Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64223
Title: | หลักฐานทางธรณีสัณฐานวิทยาและตะกอนวิทยาของการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลสมัยโฮโลซีน บริเวณอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
Other Titles: | Geomorphological and sedimentological evidences of holocene sea-level change at Bangsaphan district, Prachuap Khiri Khan province |
Authors: | ศุภวิชญ์ ขำเดช |
Advisors: | สุเมธ พันธุวงค์ราช ฐานบ ธิติมากร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sumet.P@chula.ac.th Thanop.T@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | บริเวณพื้นที่หาดบ้านกรูด อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่พบหลักฐานที่ สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระดับนํ้าทะเลสมัยโฮโลซีน โดยลักษณะทางธรณีสัณฐานวิทยาที่สำคัญ ได้แก่ สันทราย สลับกับที่ลุ่มต่ำ และลากูนเก่า ซึ่งพบสันทรายที่มีระดับความสูงที่แตกต่างกัน ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาหลักฐานทาง ธรณีสัณฐานวิทยาและตะกอนวิทยาในพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลประกอบจากการเจาะสำรวจตะกอนแนวดิ่งด้วยสว่านมือ (Hand Auger) เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและการกระจายตัวของตะกอน การวัดระดับความสูงของภูมิ ประเทศ และการหยั่งธรณีฟิสิกส์ด้วยเรดาร์ (Ground Penetrating Radar) โดยเลือกใช้สายอากาศสัญญาณ 2 คลื่นความถี่ ได้แก่ ช่วงความถี่ 200 และ 400 เมกะเฮิร์ต ทำการสำรวจในแนวตั้งฉากกับชายฝั่งปัจจุบัน ซึ่งจะได้ ลักษณะสัญญาณเป็นภาพหน้าตัด (Profile) ในแนว 2 มิติ และนำมาวิเคราะห์ลักษณะปรากฏทางเรดาร์ ผลการศึกษาสามารถแบ่งลักษณะธรณีสัณฐานวิทยาที่สัมพันธ์กับบริเวณที่ศึกษาตะกอนวิทยา ออกเป็น 8 ประเภท ได้แก่ สันทรายโบราณด้านในเป็นตะกอนทรายขนาดปานกลาง ลากูนเก่าเป็นตะกอนทรายขนาดปาน กลาง สันทรายโบราณด้านนอก 1 เป็นตะกอนทรายขนาดหยาบ สันทรายโบราณด้านนอก 2 เป็นตะกอนทราย ขนาดปานกลาง มีส่วนผสมของดินเหนียวมาก สันทรายโบราณด้านนอก 3 เป็นตะกอนทรายขนาดหยาบ สันทราย โบราณด้านนอก 4 เป็นตะกอนทรายขนาดหยาบ สันทรายโบราณด้านนอก 5 เป็นตะกอนทรายขนาดปานกลาง และที่ลุ่มต่ำเป็นตะกอนดินเหนียวที่มีอินทรีย์สารมากสะสมตัวอยู่บนตะกอนทรายขนาดหยาบ และลักษณะปรากฏ ทางเรดาร์แสดงให้เห็นถึงชั้นการสะสมตัวของตะกอนชายฝั่งหลายชั้น ซึ่งแสดงถึงกระบวนการการสะสมตัวและการ กัดเซาะที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลในอดีตได้ |
Other Abstract: | The area of Ban Krut beach at Bang Saphan district, Prachuap Khiri Khan province is one of the areas which is found the evidences that related to sea-level change in Holocene period. The important geomorphological features are beach ridge which interspersed with swale and old lagoon, the beach ridges have the different of elevation. Due to difference in geomorphological topography, this area is an appropriate location for study geomorphological and sedimentological evidences by applying the data of sediment core drilling for studying the physical properties and distribution of sediments. In addition, the study is including the topographic survey and Ground penetrating radar, which selected the 200 and 400 MHz antennas, surveyed in perpendicular line with coastal. The signals are 2D profiles which used to analyze the radar facies. The results indicate geomorphological features, which related to sedimentological study. They can be divided into 8 units which are consist of inner beach ridge as medium grained sand, old lagoon as medium grained sand with clay content, outer beach ridge 1 as coarse grained sand, outer beach ridge 2 as medium grained sand, outer beach ridge 3 as coarse grained sand, outer beach ridge 4 as coarse grained sand, outer beach ridge 5 as medium grained sand and swale as clay with organic content on the top of coarse grained sand. Moreover, the radar facies indicate many coastal sediment depositional layers which indicated the depositional process and the erosion that they can explain about the regressive in the past. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64223 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supavit_K_Se_2561.pdf | 7.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.