Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64187
Title: การศึกษาพฤติกรรมของลมในประเทศไทย
Other Titles: Study of wind behavior in Thailand
Authors: มนัญชยา จงสุตกวีวงศ์
Advisors: สันติ ภัยหลบลี้
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Santi.Pa@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมความเร็วและทิศทางของลมในประเทศ ไทย โดยรวบรวมข้อมูลลมสูงสุดรายวันจากกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศไทย และใช้ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่-ขนาด (Frequency-Magnitude distribution relationship) ในการศึกษาความเร็วลมทำให้สามารถแบ่งข้อมูลออกได้เป็น 4 ชุด ได้แก่ ข้อมูลชุดที่ 0-3 โดยชุด ข้อมูลที่สามารถนำไปประเมินต่อได้ คือ ชุดข้อมูลที่ 1 และ 2 ซึ่งสามารถจัดทำเป็นแผนที่ขนาด ความเร็วลมมากที่สุดที่สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วง 5 10 30 และ 50 ปี แผนที่คาบอุบัติซ้ำของลม ในช่วงโบฟอร์ตสเกล 0-9 และแผนที่โอกาสการเกิดลมระดับโบฟอร์ตสเกล 8 และ 9 พบว่าบริเวณ ที่มีความเร็วลมมากมักเป็นที่ราบและอยู่ใกล้กับชายฝั่ง ได้แก่ บริเวณที่ราบตอนกลางรอบอ่าวรูป ก และบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกในส่วนของทิศทางลมได้ใช้แผนภูมิทิศทางลม (wind rose) ในการศึกษา โดยได้จัดทำแผนภูมิทิศทางลมในแต่ละเดือนเพื่อศึกษาฤดูกาลของลม พบว่าทิศทางลม ในไทยสามรถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงหลัก ได้แก่ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนลมจะพัดมาจากทิศใต้ ช่วงเดือนเมษายมถึงตุลาคมลมจะพัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ และช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ลมจะพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นผลมาจากลมตะเภา ลมมรสุมตะวันตกเฉียง ใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ ในการศึกษาเชิงพื้นที่ ได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคใต้ฝั่ง ตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก พบว่าทิศทางของลมในไทย พบว่าลมในภาคเหนือและภาค กลางมีทิศทางจากทางใต้เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากลมพัดเข้าไทยทางตอนล่างของภาคกลางและการ ที่เทือกเขาในภาคเหนือวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เป็นตัวบังคับทิศทางลม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกลมจะพัดอยู่ในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ เนื่องจากอิทธิพลของลมมรสุม และภาคใต้ฝั่งตะวันตกลมพัดมาจากทิศตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากอยู่ติดทะเลอันดามันและอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
Other Abstract: The objective of this project is to study wind velocity and wind direction in Thailand. The utilized database is based on Thai Meteorological Departtment (TMD). The data is analyzed based on frequency-velocity distribution and is devided in to 4 datasets which are dataset 0 to dataset 3. The data used for further analysis are dataset 1 and 2 which can be evaluated in term of 1 maximum size within, 2) returen period, 3) probability of occurrence. The rusults show that area of high velocity are mostly plain area and small distance to the sea which include central plain and the west coast of southern Thailand. The wind direction is analyzed by wind rose. In term of time variation, wind roses are created for each monthes and are devided into 3 main period 1) February to April, dominated by trade wind 2) April to October, dominated by southwest monsoon 3) October to February, dominated by northeast monsoon. In term of special variation, wind roses are created for each regions of Thailand, northern, central, northeastern, eastern, east coast of southern, and west coast of southern Thailand. The wind in the north and central have main direction from the south because of sae breeze and the N-S trending mountain. The wind in the east, northeast, and east coast of the south have main direction trending in NE-SW direction because of the monsoon. The wind in west coast of the south has main direction from the west since it is closer to the equator than other regions.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64187
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manunchaya_C_Se_2561.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.