Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64317
Title: | การเตรียมวัสดุเชิงประกอบแกรฟีน/สารประกอบพอลิอิเล็กโทรไลต์ของพอลิไดแอลิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์-พอลิสไตรีนซัลโฟเนต เพื่อใช้เป็นขั้วไฟฟ้าเก็บประจุไฟฟ้ายิ่งยวด |
Other Titles: | Preparation of graphene / poly(diallyldimethylammonium chloride) - poly(styrene sulfonate) polyelectrolyte composites and its application for capacitive electrode |
Authors: | ประภัสสร อารีบำรุงสุข ภรธีรา สุขสุวรรณ |
Advisors: | ประสิทธิ์ พัฒนะนุวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Prasit.Pat@chula.ac.th |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปัจจุบันรูปแบบของการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การพัฒนา แหล่งพลังงานของอุปกรณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาทควบคู่กันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนา ตัวเก็บประจุ ยิ่งยวด (supercapacitor) เนื่องจากมีความสามารถในการกักเก็บพลังงานสูง มีระยะเวลาในการอัดประจุ พลังงานอย่างรวดเร็ว และมีความเสถียรต่อรอบอายุการใช้งานที่สูง เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานให้กับ อุปกรณ์ไฟฟ้าได้ทั้งขนาดพกพา และขนาดใหญ่ในงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยสนใจ จะทำตัวเก็บประจุยิ่งยวดแบบ กลไกอีดีแอลซี โดยใช้แกรฟีนเป็นวัสดุหลักในการทำเป็นขั้วอิเล็กโทรด และมีสารประกอบพอลิอิเล็กโทรไลต์ ของพอลิไดแอลิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์-พอลิสไตรีนซัลโฟเนต เป็นสารประกอบเชิงซ้อนพอลิอิเล็กโทร ไลต์ โดยได้กำหนดตัวแปรในการทดลองคือ ความเข้มข้นของแกรฟีน, พอลิไดแอลิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอ ไรด์และพอลิสไตรีนซัลโฟเนตที่ 2.0 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และความเข้มข้นของสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ ในสัดส่วน 2, 4, 6, 8 และ 10 %โดยน้ำหนัก เพื่อหาความเข้มข้นที่เหมาะสมในการเก็บประจุไฟฟ้า โดยดู ลักษณะอิทธิพลของขนาดสารประกอบเชิงซ้อนที่ได้ในระบบที่มีผลต่อค่าการเก็บประจุไฟฟ้า แล้วนำมา วิเคราะห์ดูลักษณะโครงสร้างทางสัณฐานวิทยา ทดสอบขนาดและการกระจายตัวของอนุภาค ทดสอบสมบัติ ทางเคมีเพื่อดูหมู่ฟังก์ชัน และทดสอบสมบัติทางเคมีไฟฟ้า ในการทำงานวิจัยครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าความ เข้มข้นของเกลือโซเดียมคลอไรด์มีบทบาทสำคัญในการควบคุมขนาดของอนุภาคและสามารถเตรียมวัสดุเชิง ประกอบแกรฟีน/สารประกอบพอลิอิเล็กโทรไลต์ในสูตรที่ดีที่สุดคืออัตราส่วนความเข้มข้นเกลือ 8% โดย น้ำหนัก เมื่อทำการทดสอบด้วยเทคนิคไซคลิกโวลแทมเมตรี ที่อัตราศักย์ไฟฟ้า 10 มิลลิโวลต์/วินาที ได้ค่า ความจุจำเพาะสูงสุดคือ 68.19 มิลลิฟารัด/ตารางเซนติเมตร และเมื่อทำการทดสอบด้วยเทคนิคกัลวาโน แสตติกชาร์จ-ดิสชาร์จที่การให้กระแสไฟฟ้าคงที่ที่ 1 มิลลิแอมป์ ได้ค่าความจุจำเพาะสูงสุดคือ 55.39 มิลลิฟา รัด/ตารางเซนติเมตร อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ได้กับทุกพื้นผิวรูปร่างโดยไม่ต้องใช้สารช่วยยึดติด |
Other Abstract: | Supercapacitors are now interesting technology for energy storage because of high specific capacitance, fast charge-discharge time, high specific power and long-life cycles. Generally, the mechanism of supercapacitors can be divided into two types. First, Electrical Double Layer Capacitor (EDLC) refers to the two charged layers formed at the electrode/electrolyte interfaces and another mechanism is pseudocapacitor which storage the energy via redox reaction. In this work, graphene is known as the forefront materials for energystorage research and widely used for EDLC owing to its excellent electrical conductivity and high surface area. However, the agglomeration of graphene during fabrication causing the decrease in surface area is critical issue to obtain the high electrochemical performance. One of solving method that still has not been sufficiently addressed is to introduce graphene in polyelectrolyte complexes (PECs). The nanoparticles in the core shell surrounding with PECs can offer the charge surface with controlling sizing the nanoparticles by salt concentration. In this work, the introduce of graphene into poly (diallyldimethylammonium chloride) - poly (styrene sulfonate) polyelectrolyte complex systems are studied at various sodium chloride concentration of 2, 4, 6, 8 and 10 %wt. The influence of size of complexes affected by charge capacitance is studied by Cyclic Voltammetry (CV) and Galvanostatic Charge-Discharge (GCD). The maximum specific capacity of graphene/ Poly(DADMAC)-PSS is 55.39 mF/cm2 is achieved at NaCl concentration of 8 %wt. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64317 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prapassorn A_Se_2561.pdf | 5.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.