Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64199
Title: การประกอบเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์เสถียรภาพสูงด้วยวิธีสองขั้นตอนอย่างง่าย
Other Titles: Facile two-step method for high-stability Perovskite solar cell fabrication
Authors: วริศรา เธียรกานนท์
สิรวิชญ์ จันทร์ทอง
Advisors: ณัฏฐพล ภู่ตระกูลโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Nuttapol.P@chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์ได้รับความสนใจเป็นอย่างสูงจากกลุ่มงานวิจัยเซลล์แสงอาทิตย์ เนื่องด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดนี้สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น อย่างไรก็ตาม การเตรียมขั้วไฟฟ้าร่วมจากโลหะมีตระกูลผ่านวิธีการระเหยด้วยความร้อน ทำให้ต้นทุนการผลิต เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดนี้มีราคาสูง ดังนั้นจึงมีการศึกษาการนำวัสดุจำพวกคาร์บอนซึ่งมีราคาต่ำกว่ามาผลิตเป็น ขั้วไฟฟ้าร่วมทดแทนโลหะมีตระกูลเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการประกอบเซลล์ งานวิจัยนี้เสนอการสังเคราะห์กราฟีน จากวัสดุกราไฟต์ด้วยวิธีทางเคมีไฟฟ้า รีดิวซ์กราฟีนด้วยความร้อน และผสมกับคาร์บอนแบล็กเพื่อเป็นใช้ ขั้วไฟฟ้าร่วม ในขั้นตอนการเตรียมคาร์บอนเพสต์ได้ศึกษาผลของระยะเวลาการบดเปียก (12, 18 และ 24 ชั่วโมง) ที่มีต่อประสิทธิภาพการเปลี่ยนรูปพลังงานของเซลล์แสงอาทิตย์ พบว่าระยะเวลาการบดคาร์บอนเพสต์ 18 ชั่วโมงจะได้อนุภาคของคาร์บอนเพสต์ขนาด 1 ไมโครเมตร มีค่าความต้านทานแบบแผ่น (Sheet resistance) 61.32 Ω/□ สามารถนำไปผลิตเป็นขั้วไฟฟ้าร่วมของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์ที่ให้ค่า ประสิทธิภาพการเปลี่ยนรูปพลังงานสูงที่สุด นอกจากนี้เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์ ซึ่งใช้สารผสม เฮไลด์ที่มีสัดส่วนไอโอไดด์ต่อโบรไมด์เท่ากับ 0.89 ต่อ 0.11 ยังแสดงค่าประสิทธิภาพสูงกว่าไอโอไดด์เพียงชนิด เดียวถึง 6 เท่า อีกทั้งการใช้วัสดุเพอรอฟสไกต์ฐานโบรไมด์จะช่วยเพิ่มเสถียรภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ ผลการ ทดสอบเสถียรภาพพบว่าเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์ฐานโบรไมด์มีประสิทธิภาพลดลงเพียงร้อยละ 11 หลังจากเก็บในสภาวะมืดเป็นเวลา 500 ชั่วโมงงานวิจัยนี้นำเสนอแนวทางการประกอบเซลล์แสงอาทิตย์อย่าง ง่ายเพื่อลดต้นทุนการผลิต และปรับปรุงเสถียรภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์ ให้เหมาะสม สำหรับการผลิตในเชิงพาณิชย์ต่อไป
Other Abstract: Perovskite solar cell (PSC) has received great attention from photovoltaic research community for the fact that its efficiency has been raised abruptly in a matter of a decade. However, the counter electrode of PSCs is usually prepared by thermal evaporation of noble metals. This makes the cost of PSCs noncompetitive. Thus, the replacement of noble metal with carbon material has recently been studied to lower the cost of PSCs. This research investigated the synthesis of graphene compound by electrochemical exfoliation of graphite followed by thermal reduction and used in corporate with carbon black as the PSC counter electrode. The effect of mixing time (12, 18 and 24 hours) during the carbon paste preparation step on the PSC photo-conversion efficiency was explored. The result showed that the mixing time of 18 hours yields the highest PSC efficiency. This attributes to low square resistance of 61.32 Ω/□ and small carbon paste particle size of 1 micrometer. In addition, PSC devices based on mixed-halide solution with the ratio of Iodide:Bromide equals to 0.89:0.11, i.e. Pb(I0.89Br0.11)2, exhibited the photo-conversion efficiency 6 times higher than PSC devices based on only iodide. Further investigation revealed that the presence of bromine in perovskite layer has a stabilizing effect on PSC photo-conversion efficiency. The cell efficiency decreases only 11% of its initial value after 500 hours stability test at atmospheric condition in the dark. The results provide a facile method to reduce the cost meanwhile to improve the stability of perovskite solar cells.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีวิศวกรรม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64199
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Varisara_T_Se_2561.pdf26.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.