Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64200
Title: การตรวจวัดสารปราบศัตรูพืชด้วยการเปลี่ยนสีของสีย้อมแอซิดบลู-25
Other Titles: Colorimetric detection of pesticides by acid blue 25
Authors: ภิญกาญจน์ อินต๊ะแสน
Advisors: อภิชาติ อิ่มยิ้ม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวิธีการตรวจวัดทางสีอย่างง่ายที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าสำหรับสารปราบศัตรูพืช ได้แก่ พาราควอตและอนุพันธ์ของเบนโซไทอะโซล คือ 2-เมอร์แคปโทเบนโซไทอะโซล โดยการให้สารปราบศัตรูพืชทำปฏิกิริยากับสารละลาย Au(III) ก่อน จากนั้นเติมสารละลายแอซิดบลู-25 และสามารถทำการวิเคราะห์สารปราบศัตรูพืชจากการเปลี่ยนสีของสารสารละลายแอซิดบลู-25 จากการศึกษาภาวะที่เหมาะสมของการทดลองพบว่า สารละลายแอซิดบลู-25 สามารถถูกฟอกจางสีได้ด้วยสารละลาย Au(III) ที่ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อลิตรสามารถทำให้สารละลายแอซิดบลู-25 เปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเป็นสีม่วงแดงซึ่งสามารถสังเกตการเปลี่ยนสีอย่างเห็นได้ชัดและพีเอชไม่มีผลต่อการทดลอง สำหรับการตรวจวัดพาราควอตใช้เวลาในการตรวจวัดนาน จึงจำเป็นต้องพัฒนาต่อไป และ 2-เมอร์แคปโทเบนโซไทอะโซล สามารถตรวจวัดได้ที่เวลา 20 นาที และกราฟความเป็นเส้นตรงในช่วงความเข้มข้น 1 – 30 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่การดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 625 นาโนเมตร และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R²) เท่ากับ 0.9886
Other Abstract: A simple method based on colorimetric detection was developed for determination of pesticides including paraquat and benzothiazole derivative; 2-mercaptobenzothiazole. The method was initiated by the reaction between pesticides and Au(III) ions. Then, Acid blue 25 was added to observe the change of its color leading to pesticide determination. Au(III) solution at high concentration was able to decolorize of Acid blue 25 from blue to colorless and the optimum concentration of Au(III) solution was obtained at 10 ppm which could change Acid blue 25 color from blue to purple-red. Also, pH did not affect the decolorization. The detection of paraquat required a long reaction time; therefore, this method needs to develop in the future. While 2-mercaptobenzothiazole could be detected at 20 minutes and the linear range was 1 – 30 ppm obtained from UV-Visible spectrum at 625 nm with the correlation coefficient (R²) of 0.9886.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64200
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pinyakarn_I_Se_2561.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.