Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64249
Title: การวิเคราะห์สารเมตาบอไลต์ชนิดระเหยยากในผลิตภัณฑ์น้ำนมเหลืองของโคด้วยเทคนิคโปรตอนนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรสโกปี
Other Titles: Analysis of non-volatile metabolites in bovine colostrum using ¹H-NMR spectroscopy
Authors: น้ำทิพย์ วรรณขจีพิบูลย์
พัฐชิญาณ์ อรัญพัณภรณ์
Advisors: ศานต์ เศรษฐชัยมงคล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Sarn.S@chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: น้ำนมเหลือง (colostrum) เป็นน้ำนมที่แม่โคหลั่งออกมาหลังการคลอดลูกในช่วง 24-72 ชั่วโมงแรก มีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองข้นจัด เป็นแหล่งอาหารแรกที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการและสารแอนติบอดีที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ลูกโคแรกเกิด จากประโยชน์ดังกล่าวจึงมีการนำน้ำนมเหลืองมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารเชิงหน้าที่ (functional food) เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ดังนั้น การศึกษาสารชีวโมเลกุลที่เป็นองค์ประกอบในน้ำนมเหลืองรวมทั้งความผันแปรขององค์ประกอบดังกล่าว จึงเป็นปัจจัยสำคัญเบื้องต้นเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถนำน้ำนมเหลืองมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเมตาโบโลมิกส์ (metabolomics) มาใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสารชีวโมเลกุลขนาดเล็ก (<1.5 kDa) ที่เป็นองค์ประกอบในระบบอาหารอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อศึกษาข้อมูลแบบแผนทางชีวโมเลกุลของน้ำนมและผลิตภัณฑ์นมในประเทศไทยยังมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (i) วิเคราะห์สมบัติทางเคมีกายภาพและข้อมูลสารเมตาบอไลต์ชนิดระเหยยากในน้ำนมเหลืองของโคที่ผลิตได้ในประเทศไทย โดยใช้เทคนิคโปรตอนนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรสโกปี (¹H-NMR)(ii) เปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลดังกล่าวในน้ำนมเหลืองที่ได้จากฟาร์มในเขตพื้นที่ต่างกัน (นครราชสีมา และชัยภูมิ) และจากแม่โคที่มีระยะเวลาในการให้น้ำนมเหลืองต่างกัน (วันที่ 1 และ 3 ภายหลังการคลอดลูก) ด้วยวีการวิเคราะห์ทางสถิติหลายตัวแปร (multivariate statistics) และ (iii) วิเคราะห์ชนิดของสารเมตาบอไลต์ที่สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (potential biomarker) ต่อคุณลักษณะและความผันแปรของน้ำนมเหลืองจากแม่โคกลุ่มที่สนใจ ผลจากการวิเคราะห์น้ำนมเหลืองของโคจำนวน 32 ตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่าระยะเวลาหลังการคลอดลูก (Post-parturition) มีผลต่อสมบัติทางเคมีกายภาพและข้อมูลสารชีวโมเลกุลในน้ำนมเหลืองชัดเจนกว่าอิทธิพลจากฟาร์ม โดยพบว่าปริมาณกรดทั้งหมดที่ได้จากการไทเทรต (% lactic acid) ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายได้ (°Brix) ปริมาณโปรตีน (%w/w) และค่าความหนืด (cP) ของตัวอย่างลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในวันที่ 3 ภายหลังการคลอดลูก จากการวิเคราะห์ด้วย ¹-NMR สามารถระบุชนิดของสารเมตาบอไลต์กลุ่มกรดอะมิโนและอนุพันธ์ของกรดอะมิโน น้ำตาลและอนุพันธ์ของน้ำตาล สารประกอบคาร์บอนิล กรดอินทรีย์และอนุพันธ์ของกรดดังกล่าว อนุพันธ์ของไขมัน และสารประกอบอินทรีย์อื่น ๆ ในตัวอย่างได้ทั้งหมด 53 สาร ผลจกการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (principal component analysis) และการวิเคราะห์แบบจัดกลุ่ม (cluster analysis) แสดงให้เห็นว่าข้อมูลสารเมตาบอไลต์ชนิดระเหยยากในน้ำนมเหลืองวันที่ 1 และ 3 ภายหลังการคลอดลูกมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนทางสถิติ โดยพบว่าปริมาณสัมพัทธ์ของสารเมตาบอไลต์ส่วนมากมีค่าลดลงในตัวอย่างที่เก็บในวันที่ 3 ภายหลังการคลอดลูก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของ isoleucine, tyrosine, butyrate, threonine และ ethanol สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มได้ ผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้เทคนิคทางเคมีวิเคราะห์ขั้นสูงด้วย H-NMR ร่วมกับการประมวลผลทางเคโมเมตริกซ์ (chemometrics) ในการศึกษาข้อมูลแบบแผนทางชีวโมเลกุลในน้ำนมเหลืองของดคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: Colostrum is the viscous fluid mammary secretion obtained during the initial three days after parturition and precedes the production of common raw milk. Nowadays, bovine colostrum has become popular as a functional food ingredient due to its abundance in minerals, antibodies and bioactive peptides. It is well documented that the major chemical composition of colostrum differs markedly from the mature milk. However, low molecular weight substances present in colostrum could also provide significant influence on its biochemical characteristics. Metabolomics is an emerging field of -omics approaches that focuses on comprehensive characterization of the overall small molecular weight metabolites (<1.5 kDa) present in a biological system. Recently, this analytical platform has been well acknowledged in food and dairy research. Still, the application of metabolomics for molecular investigation of Thai dairy products is rather limited. Therefore, the aims of this study were to characterize and compare non-volatile metabolite profiles of colostrum collected at different parturition periods (day 1 and day 3) from two selected dairy farms located in northeastern Thailand. After fat and proteins removal, the serum was analyzed using a high-resolution proton nuclear magnetic resonance spectroscopy (¹H-NMR at 500 MHz). ¹H-NMR derived data were analyzed and compared by means of multivariate statistics. A total of 53 metabolites were presumptively identified in this study. The main effect from post-parturition period provided a significant impact on physiochemical properties and the metabolome of colostrum while variations between farms were less pronounced. Results demonstrated that titratable acidity, total soluble solid content, protein content and viscosity of samples significantly decreased (p<0.05) along with extended days after parturition. PCA and cluster analysis revealed a clear distinction between the metabolome of colostrum collected on the first and the third day after parturition. Decreases in the concentration of isoleucine, tyrosine, butyrate, threonine and ethanol were identified as potential biomarkers accountable for discrimination. This study demonstrates a very promising application of ¹H-NMR combined with chemometrics to provide new insights on the molecular investigation of bovine colostrum produced in Thailand.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64249
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Namthip_W_Se_2561.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.