Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64204
Title: ความหลากหลายทางพันธุกรรมของแมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน (Loxosceles rufescens (Dufour,1820) ในประเทศไทย
Other Titles: Genetic diversity of the Mediterranean recluse spider (Loxosceles rufescens (Dufour, 1820)) in Thailand
Authors: ชาลิสา หอมตระหลบ
Advisors: ณัฐพจน์ วาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Natapot.W@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Loxosceles rufescens (Dufour, 1820) หรือแมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน เป็นแมงมุมที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และทางตอนใต้ของทวีปยุโรป ซึ่งต่อมามีการกระจายตัวทั่วโลกทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในปี ค. ศ. 2016 ได้มีรายงานการค้นพบ L. rufescens ครั้งแรกในประเทศไทยที่ถ้ำวังพระ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีการสันนิษฐานว่า L. rufescens น่าจะเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตามผู้วิจัยพบว่า L. rufescens ยังมีการกระจายตัวอยู่ในอีกสองจังหวัดนอกเหนือจากกาญจนบุรี ได้แก่ ราชบุรีและประจวบคีรีขันธ์ เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับการเข้ามาและการกระจายตัวของ L. rufescens ภายในประเทศไทย ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของชิ้นส่วนของยีน Cytochrome c Oxidase I (COI) จำนวน 463 คู่เบสด้วยวิธีการสกัด DNA ทำ PCR และ direct DNA-sequencing ตัวอย่าง L. rufescens จำนวน 34 ตัวอย่างจากถ้ำจำนวน 6 ถ้ำในประเทศ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยทำการสร้าง phylogenetic tree ภายใต้ model HKY+G ประกอบกับใช้ข้อมูลยีน COI ของ L. rufescens จากตัวอย่างที่มีการศึกษาในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และ จีนมาประกอบ และใช้วิธี Bayesian inferences ด้วยการวิเคราะห์แบบ Markov Chain Monte Carlo โดยใช้จำนวน run ทั้งหมด 2,000,000,000 รอบ และทำการเก็บข้อมูลทุก ๆ 200,000 รอบ โดยมีการ burn-in ที่ 10% ผลการศึกษา พบว่า ตัวอย่างของ L. rufescens ในประเทศไทยมีต้นกำเนิดมาจาก mitochondrial lineage จำนวน 2 lineages (A และ B) ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน โดยที่ตัวอย่างจากถ้ำวังพระและถ้ำฝาโถ มีตัวอย่างที่มาจากทั้ง lineage A และ B ในขณะที่ L. rufescens ที่พบในถ้ำอื่นๆ ภายในประเทศมาจาก lineage B ทั้งหมด นอกจากนี้ตัวอย่างจากวัดถ้ำเขากุญชร จังหวัดราชบุรี อาจจะมี cryptic species ของแมงมุมสกุล Loxosceles ชนิดอื่นซ่อนอยู่ด้วย จากการศึกษาในครั้งนี้ สามารถแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมของ L. rufescens ในประเทศไทย อย่างไรก็ตามผู้วิจัยจำเป็นที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมโดยใช้เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ (microsatellite markers) ในการวิเคราะห์และหาคำตอบที่เกี่ยวข้องกับประชากร L. rufescens ที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิธีรักษาผู้ป่วยที่ถูก L. rufescens กัดต่อไปในอนาคต
Other Abstract: Loxosceles rufescens (Dufour, 1820) or Mediterranean recluse spider is native to the Mediterranean but considered cosmopolitan because it has been dispersed worldwide in both tropical and temperate areas. In 2016, L. rufescens was discovered in Thailand at Wang Pra limestone cave in Kanchanaburi Province, assuming the spiders were introduced into Thailand during World War II. However in this study, L. rufescens was collected from two more provinces in Thailand: Ratchaburi and Prachuap Kirikhan. To address the questions regarding the introduction events and current distribution of L. rufescens in Thailand, partial Cytochrome c Oxidase I gene (COI) (463 bp) were analyzed as a result from DNA extraction, PCR amplification, and direct DNA-sequencing of 34 L. rufescens samples collected from 6 limestone caves in Thailand. Phylogenetic relationships were analyzed under HKY+G model using L. rufescens sequences deposited in GenBank from the Mediterranean, Europe, Americas, Australia, and China. Bayesian Inference (BI) method was implemented for phylogenetic analyses using Markov Chain Monte Carlo algorithm and 2,000,000,000 runs. Data were collected every 200,000 cycles with burn-in 10% to be discarded. The results suggest that samples of L. rufescens in Thailand comprise at least two mitochondrial lineages (lineage A and B) from the Mediterranean areas. In addition, samples collected from Wang Pra and Fa to limestone caves show both lineages living in the same area. Furthermore, sequences obtained from individuals in Wat Tum Koa Kunchon limestone may be a cryptic species relating to L. rufescens. This study is the first to reveal high genetic diversity of L. rufescens populations in Thailand. For future works, microsatellite markers will be employed to analyze the population genetic structure of L. rufescens populations in Thailand to complement the mtDNA works.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64204
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chalisa_H_Se_2561.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.