Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64238
Title: ลักษณะเฉพาะทางธรณีวิทยากับทุเรียนหลง-หลินลับแล บริเวณอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
Other Titles: Geological characteristics and Long-Lin Lablae durian in Lablae district, Uttaradit province
Authors: ฉัตรพร ฉัตรทอง
Advisors: ฐาสิณีย์ เจริญฐิติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Thasinee.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การประยุกต์ใช้ความรู้ทางธรณีวิทยากับการเกษตรในประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารรถขยายหรือเลือกพื้นที่เพาะปลูกได้ ประเทศไทยมีการส่งออกผลไม้มากมายและหนึ่งในผลไม้ที่เป็นที่นิยมและมีการส่งออกปริมาณมากคือทุเรียน ดังนั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ธรณีวิทยากับการปลูกทุเรียน จะส่งผลให้สามารถขยายพื้นที่ปลูกทุเรีย เพิ่มปริมาณการผลิต ส่งออกและนำรายได้เข้าสู่ประเทศได้ แต่อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้ความรู้นี้ยังไม่แพร่หลายมากนัก จึงต้องทำการศึกษาทั้งปัจจัยทั้งทางกายภาพชีวภาพและทางเคมีร่วมกันด้วย ทุเรียนพันธุ์หลง-หลินลับแล เป็นทุเรียนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุตรดิตถ์ มีการเพาะปลูกทั้งในอำเภอลับแล อำเภอเมือง และอำเภอท่าปลา อีกทั้งยังได้รับการขึ้นทะเบียนจากรมทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดอุตรดิตถ์อีกด้วย เพราะรสชาติที่แตกต่างและปริมาณของทุเรียนที่มีน้อยกว่าความต้องการ ทำให้ทุเรียนหลง-หลินลับแลเป็นทุเรียนที่มีราคาสูง จากการศึกษาลักษณะเฉพาะทางธรณีวิทยากับทุเรียนหลง-หลินลับแล บริเวณอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่าในพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนพันธุ์นี้ประกอบด้วยหินดินดาน หินทรายลิทอะรีไนต์ และหินฟิลไลต์ ปริมาณธาตุหลักและธาตุรองที่สำคัญต่อความต้องการของทุเรียนมีปริมาณที่พอเพียง และจากการวิเคราะห์ลักษณะทางธรณีสัณฐาน พบว่าพื้นที่ปลูกทุเรียนหลง-หลินลับแลมีความชันที่มากกว่า 25 องศาและความสูงที่มากกว่า 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล
Other Abstract: Geological application for agriculture is an important task and able to help the farmers expand their planting area. Durian is one of the most important export fruits of Thailand. The objective of this study is to clarify the geological characteristics of Long-Lin Lablae durian in order to expand durian planting fields. This will help the farmers to increase the durian products and exportation. It will bring a lot of income to our country. However, applying geology to agriculture is not well known and need more studies on physical biological and chemical factors. Long-Lin Lablae durian is the famous durian of Uttaradit. It is planted in Lablae, Muang and Tha-pla districts. It is also registered to be a geographical indicator (GI) of Uttaradit province. Highly demand and good taste make the Long-Lin Lablae durian very expensive fruit. Geological characteristics of Long-Lin Lablae durian planting area consists of 3 kinds of rocks: shale, litharenile and phyllite. The rocks contain major and trace elements which are sufficient for durian’s requirements. Geomorphological study shows that slope of durian planting area is more than 25 degree while the elevation is more than 200 meters above mean sea level.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64238
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chattraporn_C_Se_2561.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.