Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64226
Title: ผลของคำอธิบายเชิงข้อมูล และกลิ่นต่อความจำสีระยะสั้น
Other Titles: The effect of information data and scent on short-term color memory
Authors: ภาวินี องค์วาณิชกุล
มนพร มโนจิตงาม
Advisors: พิชญดา เกตุเมฆ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Pichayada.K@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความจำหมายถึง การเก็บข้อมูลไว้ในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งความจำหากมีปัจจัยกระตุ้นจะทำให้สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น สี คำนิยาม และกลิ่น ก็เป็นปัจจัยที่กระตุ้นความจำของมนุษย์ ในปัจจุบัน สี มีความเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน จะเห็นได้มีการนำสีไปใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า ให้น่าสนใจมากขึ้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความจำสีกับข้อมูล และกลิ่นและศึกษาปัจจัยร่วมที่เกี่ยวข้องกับความจำสีได้แก่ เพศ อายุ ประสาทสัมผัสด้านกลิ่น งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดสอบเก็บข้อมูลจากบุคคลสายตาปกติจำนวน 36 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ วัยรุ่น อายุ 18-23 ปี เพศหญิง 9 คน และเพศชาย 9 คน และผู้สูงวัย อายุ 55 ปีขึ้นไป เพศหญิง 9 คน และเพศชาย 9 คน โดยผู้เข้าร่วมวิจัยจะถูกแบ่งไปทำการวิจัย 3 กลุ่ม จำนวนเท่า ๆ กัน กลุ่มที่ 1 ทำแบบทดสอบที่มีกลุ่มสีจำนวน 8 สี กลุ่มที่ 2 ทำแบบทดสอบที่มีกลุ่มสีจำนวน 8 สีพร้อมคำนิยาม 8 คำนิยาม กลุ่มที่ 3 ทำแบบทดสอบที่มีกลุ่มสีจำนวน 8 สี พร้อมกลิ่น 8 กลิ่น และทำการประเมินผลจากแบบทดสอบเป็นคะแนน และกำหนดให้ผู้ทดสอบที่ได้คะแนน 0-3 คะแนน จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความจำระดับต่ำ คะแนน 4-6 คะแนน จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความจำระดับปานกลาง คะแนน 7-8 คะแนน จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความจำระดับสูง และเก็บข้อมูลปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ อายุ และเพศ นำข้อมูลวิเคราะห์ด้วยวิธี One-way ANOVA และ T-Test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 ผลการวิจัย พบว่า สีพร้อมคำนิยาม สีพร้อมดมกลิ่น ของสีตัวอย่าง ทั้ง 8 สีไม่ส่งผลต่อความจำสี เนื่องจากให้ค่าคะแนนการตอบที่ไม่แตกต่างกันกับการใช้สีเพียงอย่างเดียว เมื่อพิจารณารูปแบบ ทั้ง 3 การทดลองไม่มีผลต่อเวลาที่ใช้ในการทดสอบ กล่าวคือ ไม่มีวิธีการทดลองรูปแบบใดที่ใช้ เวลานานหรือเร็วกว่าปกติ นอกจากนั้นความจำสีของวัยรุ่น และผู้สูงวัยไม่มีความแตกต่างกัน รวมทั้งเวลาที่ใช้ในการทดแบบทดสอบของผู้ใหญ่จะมากกว่าวัยรุ่น ดังนั้น ผลของคำอธิบายเชิงข้อมูล และกลิ่นไม่ส่งผลต่อความจำสีระยะสั้น
Other Abstract: Memory is defined as the collection of information for a period of time. With stimulants, people can improve their memory. Color, definition and smell are considered as stimulants for human memory. Increasingly, color is engaged in human life. Color is used in packaging design as tools for adding product value, attracting customer and sending messages. It would be interesting to investigate how the memory increase if color is associated with other stimulants. Therefore, the objectives of this study were to investigate the effects of color, color with information and color with smell on color memory. Other factors including gender and age were also investigated their effects on color memory. Thirty-six subjects with normal vision were participated in the experiment. The subjects were divided into 4 groups: teenagers aged 18-23 years (9 females and 9 males), adults aged 55 years or above (9 females and 9 males). The participants were equally divided into 3 groups of experiment. Group 1 was asked to memory 8 colors, 5 sec per color and recognized them after listening to music 2 min. Group 2 was asked to memorize 8 colors associated with 8 definitions, the process was the same as group 1. Group 3 was asked to memorize 8 colors associated with 8 smells, 10 sec per color and recognized them after listening to music 2 min. The evaluative results were interpreted into scores. Those gaining score of 0-2 points, 3-5 points and 6-8 points were in a low memory groups, a moderate memory group and a high memory group. Other data were collected as well including age, gender and response time. The results showed that colors and definitions, colors and smells of all eight color samples did not influence color memory because the scores were not significantly different from answer in case of only color. The response times of 3 experimental groups were not significantly different. Color memory of teenagers and adults was not significantly different. Adults spent longer time in recognizing than teenagers. Therefore, the effects of data description and smell did not influence short-term memory for color.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64226
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pawinee_O_Se_2561.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.