Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63933
Title: การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพลังกลุ่มสตรีในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
Other Titles: The development of learning process to empower women in natural resource management
Authors: ธิดารัตน์ วันโพนทอง
Advisors: อมรวิชช์ นาครทรรพ
อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Amornwich.n@chula.ac.th
Ubonwan.H@Chula.ac.th
Subjects: การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
สตรี -- การศึกษา
การเรียนรู้
Natural resources -- Management
Women -- Education
Learning
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มสตรีในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 2) วิเคราะห์ปัจจัยเงื่อนไขกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพลังกลุ่มสตรีในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ 3) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพลังกลุ่มสตรีในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใน 2 กรณีศึกษา คือ กลุ่มสตรี บ้านทุ่งยาว ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และกลุ่มสตรีสมาคมคนทาม เขื่อนราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จากนั้นนำผลสรุปจากทั้ง 2 กรณีศึกษา มาปรับใช้กับกลุ่มสตรีบ้านม่วงชุม ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มสตรีบ้านทุ่งยาวและกลุ่มสตรีสมาคมคนทาม มีขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ที่เหมือนกัน ดังนี้ (1) การร่วมกำหนดเป้าหมาย (2) การร่วมกำหนดแนวทางเลือกเพื่อให้ไปสู่เป้าหมาย (3) มีการวางแผนร่วมกัน (4) มีการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม (5) มีการสรุปบทเรียน และ (6) มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ ซึ่ง 2 ขั้นตอนสุดท้าย เป็นขั้นตอนสำคัญที่ก่อให้เกิดพลังการพัฒนาศักยภาพของสตรีด้วยตนเอง อย่างไรก็ดี แต่ละพื้นที่มีลักษณะกระบวนการเรียนรู้เฉพาะตัว ได้แก่ กลุ่มสตรีบ้านทุ่งยาว มีลักษณะการรวมกลุ่มจากการ “ระเบิดจากภายใน” ส่วนกลุ่มสตรีสมาคมคนทามมีลักษณะการรวมกลุ่มจากการสร้างพื้นที่ขึ้นมาใหม่โดยร่วมกลุ่มกับภายนอก 2) ปัจจัยที่เหมือนกันของ 2 กรณีศึกษา มีปัจจัยภายใน ได้แก่ (1) ครอบครัว (2) ผู้รู้ในชุมชน และ(3) คนในชุมชน/สมาคม ปัจจัยภายนอก ได้แก่ (1) องค์กรพัฒนาเอกชนและ (2) องค์กรเครือข่าย สำหรับปัจจัยที่มีความเด่นชัดในกลุ่มสตรีบ้านทุ่งยาว ได้แก่ (1) วัฒนธรรมประเพณี (2) คนในชุมชน (3) ฐานทรัพยากร (4) ความเข้มแข็งของชุมชน และ (5) ผู้นำชุมชน กลุ่มสตรีสมาคมคนทาม ได้แก่ (1) แรงจูงใจภายใน (2) กระบวนการกลุ่มที่เป็นเครือข่าย (3) การดำเนินการแบบมีส่วนร่วมทุกฝ่าย (4) สภาพทางเศรษฐกิจ ส่วนปัจจัยภายนอกที่มีความโดดเด่นของกลุ่มสตรีบ้านทุ่งยาว คือ แนวคิดการจัดการป่าชุมชนและบทบาทสตรี สำหรับกลุ่มสตรีสมาคมคมทาม ได้แก่ (1) ผู้นำ (2) สื่อ และ (3) กระบวนการวิจัยชุมชน ทั้ง 2 กรณีศึกษามีเงื่อนไขที่เหมือนกัน คือ แนวทางการพัฒนาของรัฐ ส่วนเงื่อนไขที่แตกต่างกันของกลุ่มสตรีบ้านทุ่งยาว ได้แก่ 1) ช่วงระยะเวลา และ2) ความสนใจ ในขณะที่กลุ่มสตรีสมาคมคนทาม มีเงื่อนไข ได้แก่ 1) บริบท และ 2) การเป็นตัวแทนของครอบครัว 3) กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพลังกลุ่มสตรีในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เป็นกระบวนการเรียนรู้จากฐานประสบการณ์และฐานของปัญหา มีขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้ 1) เรียนรู้ปัญหา 2) รวมกลุ่ม 3) ร่วมค้นปัญหา 4) ร่วมวิเคราะห์ทางเลือกและกำหนดแนวทาง 5) ร่วมวางแผน 6) ร่วมปฏิบัติร่วม 7) ร่วมถอดบทเรียน และ 8) ร่วมถ่ายทอด โดยมีเนื้อหา/องค์ความรู้สำคัญ คือ ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีเงื่อนไข ได้แก่ 1) บริบทของพื้นที่ 2) ความสนใจ 3) แนวทางการพัฒนาของสังคมไทย ทั้งนี้ ในกระบวนการต้องคำนึงถึงฐานความรู้ ประสบการณ์เดิม ฐานความคิดที่มีต่อบทบาททางเพศ ฐานทักษะและเทคนิคเชิงกระบวนการ และฐานการมีส่วนร่วม โดยมีปัจจัยภายในได้แก่ 1) ความเข้มแข็งของชุมชน 2) ครอบครัว และ 3) ผู้รู้ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1) บทบาทของนักพัฒนา 2) นักวิชาการ และ 3) การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
Other Abstract: The aim of this thesis is to 1) find the learning processes of groups of women in natural resource management; 2) analyze the factors and conditions of learning process which empower groups of women in natural resource management; and 3) develop a learning process to empower groups of women in natural resource management. Qualitative methodology is employed in collecting data. The study is examined from two cases studies: (1) A group of women at Ban ThungYao, SriBuaBann, Lamphun Province and (2) A group of women from Taam and People Association, RaSriSalai Dam, Srisaket Province. The summary results of these two case studies are accordingly applied, using Participatory Action Research (PAR) in a group of women at Baan MuangChum, ChiangKhong, ChiangRai Province. The research outcomes can be summarized as follows: 1) The learning processes to empower groups of women in natural resource management from the two case studies have six similar processes of learning: (1) specifying a target group, (2) determining promising options for completion, (3) collaborating in making an action plan, (4) participating in group working, (5) summarizing learning outcomes, and (6) transferring knowledge. The last two processes are considered as the most important procedures in empowering a group of women to contribute self-development. However, each case study has specific characteristic of the learning process; the aggregation of the group of women of Ban ThungYao is an inside-out approach, dividing group from participants in the community, while the group of women from Taam and People Association builds the group by creating a new group accompanying people from outside. 2) Similar factors of the two case studies can be seen from both internal and external factors. The same internal factors are: (1) families, (2) key informants in a community, and (3) inhabitants in a community. The similar external factors are: (1) NGOs, and (2) networking corporations. Significant internal factors of the group of women at Ban ThungYao are presented as follows: (1) cultural traditions and local history, (2) inhabitants in a community, (3) resource base, (4) community strength, and (5) leaders of a community. Notable internal factors of the group of women from Taam and People Association can be presented in five points: (1) internal motivation, (2) group networking, (3) participatory approach in performance, and (4) economic status. Noteworthy external factors of the group of women at Ban ThungYao are the management of community's forestry. The notable external factors of the group of women from Taam and People Association are: (1) Leaders, (2) community's media, and (3) community research. Additionally, the same condition in contributing a group learning process of these two case studies is the government's developing policy. The different conditions of the group of women at Ban ThungYao are timing and interesting point, while the different conditions of the group of women from Taam and People Association are community's context and being representatives of their own families. 3) The development of learning processes to empower groups of women in natural resource management is the process of learning from the experience-based and problem-based approaches. These approaches are consisted of (1) problem exploring, (2) group networking participation, (3) common problem finding, (4) alternatives determining, (5) participating in planning, (6) performing participation, (7) lesson learned, and (8) knowledge transferring. These approaches relate to the relationship between participants and natural resources subject to area contexts, interesting aspects, and Thailand's developing policy. In order that, the process requires previous experiences, gender perspectives, skill bases, technical process and participation-based approach. Finally, the internal factors employing in the process are: (1) community strength, (2) family, and (3) community's key informants. The external factors are: (1) roles of developers, (2) academics, and (3) support from external agencies.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63933
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tidarat Wanphontong.pdf4.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.