Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64122
Title: ออกไซด์ของโลหะบนตัวรองรับเซลลูโลสเพื่อเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงในการสลายสีย้อม
Other Titles: Metal oxide supported on cellulose as photocatalyst for dye degradation
Authors: ชัยภัทร บุศราทิจ
Advisors: นิปกา สุขภิรมย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Nipaka.S@Chula.ac.th,nipaka.cu@gmail.com
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสี
Sewage -- Purification -- Color removal
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันปัญหาน้ำเน่าเสียเป็นปัญหาส่งผลกระทบกับชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงแหล่งน้ำ สีย้อมก็เป็นหนึ่งในสารเคมีที่ปนเปื้อนตามแหล่งน้ำ หนึ่งในวิธีในการกำจัดสีย้อมคือ การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงในการย่อยสลาย โดยนิยมใช้ ZnO และ TiO₂ ในงานนี้ ผู้วิจัยสนใจที่ตรึงโลหะออกไซด์เหล่านี้ บนตัวรองรับจากธรรมชาติ เพื่อช่วยในการกระจายอนุภาคของโลหะออกไซด์ เป็นการลดปริมาณการใช้โลหะออกไซด์ และเส้นใยเซลลูโลสจะช่วยให้การกรองตัวเร่งปฏิกิริยากลับมาใช้ใหม่เกิดขึ้นได้ง่าย โดยตัวรองรับที่ใช้ในงานนี้เป็นเซลลูโลสจากผักตบชวา ที่สามารถหาได้ง่าย โดยเริ่มจากการสกัดเซลลูโลสจากผักตบชวา แล้วนำเซลลูโลสที่ได้มาเคลือบด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง คือ ZnO แล้วนำไปตรวจสอบลักษณะเฉพาะด้วยเทคนิค XRD และ SEM แล้วนำไปทดสอบการสลายสีย้อมเมทิลออเรนจ์ในน้ำ จากผล XRD และ SEM สามารถสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง ZnO ที่ติดบนเซลลูโลสและมีการกระจายอนุภาคอย่างสม่ำเสมอ แต่ประสิทธิภาพด้านการสลายสีย้อมเมทิลออเรนจ์ในน้ำต่ำลง
Other Abstract: Water pollution becomes a problem to people who lived nearby a river. Dyes is one group of chemicals that generally contaminates in water. One of the method of dyes removal is using photocatalysts such as ZnO or TiO₂ to degrade dyes. In this research, the researcher is interested in immobilizing these metal oxides on a natural supporter. The supporter could assist the particle distribution and reduce the amount of metal oxides used for photocatalyst. The supporter used in this research is cellulose from water hyacinth that is easily found. The process started from extracting cellulose from water hyacinth. Then the obtained cellulose was embed with ZnO. The ZnO immobilized on cellulose was then characterized by XRD and SEM techniques and and the methyl orange degradation reaction was tested. The results from XRD and SEM techniques Indicated that ZnO was attached on cellulose with homogeneous distribution, but the photocatalytic activity is lower.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64122
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaiyaphat_B_Se_2561.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.