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wipawee.T@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการลดของเสียจากกระบวนการพิมพ์โค้ดแบบหมึกลงบนผลิตภัณฑ์กระป๋อง ซึ่งมีของเสียเกิดขึ้นใน 2 รูปแบบ คือโค้ดลบและโค้ดขาด วิธีการที่ใช้ลดของเสียเนื่องจากโค้ดลบคือการให้ความร้อนบนผิวกระป๋องก่อนเข้าสู่กระบวนการพิมพ์ และวิธีการที่ใช้ลดของเสียจากโค้ดขาดคือการปรับปรุงแผนการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ จากผลการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการให้ความร้อนผิวกระป๋องคือ อุณหภูมิ ระดับแรงลม และระยะเวลาในการให้ความร้อน จากการออกแบบการทดลองโดยวิธีบ็อกซ์ -เบห์นเคน (Box Behnken) และหาค่าที่เหมาะสมโดยวิธีพื้นผิวตอบสนองพบว่ากระป๋องประเภท Tin ใช้อุณหภูมิ 512 องศาเซลเซียส แรงลมระดับ 3 ระยะเวลาในการให้ความร้อน 0.66 วินาที กระป๋องประเภท Aluminum ใช้อุณหภูมิ 309 องศาเซลเซียส แรงลมระดับ 3.5 ระยะเวลาในการให้ความร้อน 0.66 วินาที เป็นค่าที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัยผลลัพธ์จากการแก้ไขโดยการให้ความร้อนผิวกระป๋องก่อนพิมพ์เครื่องพิมพ์ ทำให้สามารถลดของเสียเนื่องจากโค้ดลบลงเหลือเพียง 0.014 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการปรับปรุงแผนการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ดำเนินการโดยการเพิ่มรอบการทำความสะอาดหัวพิมพ์ เพิ่มรอบการทำความสะอาดระบบผสมน้ำหมึก และปรับปรุงแผนการตรวจเช็คอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่อง ทำให้สามารถลดของเสียเนื่องจากโค้ดขาดลงเหลือเพียง 0.006 เปอร์เซ็นต์ ในการดำเนินการทั้งหมดส่งผลให้ของเสียโดยรวมจากสายการผลิตที่ 1 ลดลงจาก 0.2 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 0.02 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้ตามเป้าหมายที่โรงงานกำหนดไว้
Other Abstract: This paper focuses on reducing defectives in an inkjet coding process of a can product. The two main defectives are code removing and code shear problems. The approach used to solve code removing problem is heating can surface before printing and preventive maintenance of coding machine is used to solve code shear problem. From an analysis, three factors including temperature, air flow level, and heating time must be considered in a surface preparing process. Box Behnken is used in experimental design and response surface is then applied to find proper levels of these factors. The most appropriate conditions for tin can are temperature 512 .C, air flow level 3, and heating time 0.66 second and the appropriate for aluminum can are temperature 309.C, air flow level 3.5, and heating time 0.66 second. The result shows that the can surface preparation reduces code removing problem to 0.014 percent remaining. The preventive maintenance plan is adjusted by increasing cleaning cycle of printing head, increasing cycle of ink mixing system and make instrument checking plan. It reduces code shear problem to 0.006 percent remaining. Overall defective reduction in production line 1 reduces from 0.2 percent to 0.02 percent.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63634
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1332
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1332
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5970969921.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.