Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64233
Title: การจำลองการรุกล้ำของน้ำทะเลในแอ่งน้ำบาดาลระยอง
Other Titles: Modelling of seawater intrusion in Rayong groundwater basin
Authors: อัฐพงค์ สงนุ้ย
Advisors: ศรีเลิศ โชติพันธรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Srilert.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แอ่งน้ำบาดาลระยองเป็นแอ่งน้ำบาดาลที่อยู่ติดทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทยและยังเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เป้าหมายของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต น้ำบาดาลจึงเป็นเรื่องที่รองรับความต้องการการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรุกล้ำของน้ำทะเลในแอ่งน้ำบาดาลระยอง โดยใช้โปรแกรม Visual MODFLOW และ SEAWAT Engine โดยดำเนินการภายใต้สภาวะแบบไม่คงตัว แบบจำลองแบ่งออกเป็น 3 ชั้นน้ำ ซึ่งประกอบด้วย ชั้นนำที่ 1 และชั้นน้ำที่ 2 ซึ่งเป็นชั้นน้ำของตะกอนน้ำพา และตะกอนเศษหินเชิงเขาและตะกอนผอยู่กับที่ ส่วนชั้นน้ำที่ 3 เป็นชั้นน้ำบาดาลหินแกรนิต และปรับเทียบกับระดับน้ำและความเข้มข้นของคลอไรด์จากบ่อสังเกตการณ์ โดยทำการปรับเทียบกับข้อมูลเดือนสิงหาคม 2554 เดือนมกราคม พ.ศ. 2555 และเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และการสูบน้ำใช้ปริมาณใน พ.ศ. 2552 เท่ากับ 18.39 ล้าน ลูกบาศก์เมตร และเพิ่มขึ้นประมาณ 21.44 ล้านลูกบาศก์เมตร ใน พ.ศ. 2561 กำหนดให้ตั้งแต่ เดือนมกราคม 2562 มีการเติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำบาดาลปีละ 90 มิลลิเมตรต่อปีและอัตราการสูบน้ำบาดาลเท่ากับ 21.44 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ผลการสร้างแบบจำลองพบว่า น้ำบาดาลไหลจากขอบแอ่งซึ่งเป็นภูเขาสูง ลงไปยังทางน้ำเล็ก ๆ เข้าสู่อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อ่างเก็บน้ำดอกกราย และอ่างเก็บน้ำคลองบางไผ่ แล้วไหลลงสู่ทะเลผ่านแม่น้ำระยอง และคลองบางไผ่ การปรับเทียบพารามิเตอร์มีค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านอยู่ในช่วง 3.148x10⁻⁸ ถึง 6.53x10⁴ เมตรต่อวินาทีและมีค่าสัมประสิทธิ์แพร่การกระจายอยู่ในช่วง 0.5 ถึง 8 เมตร ส่วนการรุกล้ำของน้ำทะเลในแอ่งน้ำบาดาลระยอง ในชั้นน้ำที่ 1 แนวการรุกล้ำของน้ำทะเลถอยลงมาประมาณ 1.3 กิโลเมตร จากตำบลตาขัน ไปยังตำบลเชิงเนิน ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 และเริ่มเข้าสู่ภาวะสมดุลที่ไม่มีการเคลื่อนที่ของแนวการรุกล้ำของน้ำทะเลที่แนวการรุกล้ำเข้าไปไกลสุด 5.8 กิโลเมตร ที่ตำบลเชิงเนินในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2572 ส่วนชั้นน้ำที่ 2 และชั้นน้ำที่ 3 พบการรุกล้ำของน้ำทะเลเข้าเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2554 โดยไม่มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะสมดุล แนวการรุกล้ำเข้าไปไกลมากสุดที่ตำบลเชิงเนิน เป็นระยะทางประมาณ 4.8 และ 5.1 กิโลเมตร ในชั้นน้ำที่ 2 และ 3 ตามลำดับ โดยพื้นที่มีความเสี่ยงอยู่บริเวณตำบลริมฝั่งน้ำระยอง บริเวณตำบลเชิงเนิน ตำบลทับมา ตำบลน้ำคอก ตำบลเนินพระ ตำบลปากน้ำ ตำบลท่าประดู่ ตำบลเพ และตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง อย่างไรก็ตามพบบางบริเวณที่ไม่สามารถปรับเทียบให้สอดคล้องกับแบบจำลองได้เนื่องจากได้รับอิทธิพลของหลุมฝังกลบขยะข้างเคียงที่ก่อให้เกิดปริมาณคลอไรด์ที่สูงกว่าปกติได้
Other Abstract: Rayong Groundwater basin is the coastal aquifer in the eastern part of Thailand and is also a part of the Eastern economic Corridor (EEC), which appears to increase water consumption in the future. Groundwater is available for for increasing of water demand. Therefore, modelling of seawater intrusion in Rayong groundwater Basin is the model to assess the seawater intrusion by using Visual MODFLOW version and SEAWAT engine as a tool to operate under a transient state. The model was devided into 3 layers, consisting of first and second aquifers of Quaternary alluvial (Q) and Quaternary colluvial (Qt). And third aquifer of granite aquifer (Gr). Calibration and verification processes were carried out with observation wells measured in august 2011, January 2012 and November 2016. The pumping rate in 2009 was approximately 18.39 m³ and increase to approximately 21.44 m³ in 2018. In the future scenario, the simulation was conducted since January 2019 with recharge rate of 90 mL/yr and the pumping rate of 21.44 MCM/year. The results of the model showed that the groundwater flows from the high mountainous areas, down into Khlong Yai, Nong Pla Lai, Dok Krai and Khlong Bang Phai Reservoirs and the flowed into the low land areas, and finally flow through sea by Bang Phai canal and Rayong River. The calibration found that hydraulic conductivity ranged from 3.15x10⁻⁸ to 6.53x10⁻⁴ m/s and dispersivity values were in the range between 3 and 8 m. The first aquifer, seawater intrusion decreased, about 1.3 km from Takhan Subdistrict to Choeng Noen Subdistrict, from August, 2011 to January, 2019. Afterward, it began to the equilibrium with no further movement of seawater from with a distance of 5.8 km at Choeng Noen Subdistrict since January 2029. In the second and third aquifers increased from August 2011. The longest front of seawater movement appears in Choeng Noen Subdistrict both in first and second aquifers with distances of 4.8 and 5.1 km, respectively. This influenced area comsisted of Choeng Noen subdistrict, Thap Ma Subdistrict, Nam Khok Subdistrict, Noen Phra Subdistrict, Pak nam Subdistrict, Tha Pra Du Subdistrict, Phe Subdistrict and Taphong Subdistrict, Mueang Rayong District and Rayong province. However, some areas that cannot be calibrated because of groundwater also affected by the leachate from landfills, causing higher chloride contens.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64233
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atthaphong_S_Se_2561.pdf7.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.