Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64005
Title: ความไม่เป็นธรรมในการหักรายจ่ายเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ศึกษากรณีกิจการให้เช่าซื้อ หรือให้เช่าแบบลีสซิ่งที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
Authors: ณัฐธิดา จิตร์วัฒนาสุข
Advisors: ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: supalakpp@hotmail.com
Subjects: กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- เช่าซื้อ
การเช่ารถยนต์
สถาบันการเงิน
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ธุรกิจเกี่ยวกับการให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่งเป็นทางเลือกของประชาชนส่วนใหญ่ในการที่จะสามารถเข้าถึงทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น รถยนต์ยานพาหนะ เครื่องจักรที่มีราคาสูงเพื่อใช้ในการประกอบกิจการหรือใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ซึ่งภาคเอกชนที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้เช่าซื้อหรรือให้เช่าแบบลีสซิ่งหลัก ๆ มีสองส่วนคือ กิจการให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่งที่ดำเนินการโดยสถาบันการเงิน เช่น บริษัท ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารทิสโก้ ฯลฯ และกิจการให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่งที่ดำเนินการบริษัทเอกชนที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น บริษัทโตโยต้า ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ฯลฯ โดยทั้งสองประเภทนั้นจะมีลักษณะการประกอบธุรกิจเช่นเดียวกัน เนื่องจากธุรกิจการให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่งเป็นธุรกิจที่กระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ในหลาย ๆ ด้าน ดังนั้นจึงมีหน่วยงานที่กำกับดูแลในเรื่องต่าง ๆ เข้ามากำกับดูแลเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายทั้งต่อประชาชนผู้บริโภคและต่อสภาพเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าธุรกิจการให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่งมีลักษณะเป็นการให้สินเชื่อรายย่อยแก่ลูกหนี้ โดยลูกหนี้จะทำการผ่อนชำระให้แก่ผู้ให้สินเชื่อเป็นรายงวด ซึ่งปกติผู้ให้สินเชื่อแต่ละรายก็ย่อมมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวังครอบครอง แต่อย่างไรก็ตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ก็มีอิทธิพลมาจากหลายปัจจัย ธุรกิจประเภทนี้จึงต้องมีการประมาณเงินสำรองที่ไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งในทางภาษีถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (1) แต่เนื่องจากมีพระราชกำหนดแก้ไขประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 17 ที่มีการยกเว้นเงินสำรองสำหรับหนี้จากการให้สินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (“สถาบันการเงิน”) ให้สามารถนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ จึงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมและเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ประกอบการที่มีลักษณะธุรกิจเดียวกัน แต่ไม่สามารถนำเงินสำรองดังกล่าวมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ เมื่อเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศสิงคโปร์ พบว่าสำหรับกิจการให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่งทุกประเภทไม่ว่าเป็นสถาบันการเงินหรือไม่ ถ้ามีการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องแล้ว สามารถนำเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นแนวทางที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างแท้จริงต่อผู้ประกอบการ
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64005
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.2
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2018.2
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6086184734.pdf964.07 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.